เมนู

มนุษย์ตาย ต้องปาราชิก; ต้องถุลลัจจัย เพราะยักษ์และเปรตตาย, ต้อง
ปาจิตตีย์ เพราะสัตว์ดิรัจฉานตาย.
หลายบทว่า วาจา ปาราชิกา ตโย มีความว่า (อาบัติปาราชิก
เนื่องด้วยวาจา 3 คือ) ปาราชิกในวัชชปฏิจฉาทิกาสิกขาบท 1 ในอุกขิตตานุ-
วัตติกาสิกขาบท 1 ในอัฏฐวัตถุกาสิกขาบท 1.
แต่ในกุรุนที ท่านกล่าวไว้ 3 อย่างนี้ คือ ปาราชิกเพราะอทินนาทาน
และฆ่ามนุษย์ โดยสั่งบังคับ และเพราะอวดอุตริมนุสธรรม.
สองบทว่า โอภาสนา ตโย ได้แก่ สังฆาทิเสสเพราะพูดสรรเสริญ
และติพาดพิงทวารหนักทวารเบา, ถุลลัจจัย เพราะพูดสรรเสริญและติพาดพิง
อวัยวะใต้รากขวัญลงมา เหนือช่วงเข่าขึ้นไป เว้นทวารหนักทวารเบาเสีย,
ทุกกฏ เพราะพูดสรรเสริญและติพาดพิงอวัยวะเหนือรากขวัญขึ้นไป ใต้ช่วงเข่า
ลงมา.
สองบทว่า สญฺจริตฺเตน วา ตโย มีความว่า อาบัติ 3 กองมี
เพราะการชักสื่อเป็นเหตุ เหล่านี้ คือ ภิกษุรับคำ พูดชักสื่อ กลบมาบอก ต้อง
สังฆาทิเสส, รับคำ พูดชักสื่อ ไม่กลับมาบอก ต้องถุลลัจจัย รับคำ ไม่พูด
ชักสื่อ ไม่กลับมาบอก ต้องทุกกฏ.

[บุคคลที่ไม่ควรให้อุปสมบทเป็นต้น]


หลายบทว่า ตโย ปุคฺคลา น อุปสมฺปาเทตพฺพา มีความว่า
(บุคคลอันสงฆ์ไม่พึงให้อุปสมบท 3 จำพวก คือ) บุคคลผู้มีกาล คือ อายุ
ไม่ครบ 1 ผู้มีอวัยวะบกพร่อง 1 ผู้วิบัติโดยวัตถุ 1. เหตุที่ทำบุคคล 3 จำพวก
นั้นให้ต่างกัน ได้กล่าวแล้ว.

อีกประการหนึ่ง ในบุคคล 3 จำพวกนี้ บุคคลใด ไม่บริบูรณ์ด้วย
บาตรและจีวร และบุคคลใด บริบูรณ์แต่ไม่ขอ, บุคคลเหล่านี้แล ท่าน
สงเคราะห์ ด้วยบุคคลผู้มีอวัยวะบกพร่องโดยเฉพาะ. ฝ่ายบุคคลผู้มีความกระทำ
เลวทราม มีผู้ฆ่ามารดาเป็นต้น พึงทราบว่าสงเคราะห์ ด้วยบุคคลผู้วิบัติโดย
วัตถุโดยเฉพาะ กล่าวคือ บัณเฑาะก์อุภโตพยัญชนก และสัตว์ดิรัจฉาน.
จริงอยู่ นัยนี้ ท่านกล่าวไว้ในกุรุนที.
หลายบทว่า ตโย กมฺมานํ สงฺคหา ได้แก่ (กรรมสังคหะ 3 อย่าง
คือ) วาจากำหนดญัตติ คำประธานที่ทำค้าง คำระบุกรรมที่เสร็จไปแล้ว.
ในกรรมสังคหะ 3 นั้น กรรมทั้งหลายอันท่านสงเคราะห์ด้วยลักษณะ
3 เหล่านี้ คือ วาจาที่สวดต่างโดยคำว่า ทเทยฺย กเรยฺย เป็นอาทิ ชื่อว่า
วาจากำหนดญัตติ คำสวดประกาศต่างโดยคำว่า เทติ กโรติ เป็นอาทิ ชื่อว่า
คำประธานที่ทำค้าง, คำสวดประกาศต่างโดยคำว่า ทินฺนํ กตํ เป็นอาทิ ชื่อว่า
คำระบุกรรมที่เสร็จไปแล้ว.
กรรมทั้งหลายอันท่านสงเคราะห์ด้วยลักษณะ 3 แม้อื่นอีก คือ ด้วย
วัตถุ ญัตติ อนุสาวนา. จริงอยู่ กรรมที่พร้อมด้วยวัตถุ พร้อมด้วยญัตติ
และพร้อมด้วยอนุสาวนา จึงจัดเป็นกรรมแท้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
กรรมสังคหะมี 3.
ขึ้นชื่อว่า บุคคลที่สงฆ์นาสนะเสีย ท่านกล่าวไว้ 3 จำพวก ได้แก่
บุคคล 3 จำพวกที่สงฆ์ให้นาสนะเสีย ด้วยอำนาจลิงคนาสนา สังวาสนาสนา
และทัณฑกรรมนาสนา พึงทราบ (โดยบาลี) อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย จง
นาสนะเมตติยาภิกษุณีเสีย, บุคคลผู้ประทุษร้าย สงฆ์พึงให้นาสนะเสีย, สามเณร

