เมนู

และไม่ควร ซึ่งท่านกล่าวแก่ภิกษุเหล่าอื่น ย่อมต้องอาบัติแท้. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพราะไม่ฟัง.
บทว่า ปสุตฺตตา ได้แก่ เพราะความเป็นผู้หลับเสีย. จริงอยู่ ภิกษุ
ย่อมต้องอาบัติเพราะนอนร่วมเรือน เพราะความเป็นผู้หลับก็ได้.
อนึ่ง ภิกษุเมื่อต้องอาบัติ เพราะความเป็นผู้มีความสำคัญว่า ควรใน
ของที่ไม่ควร ชื่อว่ามีความสำคัญนั้น ต้องอาบัติ.
เพราะลืมสติ ภิกษุย่อมต้องอาบัติที่จะพึงต้องด้วยอำนาจแห่งเหตุมีก้าว
ล่วงราตรี 1 เป็นต้น.
คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
มุสาวาทวัคค วัณณนา จบ

[ว่าด้วยองค์เป็นเหตุลงโทษ]


วินิจฉัยในภิกขุนีวัคค์ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า อลาภาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การไม่ได้ปัจจัย 4,
อธิบายว่า ภิกษุย่อมขวนขวาย คือพยายาม โดยประการที่ภิกษุณีทั้งหลายไม่
ได้ปัจจัย.
บทว่า อตฺถาย ได้แก่ ขวนขวาย บอกข่าวที่ให้โทษอันก่อให้เกิด
ความเสียหาย.
บทว่า อนาวาสาย ได้แก่ เพื่อต้องการจะไม่ให้อยู่, อธิบายว่า
เพื่อต้องการกำจัดออกเสียจากคามเขตเป็นที่อยู่.
บทว่า สมฺปโยเชติ ได้แก่ ชักสื่อเพื่อประโยชน์แก่การเสพอสัทธรรม.

พระอุบาลีเถระหมายเอากรรม 7 อย่างใดอย่างหนึ่ง จึงทูลถามว่า
ภิกษุสงฆ์พึงทำกรรมแก่ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไรพระเจ้าข้า ?
บทว่า น สากจฺฉาตพฺโพ มีความว่า ไม่ควรกล่าวเรื่องราวต่าง
โดยเรื่องควรไม่ควร กำหนดนาม รูป สมถะ และวิปัสสนาเป็นอาทิ. ก็
เพราะเหตุที่ภิกษุผู้ขีณาสพหาแกล้งกล่าวให้ผิดไม่ ท่านเป็นเจ้าของเรื่องราวเห็น
ปานนั้นกล่าว ภิกษุนอกนั้นหาได้เป็นเจ้าของไม่ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงทรงห้ามในปัญจกะที่ 1 ว่า นาเสกฺเขน แล้วตรัสในปัญจกะที่ 2 ว่า
อเสกฺเขน เป็นอาทิ.
บทว่า น อตฺถปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต มีความว่า เป็นผู้บรรลุ
ปฏิสัมภิทา คือเป็นผู้บรรลุญาณอันถึงความแตกฉาน ในอรรถกถาหามิได้.
บทว่า น ธมฺมปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต มีความว่า เป็นผู้บรรลุญาณ
อันแตกฉาน ในธรรมคือบาลี หามิได้.
บทว่า น นิรุตฺติปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต มีความว่า เป็นผู้บรรลุญาณ
อันแตกฉาน ในภาษาคือโวหารที่จะพึงกล่าว หามิได้.
บทว่า น ปฏิภาณปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต มีความว่า มิได้เป็นผู้
บรรลุความแตกฉาน ในญาณทั้งหลาย มีอัตถปฏิสัมภิทาญาณเป็นต้น ที่นับว่า
ปฏิภาณ (คือไหวพริบ).
สองบทว่า ยถาวิมุตฺตํ น ปจฺจเวกฺขติ มีความว่า เป็นผู้มิได้ใช้
สติเครื่องพิจารณา 19 ประเภท พิจารณาจิตตามที่พ้นแล้วด้วยอำนาจผลวิมุตติ
4 อย่าง.
คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
ภิกขุนีวัคค วัณณนา จบ

[ว่าด้วยองค์แห่งภิกษุผู้ควรแก่อุพพาหิกา]


วินิจฉัยในอุพพาหิกวัคค์ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า น อตฺถกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ไม่ฉลาดในอรรถกถา คือ
เป็นผู้ไม่เฉียบแหลมในการถอดใจความ.
บทว่า น ธมฺมกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ไม่ฉลาดในบาลี คือเป็นผู้
ไม่อาจหาญในบาลี เพราะไม่เรียนจากปากอาจารย์.
บทว่า น นิรุตฺติกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการกล่าวด้วย
ภาษาอื่น.
บทว่า น พฺยญฺชนกุสโล มีความว่า เป็นผู้ไม่ฉลาดในการใช้
พยัญชนะให้กลมกล่อม เนื่องด้วยสิถิลและธนิตเป็นต้น อธิบายว่า เป็นผู้ไม่
เชี่ยวชาญในกระบวนอักษร.
บทว่า น ปุพฺพาปรกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ไม่ฉลาดในเบื้องต้น และ
เบื้องปลายแห่งอรรถ ในเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งธรรม ในเบื้องต้นและ
เบื้องปลายแห่งนิรุตติ ในเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งพยัญชนะ และในคำต้น
และคำหลัง.
บททั้งหลายมีบทว่า โกธโน เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว
เพราะมีเหตุที่ภิกษุผู้อันความโกรธเป็นต้นครอบงำแล้ว ย่อมไม่รู้จักเหตุและ
มิใช่เหตุ ไม่สามารถจะตัดสินได้.
หลายบทว่า อปสาเรตา โหติ น สาเรตา มีความว่า เป็นผู้
ให้งมงาย คือไม่เตือนให้เกิดสติขึ้น, อธิบายว่า เคลือบคลุม คือปกปิดถ้อยคำ
ของโจทก์และจำเลยเสีย ไม่เตือนให้ระลึก.
คำที่เหลือในอุพพาหิกวัคค์นี้ ตื้นทั้งนั้นแล.
อุพพาหิกวัคควัณณนา จบ