เมนู

ประกอบด้วยองค์ 10 ภิกษุพึงให้นาสนะเสีย, ท่านทั้งหลาย จงให้นาสนะ-
กัณกฏสามเณรเสีย.
สองบทว่า ติณฺณนฺนํ เอกวาจิกา มีความว่า อนุสาวนาอันเดียว
ควรแก่ชน 3 มีอุปัชฌาย์เดียวกัน ต่างอาจารย์กัน โดยพระบาลีว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อทำบุคคล 2 -3 คน ในอนุสาวนาเดียวกัน.

[อาบัติเพราะอทินนาทานเป็นต้น]


สองบทว่า อทินฺนาทาเน ติสฺโส มีความว่า ในเพราะ (อทินนาทาน)
บาทหนึ่ง หรือเกินกว่าบาท เป็นปาราชิก, เกินกว่า 1 มาสก ต่ำกว่า 5 มาสก
เป็นถุลลัจจัย, 1 มาสก หรือหย่อนมาสก, เป็นทุกกฏ.
สองบทว่า จตสฺโส เมถุนปจฺจยา มีความว่า ภิกษุเสพเมถุนใน
ทวารที่สัตว์ยังไม่กัด ต้องปาราชิก. ในทวารที่สัตว์กัดแล้วโดยมาก ต้อง
ถุลลัจจัย, สอดองคชาตเข้าไปในปากที่อ้ามิให้กระทบ ต้องทุกกฏ, ภิกษุณีต้อง
ปาจิตตีย์ เพราะขุนเพ็ดทำด้วยยาง.
สองบทว่า ฉินฺทนฺตสฺส ติสฺโส มีความว่า เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้
(ลัก) ตัดต้นไม้ใหญ่, เป็นปาจิตตีย์ แก่ผู้ตัดภูตคาม, เป็นถุลลัจจัย แก่ผู้ตัด
องคชาต.
สองบทว่า ปญฺจ ฉฑฺฑิตปจฺจยา มีความว่า ภิกษุทั้งยาพิษ ไม่
เจาะจง ถ้ามนุษย์ตายเพราะยาพิษนั้น ต้องปาราชิก, เมื่อยักษ์และเปรตตาย
ต้องถุลลัจจัย, เมื่อสัตว์ดิรัจฉานตาย ต้องปาจิตตีย์ เพราะทิ้ง คือ ปล่อยสุกกะ
เป็นสังฆาทิเสส, เพราะถ่ายอุจจาระและปัสสาวะในของเขียว ต้องทุกกฏ ใน
เสขิยวัตร, อาบัติ 5 กองนี้ย่อมมี เพราะวัตถุที่ทิ้งเป็นปัจจัย.