เมนู

ข้อว่า พึงรู้จักสงฆ์โดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักสงฆ์โดยอาการ
อย่างนี้ว่า สงฆ์หมู่นี้จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดย
สัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้จักคณะโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักคณะโดยอาการ
อย่างนี้ว่า คณะนี้จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุ-
ศาสน์หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้จักบุคคลโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักบุคคลโดย
อาการ อย่างนี้ว่า บุคคลผู้นี้จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย
โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้จักโจทก์โดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักโจทก์โดยอาการ
อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้จักตั้งอยู่ในธรรม 5 ประการ แล้วโจทก์ผู้อื่น หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้จักจำเลยโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักจำเลยโดยอาการ
อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ตั้งอยู่ในธรรม 2 ข้อ คือ ให้การตามจริงและไม่โกรธ
หรือไม่หนอ.

ว่าด้วยรู้คำต้นและคำหลัง


[1,093] คำว่า พึงรู้คำต้นและคำหลัง นั้น คือ พึงรู้คำต้น
และคำหลังอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ย้ายวัตถุจากวัตถุ ย้ายวิบัติจากวิบัติ ย้ายอาบัติจาก
อาบัติ ปฏิเสธแล้วกลับปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วกลับปฏิเสธ หรือสับเรื่องอื่นด้วย
เรื่องอื่นหรือไม่หนอ.

ว่าด้วยรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ


[1,094] คำว่า พึงรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ นั้น คือ พึง
รู้เมถุนธรรม พึงรู้อนุโลมแก่เมถุธรรม พึงรู้บุพภาคแห่งเมถุน
ข้อว่า พึงรู้เมถุนธรรม นั้น คือ พึงรู้ความร่วมกันเป็นคู่ ๆ
ข้อว่า พึงรู้อนุโลมแก่เมถุนธรรม นั้น คือ ภิกษุอมองค์กำเนิด
ของภิกษุอื่น ด้วยปากของตน
ข้อว่า พึงรู้บุพภาคแห่งเมถุนธรรม นั้น คือ สี สิ่งมิใช่สี
การเคล้าคลึงด้วยกาย วาจาชั่วหยาบ การบำเรอตนด้วยกาม การยังวรรณะ
ให้เกิด.

ว่าด้วยรู้กรรม


[1,095] คำว่า พึงรู้กรรม นั้น ได้แก่ พึงรู้กรรม 16 อย่าง คือ
พึงรู้อปโลกนกรรม 4 อย่าง พึงรู้ญัตติกรรม 4 อย่าง พึงรู้ญัตติทุติยกรรม
4 อย่าง พึงรู้ญัตติจตุตถกรรม 4 อย่าง.

ว่าด้วยรู้อธิกรณ์


[1,096] คำว่า พึงรู้อธิกรณ์ นั้น ได้แก่ พึงรู้อธิกรณ์ 4 คือ
พึงรู้วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์.

ว่าด้วยรู้สมถะ


[1,097] คำว่า พึงรู้สมถะ นั้น ได้แก่ พึงรู้สมถะ 7 คือ พึง
รู้สัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา ตัสสปาปิย-
สิกา ติณวัตถารกะ.