เมนู

[ว่าด้วยผู้หนัก]


วินิจฉัยในอธิกรณวูปสมวัคค์ พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า ปุคฺคลครุ โหติ มีความว่า ภิกษุผู้คิดถึงเหตุว่า ผู้นี้
เป็นอุปัชฌาย์ของเรา, ผู้นี้เป็นอาจารย์ของเรา ดังนี้เป็นต้น หวังความชำนะ
แก่บุคคลนั้น จึงแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม.
สองบทว่า สงฺฆครุ โหติ มีความว่า เนื้อวินิจฉัยไม่ละธรรมและ
วินัยเสีย ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าหนักในสงฆ์.
เมื่อถือเอาปัจจัยมีจีวรเป็นต้นวินิจฉัย ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าหนักในอามิส.
เมื่อไม่ถือเอาปัจจัยมีจีวรเป็นต้นเหล่านั้น วินิจฉัยตามธรรม ย่อมเป็น
ผู้ชื่อว่าหนักในสัทธรรม.

[ว่าด้วยสังฆเภท]


หลายบทว่า ปญฺจหิ อุปาลิ อากาเรหิ มีความว่า สงฆ์ย่อมแตก
เพราะเหตุ 5.
วินิจฉัยในคำว่า กมฺเมน อุทฺเทเสน โวหรนฺโต อนุสาวเนน
สลากคาเหน
นี้ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า กมฺเมน ได้แก่ กรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ในกรรม 4 อย่าง
มีอปโลกนกรรมเป็นต้น.
บทว่า อุทฺเทเสน ได้แก่ อุทเทสอย่างใดอย่างหนึ่ง ในปาฏิโมก-
ขุทเทส 5.

บทว่า โวหรนฺโต ได้แก่ ชี้แจง คือกล่าว อธิบายว่า แสดงเรื่อง
ก่อความแตกกัน 18 อย่าง มีแสดงอธรรมว่าธรรมเป็นอาทิ เพราะอุปัตติเหตุ
เหล่านั้น ๆ.
บทว่า อนุสาวเนน ได้แก่ การลั่นวาจาประกาศใกล้หู โดยนัย
เป็นต้นว่า พวกท่านรู้ไหม ? ว่าเราออกบวชจากสกุลสูง และว่าเราเป็นพหูสูต,
ควรแก่พวกท่านละหรือ ที่ยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า บุคคลอย่างเรานะ จะพึง
ให้ถือเอาสัตถุศาสนานอกธรรมนอกวินัย สำหรับเราอเวจีจะเย็นคล้ายสระนีลุบล
เทียวหรือ ? เราจะไม่กลัวอบายหรือ ?
บทว่า สลากคาเหน ได้แก่ การที่ประกาศอย่างนั้น พยุงจิตของ
ภิกษุเหล่านั้น กระทำให้เป็นผู้ไม่หวนกลับเป็นปกติแล้ว ให้จับสลากว่า พวก
ท่านจงจับสลากนี้.
ก็ในอาการ 5 อย่างนี้ กรรมเท่านั้น หรืออุทเทส เป็นสำคัญ. ส่วน
การแถลงการประกาศและการให้จับสลาก เป็นส่วนเบื้องต้น. จริงอยู่ เมื่อ
แถลงด้วยอำนาจแสดง เรื่อง 18 ประการ ประกาศเพื่อปลุกให้เกิดความพอใจ
ในคำแถลงนั้น ให้จับสลากแล้วก็ดี สงฆ์ก็หาเป็นอันเธอได้ทำลายไม่, แต่เมื่อใด
เธอให้ภิกษุ 4 รูปหรือเกินกว่าจับสลากอย่างนั้นแล้ว ทำกรรม หรืออุทเทส
แผนกหนึ่ง, เมื่อนั้นสงฆ์เป็นอันเธอได้ทำลายแล้วแท้.
ด้วยประการอย่างนี้ เป็นอันข้าพเจ้าได้ประกาศเนื้อความที่ตนเองได้
กล่าวไว้ ในสังฆเภทขันธกวัณณนา อย่างนี้ว่า ครั้นเมื่อภิกษุทั้งหลายแสดง
วัตถุอันใดอันหนึ่งแม้วัตถุเดียว ในวัตถุ 18 แล้ว ให้ภิกษุทั้งหลายหมายรู้ด้วย
เหตุนั้น ๆ ว่า ท่านทั้งหลายจงจับสลากนี้ จงชอบใจสลากนี้, ดังนี้ ให้จับสลาก

แล้วทำสังฆกรรมแผนกหนึ่ง สงฆ์ย่อมเป็นอันแตกกัน, ส่วนในคัมภีร์บริวาร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อุบาลี สงฆ์ย่อมแตกกันด้วยอาการ 5 เป็นอาทิ,
คำนั้นกับลักษณะแห่งสังฆเภทนี้ ที่ตรัสในสังฆเภทขันธกะนี้ โดยใจความ ไม่มี
ความแตกต่างกัน, และข้าพเจ้าจักประกาศข้อที่ไม่แตกต่างกันแห่งคำนั้น ๆ ใน
คัมภีร์บริวารนั้นแล.

[ว่าด้วยสังฆราชี]


บทว่า ปญฺญตฺเตตํ มีความว่า วัตรนั่น เราบัญญัติแล้ว, บัญญัติ
ไว้ที่ไหน ? ในวัตตขันธกะ. จริงอยู่ วัตร 14 หมวด พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติแล้ว ในวัตตขันธกะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า อุบาลี
อาคันตุกวัตรนั่น อันเราบัญญัติแล้วสำหรับภิกษุทั้งหลายผู้อาคันตุกะ เป็นอาทิ.
หลายบทว่า เอวํปิ โข อุปาลิ สงฺฆราชิ โหติ โน จ
สงฺฆเภโท
มีความว่า จริงอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ย่อมมีแต่เพียงความ
ร้าวรานแห่งสงฆ์เท่านั้น, ความแตกแห่งสงฆ์ยังไม่มีก่อน; ก็แต่ว่าความ
ร้าวรานแห่งสงฆ์นี้ เมื่อขยายตัวออกโดยลำดับ ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกแห่ง
สงฆ์ได้.
บทว่า ยถารตฺตํ ความว่า สมควรแก่ปริมาณแห่งราตรี คือ ตาม
ลำดับพระเถระ.
สองบทว่า อาเวณิภาวํ กริตฺวา ได้แก่ ทำความกำหนดไว้แผนกหนึ่ง.
สองบทว่า กมฺมากมฺมานิ กโรนฺติ มีความว่า ย่อมกระทำกรรม
ทั้งหลายทั้งเล็กทั้งใหญ่ จนชั้นสังฆกรรมอื่น ๆ อีก.
คำที่เหลือ ในอธิกรณวูปสมวัคค์แม้นี้ ตื้นทั้งนั้น.