เมนู

อัตตาทานวรรค ที่ 5


หน้าที่ของโจทก์


[1,183] อุ. ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนดธรรม
เท่าไรไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนดธรรม
5 อย่างไว้ในตนแล้วโจทผู้อื่น ธรรม 5 อย่าง อะไรบ้าง คือ:-
1. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนดอย่างนี้
ว่า เราเป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์หรือหนอ เราเป็นผู้ประกอบด้วย
ความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีข้อสอบสวนหรือ ธรรมนั้นของ
เรามีอยู่หรือไม่มี
ดูก่อนอุบาลี ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่
ใช่เป็นผู้ประกอบด้วยความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีข้อสอบสวน
จะมีผู้ว่ากล่าวต่อเธอว่า เชิญท่านศึกษาความประพฤติทางกายก่อน จะมีคนว่า
กล่าวต่อเธอดังนี้
2. ดูก่อนอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนด
อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีความพระพฤติทางวาจาบริสุทธิ์หรือหนอ เราเป็นผู้
ประกอบด้วยความพระพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีข้อสอบสวนหรือ
ธรรมนั้นของเรามีอยู่หรือไม่มี
ดูก่อนอุบาลี ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีความพระพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่
ใช่เป็นผู้ประกอบด้วยความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ไม่มีช่อง ไม่มีข้อสอบ-
สวน จะมีผู้ว่ากล่าวต่อเธอว่า เชิญท่านศึกษาความประพฤติทางวาจาก่อน จะ
มีคนว่ากล่าวต่อเธอดังนี้

3. ดูก่อนอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนด
อย่างนี้ว่า เมตตาจิตไม่มีอาฆาต เราเข้าไปตั้งไว้แล้วในหมู่เพื่อนสพรหมจารี
หรือธรรมนั้นของเรามีอยู่หรือไม่มี
ดูก่อนอุบาลี ถ้าภิกษุไม่ได้เข้าไปตั้งเมตตาจิตไม่มีอาฆาตในหมู่เพื่อน
สพรหมจารี จะมีผู้ว่ากล่าวต่อเธอว่า เชิญท่านเข้าไปตั้งเมตตาจิตในหมู่เพื่อน
สพรหมจารีก่อน จะมีคนว่ากล่าวต่อเธอดังนี้
4. ดูก่อนอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนด
อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีสุตะมาก ทรงจำสุตะ สั่งสมสุตะหรือหนอ ธรรมเหล่านั้น
ใด งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น
เราได้ฟังมาก ทรงจำไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา ธรรม
นั้นของเรามีอยู่หรือไม่มี
ดูก่อนอุบาลี ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้มีสุตะมาก ทรงจำสุตะ สั่งสมสุตะ
ธรรมเหล่านั้นใด งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง
ธรรมเห็นปานนั้น เธอหาได้ฟังมาก ทรงจำไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดี
แล้วด้วยปัญญาไม่ จะมีผู้กล่าวต่อเธอว่า เชิญท่านเรียนคัมภีร์ก่อน จะมีคนว่า
กล่าวต่อเธอดังนี้
5. ดูก่อนอุบาลี อนึ่ง ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงกำหนด
อย่างนี้ว่า เราจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดี โดยพิสดาร สวดไพเราะคล่องแคล่วดี
วินิจฉัยเรียบร้อย โดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ หรือธรรมนั้นของเรามีอยู่
หรือไม่มี

ดูก่อนอุบาลี ถ้าภิกษุไม่ใช่เป็นผู้จำปาติโมกข์ทั้งสอง โดยพิสดาร
สวดไพเราะ คล่องแคล่วดี วินิจฉัยเรียบร้อย โดยสุตตะ โดยอนุพยัญชนะ
ไม่ได้ มีผู้ถามว่า ท่าน สิกขาบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ที่ไหน เธอถูกถาม
ดังนี้ ย่อมตอบไม่ถูกต้อง จะมีผู้ว่ากล่าวต่อเธอว่า เชิญท่านเล่าเรียนวินัยก่อน
จะมีคนว่ากล่าวต่อเธอดังนี้
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุโจทก์ประสงค์โจทผู้อื่น พึงกำหนดธรรม 5 อย่างนี้
ไว้ในตน แล้วโจทผู้อื่นเถิด.

หน้าที่ของโจทก์อีกนัยหนึ่ง


[1,184] อุ. ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรมเท่าไร
ไว้ในตนแล้วโจทผู้อื่น พระพุทธเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม 5
อย่างไว้ในตนแล้วโจทผู้อื่น ธรรม 5 อย่างอะไรบ้าง คือ:-
1. เราจักพูดโดยกาลอันควร จักไม่พูดโดยกาลไม่ควร
2. เราจักพูดด้วยคำจริง จักไม่พูดด้วยคำเท็จ
3. เราจักพูดด้วยคำสุภาพ จักไม่พูดด้วยคำหยาบ
4. เราจักพูดด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่พูดด้วยคำไม่ประ-
กอบด้วยประโยชน์
5. เราจักมีเมตตาจิตพูด จักไม่มุ่งร้ายพูด
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้โจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงตั้งธรรม 5 อย่าง
นี้ไว้ในตนแล้วโจทผู้อื่นเถิด.