เมนู

คำใดอันพึงจะกล่าวในนิมิตกรรมเป็นอาทิ คำทั้งปวงนั้น ได้กล่าว
ไว้แล้วในวัณณนาแห่งกฐินขันธกะ.

[ว่าด้วยการรื้อแห่งกฐิน]


สองบทว่า เอกุปฺปาทา เอกนิโรธา มีความว่า การรื้อแห่งกฐิน
แม้เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยกัน แม้เมื่อดับ ย่อมดับด้วยกัน.
สองบทว่า เอกุปฺปาทา นานานิโรธา มีความว่า การรื้อแห่ง
กฐิน เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยกัน, เมื่อดับ ย่อมดับต่างคราวกัน.
มีคำอธิบายอย่างไร ? การรื้อแม้ทั้งปวง ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกันกับ
การกราน, จริงอยู่ เมื่อมีการกราน การรื้อย่อมมีเป็นธรรมดา
ในบรรดาการกรานกฐิน 8 เหล่านี้ สองเบื้องต้น เมื่อจะดับย่อมดับ
คือถึงความรื้อ พร้อมกันกับการกราน. จริงอยู่ ความดับแห่งการกราน และ
ความเป็นแห่งการรื้อ แห่งกฐินุทธาร 2 นั่น ย่อมมีในขณะเดียวกัน นอกนี้
ย่อมดับต่างคราวกัน. เมื่อกฐินุทธารมปักกมนันติกาเป็นต้นแม้เหล่านั้น ถึง
แล้วซึ่งความเป็นอาการรื้อ การกรานก็ยังคงอยู่.
คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
กฐินเภท วัณณนา จบ
จบปัญญัตติวัคค วัณณนา
ในอรรถกถาวินัย ชื่อสมันตปาสาทิกา

อุปาลิปัญจกะ


อนิสสิตวรรคที่ 1


ท่านพระอุบาลีเข้าเฝ้า


[1,161] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน
พระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
แล้วทูลถามปัญหาว่า ดังนี้:-

องค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัย


พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล จะไม่ถือนิสัย
อยู่ตลอดชีวิตไม่ได้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ 5
จะไม่ถือนิสัยอยู่ตลอดชีวิตไม่ได้ องค์ 5 อะไรบ้าง คือ:-
1. ไม่รู้อุโบสถ
2. ไม่รู้อุโบสถกรรม
3. ไม่รู้ปาติโมกข์
4. ไม่รู้ปาติโมกขุทเทศ
5. มีพรรษาหย่อนห้า
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล จะไม่ถือนิสัยอยู่ตลอด
ชีวิตไม่ได้