ประกอบด้วยองค์ 10 ภิกษุพึงให้นาสนะเสีย, ท่านทั้งหลาย จงให้นาสนะ-
กัณกฏสามเณรเสีย.
สองบทว่า ติณฺณนฺนํ เอกวาจิกา มีความว่า อนุสาวนาอันเดียว
ควรแก่ชน 3 มีอุปัชฌาย์เดียวกัน ต่างอาจารย์กัน โดยพระบาลีว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อทำบุคคล 2 -3 คน ในอนุสาวนาเดียวกัน.

[อาบัติเพราะอทินนาทานเป็นต้น]


สองบทว่า อทินฺนาทาเน ติสฺโส มีความว่า ในเพราะ (อทินนาทาน)
บาทหนึ่ง หรือเกินกว่าบาท เป็นปาราชิก, เกินกว่า 1 มาสก ต่ำกว่า 5 มาสก
เป็นถุลลัจจัย, 1 มาสก หรือหย่อนมาสก, เป็นทุกกฏ.
สองบทว่า จตสฺโส เมถุนปจฺจยา มีความว่า ภิกษุเสพเมถุนใน
ทวารที่สัตว์ยังไม่กัด ต้องปาราชิก. ในทวารที่สัตว์กัดแล้วโดยมาก ต้อง
ถุลลัจจัย, สอดองคชาตเข้าไปในปากที่อ้ามิให้กระทบ ต้องทุกกฏ, ภิกษุณีต้อง
ปาจิตตีย์ เพราะขุนเพ็ดทำด้วยยาง.
สองบทว่า ฉินฺทนฺตสฺส ติสฺโส มีความว่า เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้
(ลัก) ตัดต้นไม้ใหญ่, เป็นปาจิตตีย์ แก่ผู้ตัดภูตคาม, เป็นถุลลัจจัย แก่ผู้ตัด
องคชาต.
สองบทว่า ปญฺจ ฉฑฺฑิตปจฺจยา มีความว่า ภิกษุทั้งยาพิษ ไม่
เจาะจง ถ้ามนุษย์ตายเพราะยาพิษนั้น ต้องปาราชิก, เมื่อยักษ์และเปรตตาย
ต้องถุลลัจจัย, เมื่อสัตว์ดิรัจฉานตาย ต้องปาจิตตีย์ เพราะทิ้ง คือ ปล่อยสุกกะ
เป็นสังฆาทิเสส, เพราะถ่ายอุจจาระและปัสสาวะในของเขียว ต้องทุกกฏ ใน
เสขิยวัตร, อาบัติ 5 กองนี้ย่อมมี เพราะวัตถุที่ทิ้งเป็นปัจจัย.