เมนู

[ว่าด้วยองค์แห่งภิกษุผู้ควรแก่อุพพาหิกา]


วินิจฉัยในอุพพาหิกวัคค์ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า น อตฺถกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ไม่ฉลาดในอรรถกถา คือ
เป็นผู้ไม่เฉียบแหลมในการถอดใจความ.
บทว่า น ธมฺมกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ไม่ฉลาดในบาลี คือเป็นผู้
ไม่อาจหาญในบาลี เพราะไม่เรียนจากปากอาจารย์.
บทว่า น นิรุตฺติกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการกล่าวด้วย
ภาษาอื่น.
บทว่า น พฺยญฺชนกุสโล มีความว่า เป็นผู้ไม่ฉลาดในการใช้
พยัญชนะให้กลมกล่อม เนื่องด้วยสิถิลและธนิตเป็นต้น อธิบายว่า เป็นผู้ไม่
เชี่ยวชาญในกระบวนอักษร.
บทว่า น ปุพฺพาปรกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ไม่ฉลาดในเบื้องต้น และ
เบื้องปลายแห่งอรรถ ในเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งธรรม ในเบื้องต้นและ
เบื้องปลายแห่งนิรุตติ ในเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งพยัญชนะ และในคำต้น
และคำหลัง.
บททั้งหลายมีบทว่า โกธโน เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว
เพราะมีเหตุที่ภิกษุผู้อันความโกรธเป็นต้นครอบงำแล้ว ย่อมไม่รู้จักเหตุและ
มิใช่เหตุ ไม่สามารถจะตัดสินได้.
หลายบทว่า อปสาเรตา โหติ น สาเรตา มีความว่า เป็นผู้
ให้งมงาย คือไม่เตือนให้เกิดสติขึ้น, อธิบายว่า เคลือบคลุม คือปกปิดถ้อยคำ
ของโจทก์และจำเลยเสีย ไม่เตือนให้ระลึก.
คำที่เหลือในอุพพาหิกวัคค์นี้ ตื้นทั้งนั้นแล.
อุพพาหิกวัคควัณณนา จบ

[ว่าด้วยผู้หนัก]


วินิจฉัยในอธิกรณวูปสมวัคค์ พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า ปุคฺคลครุ โหติ มีความว่า ภิกษุผู้คิดถึงเหตุว่า ผู้นี้
เป็นอุปัชฌาย์ของเรา, ผู้นี้เป็นอาจารย์ของเรา ดังนี้เป็นต้น หวังความชำนะ
แก่บุคคลนั้น จึงแสดงอธรรมว่าเป็นธรรม.
สองบทว่า สงฺฆครุ โหติ มีความว่า เนื้อวินิจฉัยไม่ละธรรมและ
วินัยเสีย ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าหนักในสงฆ์.
เมื่อถือเอาปัจจัยมีจีวรเป็นต้นวินิจฉัย ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าหนักในอามิส.
เมื่อไม่ถือเอาปัจจัยมีจีวรเป็นต้นเหล่านั้น วินิจฉัยตามธรรม ย่อมเป็น
ผู้ชื่อว่าหนักในสัทธรรม.

[ว่าด้วยสังฆเภท]


หลายบทว่า ปญฺจหิ อุปาลิ อากาเรหิ มีความว่า สงฆ์ย่อมแตก
เพราะเหตุ 5.
วินิจฉัยในคำว่า กมฺเมน อุทฺเทเสน โวหรนฺโต อนุสาวเนน
สลากคาเหน
นี้ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า กมฺเมน ได้แก่ กรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ในกรรม 4 อย่าง
มีอปโลกนกรรมเป็นต้น.
บทว่า อุทฺเทเสน ได้แก่ อุทเทสอย่างใดอย่างหนึ่ง ในปาฏิโมก-
ขุทเทส 5.