เมนู

สองบทว่า อาปตฺตานาปตฺตึ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้อาบัติ
และอนาบัติ ที่ทรงแสดงในสิกขาบทนั้น ๆ.
สองบทว่า อาปนฺโน กมฺมกโต มีความว่า ภิกษุต้องอาบัติแล้ว,
กรรมย่อมเป็นกิจอันสงฆ์ทำแล้ว เพราะการต้องนั้นเป็นปัจจัย.

[ว่าด้วยกรรมของภิกษุไม่ควรระงับ]


สองบทว่า กมฺมํ น ปฏิปฺปสฺสมฺเภตพฺพํ มีความว่า กรรม
ของภิกษุนั้น อันสงฆ์ไม่พึงให้ระงับ เพราะเหตุที่เธอประพฤติ โดยคล้อยตาม
พรรคพวก. อธิบายว่า เหมือนบุคคลที่ถูกล่ามไว้ด้วยเชือก อันตนจะพึงแก้
เสียฉะนั้น.

[ว่าด้วยองค์ 5 ของภิกษุผู้เข้าสงคราม]


หลายบทว่า สเจ อุปาลิ สงฺโฆ สมคฺคกรณียานิ กมฺมานิ
กโรติ
มีความว่า ถ้าว่าสงฆ์กระทำกรรมมีอุโบสถเป็นต้น อันภิกษุทั้งหลาย
ผู้พร้อมเพรียงกันพึงกระทำ, อันความอุดหนุน (แก่การทะเลาะ) อันภิกษุ
ไร ๆ ไม่พึงให้ ในเมื่อกรรมสามัคคีมีอุโบสถและปวารณาเป็นต้น ต้องงดไว้.
ก็ถ้าว่า สงฆ์ให้แสดงโทษล่วงเกินแล้วกระทำสังฆสามัคคีก็ดี กระทำการระงับ
อธิกรณ์ด้วยตินวัตถารกวินัย แล้วกระทำอุโบสถและปวารณาก็ดี, กรรมเห็น
ปานนี้ จัดเป็นกรรมที่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงพึงกระทำ.
บทว่า ตตฺเร เจ มีความว่า ถ้าว่าในกรรมเช่นนั้น ไม่ชอบใจแก่
ภิกษุไซร้, พึงกระทำความเห็นแย้งก็ได้ ควบคุมความพร้อมเพรียงเห็นปานนั้น

ไว้. ความถือผิดอย่างนั้น ไม่ควรถือไว้. ก็ในกรรมใด ภิกษุทั้งหลายแสดง
พระศาสนานอกธรรมนอกวินัย ในกรรมนั้นความเห็นแย้ง ใช้ไม่ได้ เพราะ
ฉะนั้น สงฆ์พึงห้ามเสียแล้วหลีกไป.

[ว่าด้วยองค์ 5 ของภิกษุผู้กล่าวไม่เป็นที่รัก]


บทว่า อุสฺสิตมนฺตี จ มีความว่า ผู้มีความรู้มากมักกล่าววาจา ซึ่ง
หนาแน่นด้วยโลภะ โทสะ และมานะ มีวาจาโสมม ไม่แสดงประโยชน์.
บทว่า นิสฺสิตชปฺปิ มีความว่า ไม่สามารถจะกล่าวถ้อยคำให้สม
แก่ความมีความรู้มากโดยธรรมดาของตน. โดยที่แท้ย่อมอ้างผู้อื่นกล่าวอย่างนี้
ว่า พระราชาได้ตรัสกับเราอย่างนี้, มหาอำมาตย์โน้น กล่าวอย่างนี้, อาจารย์
หรืออุปัชฌาย์ของเราชื่อโน้น กล่าวอย่างนี้, พระเถระผู้ทรงไตรปิฎก พูดกับ
เราอย่างนี้.
บทว่า น จ ภาสานุสนฺธิกุสโล มีความว่า เป็นผู้ไม่ฉลาดใน
ถ้อยคำที่เป็นเงื่อนของเรื่องราว และในถ้อยคำที่เป็นเงื่อนของคำวินิจฉัย.
สองบทว่า น ยถาธมฺเม ยถาวินเย มีความว่า ไม่เป็นผู้โจท
เตือนให้ระลึกถึงอาบัติด้วยวัตถุที่เป็นจริง.
สองบทว่า อสฺสาเทตา โหติ ความว่า ย่อมยกบางคนขึ้นอ้าง
โดยนัยเป็นต้นว่า อาจารย์ของข้าพเจ้า เป็นผู้ทรงไตรปิฎกอย่างใหญ่ เป็น
ธรรมกถึกอย่างเยี่ยม.
วินิจฉัยในทุติยบท พึงทราบดังนี้ :-
ย่อมรุกรานบางคน โดยนัยเป็นต้นว่า เขาจะรู้อะไร.