เมนู

ผู้ประกอบด้วยโทษ อันวิญญูชนพึงติเตียน และย่อมประสบบาปมิใช่บุญมาก
ภิกษุเมื่อถึงฉันทาคติ ย่อมถึงอย่างนี้.

ว่าด้วยไม่ถึงโทสาคติ


[1,099] คำว่า ไม่พึงถึงโทสาคติ นั้น ความว่า เมื่อถึงโทสาคติ
ถึงอย่างไร ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้ได้ก่อความพินาศ
แก่เราแล้ว ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้กำลังก่อความพินาศแก่เรา ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้
จักก่อความพินาศแก่เรา ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้ได้ก่อความพินาศแก่เราผู้เป็นที่รัก
ที่พอใจ ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้กำลังก่อความพินาศแก่เราผู้เป็นที่รักที่พอใจ ผูก
อาฆาตว่า ผู้นี้จักก่อความพินาศแก่เราผู้เป็นที่รักที่พอใจ ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้ได้
ก่อประโยชน์แก่เราผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจ ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้กำลังก่อ
ประโยชน์แก่เราผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจ ผูกอาฆาตว่า ผู้นี้ก่อประโยชน์
แก่เราผู้ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจ ภิกษุนั้นอาฆาต ปองร้าย ขุ่นเคือง อัน
ความโกรธครอบงำ เพราะอาฆาตวัตถุ 9 อย่างนี้ ย่อมแสดงอธรรมว่าธรรม
แสดงธรรมว่าอธรรม. . . แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดง
อาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ภิกษุผู้ถึงโทสาคติเพราะวัตถุ 18 อย่างนี้
ย่อมปฏิบัติเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก
เพื่อความพินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและ
มนุษย์ ภิกษุผู้ถึงโทสาคติเพราะวัตถุ 18 อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้ถูกขุด
ถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ อันวิญญูชนติเตียน และย่อมประสบบาป
มิใช่บุญมาก ภิกษุเมื่อถึงโทสาคติ ย่อมถึงอย่างนี้.

ว่าด้วยไม่ถึงโมหาคติ


[1,100] คำว่า ไม่พึงถึงโมหาคติ นั้น ความว่า เมื่อถึงโมหาคติ
ถึงอย่างไร ภิกษุเป็นผู้กำหนัด ย่อมถึงด้วยอำนาจความกำหนัด เป็นผู้ขัดเคือง
ย่อมถึงด้วยอำนาจความขัดเคือง เป็นผู้หลง ย่อมถึงด้วยอำนาจความหลง เป็นผู้
ลูบคลำ ย่อมถึงด้วยอำนาจทิฏฐิ ภิกษุเป็นผู้หลงงมงาย ถูกโมหะครอบงำ
ย่อมแสดงอธรรมว่าธรรม แสดงธรรมว่าอธรรม. . . แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า
อาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ภิกษุผู้ถึงโมหาคติ
เพราะวัตถุ 18 อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความ
ไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความพินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เกื้อกูล
เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ภิกษุผู้ถึงโมหาคติเพราะวัตถุ 18 อย่างนี้ ย่อม
บริหารตนให้ถูกขุดถูกกำจัด เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ อันวิญญูชนพึงติเตียน
และย่อมประสบบาปมิใช่บุญมาก ภิกษุเมื่อถึงโมหาคติ ย่อมถึงอย่างนี้.

ว่าด้วยไม่ถึงภยาคติ


[1,101] คำว่า ไม่พึงถึงภยาคติ นั้น ความว่า เมื่อถึงภยาคต
ถึงอย่างไร ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ คิดว่า ผู้นี้อาศัยความประพฤติ
ไม่เรียบร้อย อาศัยความยึดถือ อาศัยพรรคพวกมีกำลัง เป็นผู้ร้ายกาจหยาบคาย
จักทำอันตรายแก่ชีวิต หรือทำอันตรายแก่พรหมจรรย์ ดังนี้ จึงขลาด เพราะ
กลัวต่อผู้นั้น ย่อมแสดงอธรรมว่าธรรม แสดงธรรมว่าอธรรม. . . แสดงอาบัติ
ชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ภิกษุ
ผู้ถึงภยาคติเพราะวัตถุ 18 อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก