เมนู

[ว่าด้วยโอกาสกรรม]


หลายบทว่า นาลํ โอกาสกมฺมํ กาตุํ มีความว่า ไม่ควรเพื่อ
กระทำ. อธิบายว่า อันภิกษุไม่พึงกระทำ.
ภิกษุผู้อันสงฆ์ยกวัตร และภิกษุผู้ถูกสงฆ์งดอุโบสถและปวารณา ชื่อ
ว่าภิกษุมิใช่ผู้ปกตัตต์ แม้ในโอกาสกรรมนี้.
บทว่า จาวนาธิปฺปาโย ได้แก่ ผู้ใคร่จะให้เคลื่อนจากศาสนา.

[ว่าด้วยถามปัญหา]


สองบทว่า มนฺทตฺตา โมมูหตฺตา มีความว่า เพราะความเป็นผู้
โง่ เพราะความเป็นผู้งมงาย จึงไม่สามารถทั้งเพื่อจะแก้ ทั้งเพื่อจะรู้ จะ
ประกาศความที่ตนเป็นผู้งมงายอย่างเดียวเท่านั้น จึงถามคล้ายคนบ้า.
บทว่า ปาปิจฺโฉ ได้แก่ ถามด้วยความปรารถนาลามกว่า ชนจัก-
สรรเสริญเรา ด้วยอุบายอย่างนี้.
บทว่า ปริภวา ได้แก่ เป็นผู้ใคร่จะยกความดูหมิ่นจึงถาม. แม้ใน
อัญญพยากรณ์ ก็มีนัยเหมือนกัน.
คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
ทิฏฐาวิกัมมวัคควัณณา จบ
คำใดที่จะพึงกล่าว ในอัตตาทานวัคค์และธุตังควัคค์, คำนั้นทั้งหมด
ได้กล่าวแล้วในหนหลังแล.