เมนู

หลายบทว่า ครุกา เทฺว วุตฺตา มีความว่า (อาบัติหนักท่านกล่าวได้
2 คือ) ปาราชิกและสังฆาทิเสส.
สองบทว่า เทฺว ทุฏฺฐุลฺลจฺฉาทนา มีความว่า ขึ้นชื่อว่าอาบัติ
เพราะปิดโทษชั่วหยาบ มี 2 เหล่านี้ คือ เป็นปาราชิกแก่ภิกษุณีผู้ปิดโทษ
(คือปาราชิกของภิกษุณีอื่น) เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ปิดสังฆาทิเสส (ของภิกษุ
อื่น).

[อาบัติในละแวกบ้านเป็นต้น]


สองบทว่า คามนฺตเร จตสฺโส มีความว่า อาบัติ 4 อย่าง ด้วย
อำนาจทุกกฏ ปาจิตตีย์ ถุลลัจจัย และสังฆาทิเสส เพราะละแวกบ้านเหล่านี้
คือ ภิกษุกับภิกษุณีชวนกัน ต้องทุกกฏ. เข้าอุปจารบ้านอื่น ต้องปาจิตตีย์,
เมื่อภิกษุณี ไปสู่ละแวกบ้าน ในบ้านที่ล้อมเป็นถุลลัจจัย ในย่างเท้าที่ 1, เป็น
สังฆาทิเสส ในย่างเท้าที่ 2, เป็นถุลลัจจัย ในย่างเท้าที่ 1 ที่ก้าวเข้าอุปจาร
แห่งบ้านไม่ได้ล้อม, เป็นสังฆาทิเสส ในย่างเท้าที่ 2.
สองบทว่า จตสฺโส นทีปารปจฺจยา มีความว่า อาบัติ 4 อย่าง
เหล่านี้ คือ ภิกษุกับภิกษุณีชวนกัน ต้องทุกกฏ, ลงเรือ ต้องปาจิตตีย์,
เมื่อภิกษุณี (รูปเดียว) ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ในเวลาข้าม เป็นถุลลัจจัย ในย่างเท้า
ที่ 1, เป็นสังฆาทิเสส ในย่างเท่าที่ 2.
สองบทว่า เอกมํเส ถุลฺลจฺจยํ มีความว่า (ภิกษุย่อมต้องถุลลัจจัย)
เพราะเนื้อแห่งมนุษย์
สองบทว่า นวมํเสสุ ทุกฺกฏํ มีความว่า (ภิกษุย่อมต้องทุกกฏ)
ในเพราะอกัปปิยมังสะที่เหลือ

[อาบัติทางวาจาในราตรีเป็นต้น]


หลายบทว่า เทฺว วาจสิกา รตฺตึ มีความว่า ภิกษุณียืนพูดใน
หัตถบาสกับบุรุษ ในเวลามืด ๆ ค่ำ ๆ ไม่มีแสงไฟ ต้องปาจิตตีย์, เว้นหัตถบาส
ยืนพูด ต้องทุกกฏ.
หลายบทว่า เทฺว วาจสิกา ทิวา มีความว่า ภิกษุณียืนพูดใน
หัตถบาสกับบุรุษ ในโอกาสที่ปิดบัง ในกลางวัน ต้องปาจิตตีย์, เว้นหัตถบาส
ยืนพูด ต้องทุกกฏ.
สองบทว่า ททมานสฺส ติสฺโส มีความว่า เป็นอาบัติ 3 อย่าง
แก่ภิกษุผู้ให้อย่างนี้ คือ มีประสงค์จะให้ตาย ให้ยาพิษแก่มนุษย์ ถ้าว่า เขาตาย
ด้วยยาพิษนั้น ภิกษุต้องปาราชิก, ให้แก่ยักษ์และเปรต ถ้าว่า ยักษ์และเปรต
นั้นตาย ภิกษุต้องถุลลัจจัย, ให้แก่สัตว์ดิรัจฉาน ถ้าว่า มันตาย ภิกษุต้อง
ปาจิตตีย์, แม้เพราะให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ก็ต้องปาจิตตีย์.
สองบทว่า จตฺตาโร จ ปฏิคฺคเห มีความว่า เป็นสังฆาทิเสส
เพราะจับมือและจับช้องผม, ต้องปาราชิก เพราะอมองคชาตด้วยปาก ต้อง
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ เพราะรับจีวรของภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ, ต้องถุลลัจจัยแก่ภิกษุณี
ผู้กำหนัด รับของเคี้ยว ของบริโภค จากมือบุรุษผู้กำหนัด, กองอาบัติ 4
ย่อมมีในเพราะรับ ด้วยประการอย่างนี้.

[อาบัติเป็นเทสนาคามินีเป็นต้น]


สองบทว่า ปญฺจ เทสนาคามินิโย ได้แก่ ลหุกาบัติ 5 กอง.
สองบทว่า ฉ สปฺปฏิกมฺมา มีความว่า เว้นปาราชิกเสียแล้ว อาบัติ
ที่เหลือ (มีทางจะทำคืนได้.