เมนู

สองบทว่า อธมฺมํ คณฺหาติ ได้แก่ ยึดถือธรรมที่เป็นฝ่ายไม่นำ
ออกจากทุกข์.
สองบทว่า ธมฺมํ ปฏิพาหติ ได้แก่ ค้านธรรมที่เป็นฝ่ายนำออก
จากทุกข์. . .
หลายบทว่า สมฺผญฺจ พหุํ ภาสติ ได้แก่ กล่าวค้อยคำที่ไร้
ประโยชน์มากมาย.
หลายบทว่า ปสยฺห ปวตฺตา โหติ มีความว่า เป็นผู้อันพระ
สังฆเถระมิได้เชิญ เมื่อภาระอันท่านมิได้มอบให้ อาศัยความทะนงตัวอย่าง
เดียว บังอาจกล่าวในกาลมิใช่โอกาส.
สองบทว่า อโนกาสกมฺมํ การาเปตฺวา มีความว่า เป็นผู้ไม่ให้
ภิกษุอื่นให้โอกาสเสียก่อนก็กล่าว.
หลายบทว่า น ยถาทิฏฺฐิยา พฺยากตา โหติ มีความว่าเป็นผู้
ไม่พยากรณ์ยืนยันความเห็นของตน กลับเป็นผู้งดความเห็น (ส่วนตัว) เสีย
มีความเห็นว่าเป็นธรรมเป็นต้น ในอธรรมเป็นอาทิ กล่าวไม่ตรงตามจริง.

[ว่าด้วยองค์ของภิกษุผู้ไม่ควรพูดในสงฆ์]


หลายบทว่า อาปตฺติยา ปโยคํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า
อาบัตินี้เป็นกายประโยค, อาบัตินี้เป็นวจีประโยค.
หลายบทว่า อาปตฺติยา วูปสมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า
อาบัตินี้ระงับด้วยการแสดง, อาบัตินี้ระงับด้วยการออก, อาบัตินี้ไม่ระงับด้วย
การแสดง ไม่ระงับด้วยการออก.