เมนู

[ว่าด้วยบุคคลที่ไม่ควรไหว้]


วินิจฉัยในกฐินัตถารวัคค์ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า โอตมสิโก ได้แก่ ผู้อยู่ในที่มืด, จริงอยู่ เมื่อภิกษุไหว้
บุคคลผู้อยู่ในที่มืดนั้น หน้าผากจะพึงกระทบที่เท้าเตียงเป็นต้นเข้าก็ได้.
บทว่า อสมนฺนาหรนโต ได้แก่ ผู้ไม่เอาใจใส่การไหว้ เพราะเป็น
ผู้ขวนขวายในกิจการ.
บทว่า สุตฺโต ได้แก่ ผู้หยั่งลงสู่ความหลับ.
บทว่า เอกาวตฺโต มีความว่า บุคคลผู้เวียนมาข้างเดียว คือ ตั้งอยู่
ในฝ่ายข้าศึก ได้แก่ บุคคลไม่ถูกส่วนกัน เป็นไพรีกัน บุคคลนี้ ท่านกล่าว
ว่าไม่ควรไหว้. เพราะว่า บุคคลนี้ อันภิกษุไหว้อยู่ จะพึงประหารเอาด้วยเท้า
ก็ได้.
บทว่า อญฺญาวิหิโต ได้แก่ ผู้กำลังคิดเรื่องอื่น.
บทว่า ขาทนฺโต ได้แก่ ผู้กำลังฉันขนมและของเคี้ยวเป็นต้น อยู่.
บุคคลผู้กำลังถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ชื่อว่าอันภิกษุไม่ควรไหว้
เพราะเป็นผู้อยู่ในโอกาสไม่สมควร.
บทว่า อุกฺขิตฺตโก มีความว่า บุคคลผู้อันสงฆ์ยกวัตร ด้วยอุกเขป-
นียกรรม แม้ทั้ง 3 อย่าง ไม่ควรไหว้.
แต่บุคคล 4 จำพวก อันสงฆ์ลงโทษด้วยตัชชนียกรรมเป็นต้น ควร
ไหว้. แม้อุโบสถปวารณา ย่อมได้กับบุคคลเหล่านั้น.
ก็ในบรรดาบุคคลที่ไม่ควรไหว้ ที่กล่าวแล้วตั้งแต่ต้น เป็นอาบัติแก่
ภิกษุผู้ไหว้อยู่ ซึ่งบุคคลผู้เปลือยกาย และบุคคลผู้อันสงฆ์ยกวัตรเท่านั้น,

ส่วนการไหว้บุคคลนอกจากนั้น อันท่านห้าม ก็เพราะผลคือไม่สมควร และ
เพราะเหตุที่กล่าวแล้วในระหว่าง.
ต่อนี้ไป บุคคลแม้ทั้ง 10 จำพวก มีผู้อุปสมบทภายหลังเป็นต้น
จัดเป็นไม่ควรไหว้ เพราะเป็นวัตถุแห่งอาบัติโดยตรง. จริงอยู่ ย่อมเป็น
อาบัติแก่ภิกษุผู้ไหว้อยู่ซึ่งบุคคลเหล่านั้น โดยวินัยกำหนดทีเดียว.
ในปัญจกะ 5 เหล่านี้ เป็นอนาบัติแก่ภิกษุผู้ไหว้ ซึ่งชน 13 จำพวก
เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไหว้ชน 12 จำพวก ด้วยประการฉะนี้.
สองบทว่า อาจริโย วนฺทิโย มีความว่า อาจารย์ทั้ง 5 จำพวกนี้
คือ ปัพพชาจารย์ อุปสัมปทาจารย์ นิสสยาจารย์ อุทเทสาจารย์ โอวาทาจารย์
อันภิกษุควรไหว้.
คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
กฐินัตถาวรวัคควัณณนา จบ
และอุปาลิปัญจกวัณณนา จบ

สมุฏฐาน
ภิกษุไม่มีความจงใจต้องอาบัติเป็นต้น


[1,230] มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่มีความจงใจต้อง มีความจงใจออก
มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีความจงใจต้อง ไม่มีความจงใจออก
มีอยู่ อาบัติ ภิกษุไม่มีความจงใจต้อง ไม่มีความจงใจออก
มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีความจงใจต้อง มีความจงใจออก
มีอยู่ อาบัติ ภิกขุมีจิตเป็นกุศลต้อง มีจิตเป็นกุศลออก
มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีจิตเป็นกุศลต้อง มีจิตเป็นอกุศลออก
มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีจิตเป็นกุศลต้อง มีจิตเป็นอัพยาฤตออก
มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีจิตเป็นอกุศลต้อง มีจิตเป็นกุศลออก
มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีจิตเป็นอกุศลต้อง มีจิตเป็นอกุศลออก
มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีจิตเป็นอกุศลต้อง มีจิตเป็นอัพยากฤตออก
มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤตต้อง มีจิตเป็นกุศลออก
มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤตต้อง มีจิตเป็นอกุศลออก
มีอยู่ อาบัติ ภิกษุมีจิตเป็นอัพยากฤตต้อง มีจิตเป็นอัพยากฤตออก.

ปาราชิก 4


[1,231] ถามว่า ปาราชิกสิกขาบทที่ 1 เกิดด้วยสมุฏฐานเท่าไร
ตอบว่า ปาราชิกสิกขาบทที่ 1 เกิดด้วยสมุฏฐานอันหนึ่ง คือ เกิด
แต่กายกับจิต มิใช่วาจา