เมนู

จำเลยอันข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ด้วยประการฉะนี้. แต่เพราะเหตุที่ฝ่ายจำเลยไม่
ยอมปฏิญญาโทษ เพราะอาศัยการเห็นนั้น จึงชื่อว่าผู้ถูกรังเกียจโดยไม่บริสุทธิ์
อธิบายว่า เป็นผู้รังเกียจโดยไม่มีมูล. สงฆ์พึงทำอุโบสถกับบุคคลนั้นตาม
ปฏิญญาที่ว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้บริสุทธิ์ ของบุคคลนั้น. ใน 2 คาถาที่เหลือ มี
นัยอย่างนี้แล.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
พรรณนากิจของภิกษุผู้ว่าอรรถคดี จบ

[ว่าด้วยเบื้องต้นของโจทนาเป็นอาทิ]


วินิจฉัยในปุจฉาวิสัชนามีอาทิว่า อะไรเป็นเบื้องต้นของโจทนา พึง
ทราบดังนี้:-
หลายบทว่า สจฺเจ จ อกุปฺเป จ มีความว่า จำเลยพึงตั้งอยู่ใน
ธรรม 2 ประการ คือ ให้การตามจริง 1 ไม่ขุ่นเคือง 1 คือว่าการใดอันตน
กระทำหรือมิได้กระทำ การนั้นแล อันตนพึงให้การ (เช่นนั้น). และไม่พึง
ให้เกิดความขุ่นเคืองในโจทก์ หรือในภิกษุผู้ว่าอรรถคดี หรือในสงฆ์.
สองบทว่า โอติณฺณาโนติณฺณํ ชานิตพฺพํ มีความว่า สงฆ์พึงรู้
ถ้อยคำอันเข้าประเด็นและไม่เข้าประเด็น. ในคำนั้น มีวิธีสำหรับรู้ดังนี้:-
สงฆ์พึงรู้ว่า คำต้นของโจทก์เท่านี้ คำหลังเท่านี้ คำต้นของจำเลย
เท่านี้ คำหลังเท่านี้.
พึงกำหนดลักษณะที่ควรเชื่อถือของโจทก์ พึงกำหนดลักษณะที่ควร
เชื่อถือของจำเลย พึงกำหนดลักษณะที่ควรเชื่อถือของภิกษุผู้ว่าอรรถคดี. ภิกษุ

ผู้ว่าอรรถคดี เมื่อยังการพิจารณาให้บกพร่องแม้มีประมาณน้อย อันสงฆ์พึง
สั่งว่า ผู้มีอายุ ท่านจงพิจารณาให้ดีบังคับคดีให้ตรง. สงฆ์พึงปฏิบัติอย่างนี้.
วินิจฉัยในคำว่า เยน ธมฺเมน เยน วินเยน เยน สตฺถุสาสเนน
อธิกรณํ วูปสมฺมติ
นี้ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า ธมฺโม ได้แก่ เรื่องที่เป็นจริง.
บทว่า วินโย ได้แก่ กิริยาที่โจทก์ และกิริยาที่จำเลยให้การ.
บทว่า สตฺถุสาสนํ ได้แก่ ญัตติสัมปทาและอนุสาวนสัมปทา.
จริงอยู่ อธิกรณ์ย่อมระงับโดยธรรม โดยวินัย และโดยสัตถุศาสนา
นั่น เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ว่าอรรถคดี พึงโจทด้วยวัตถุที่เป็นจริง แล้วให้
จำเลยระลึกถึงอาบัติ และยิ่งอธิกรณ์นั้นให้ระงับด้วยญัตติสัมปทาและอนุสาวน-
สัมปทา. ภิกษุผู้ว่าอรรถคดีพึงปฏิบัติอย่างนี้.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
แม้ปุจฉาวิสัชนามีอาทิว่า อุโบสถ เพื่อประโยชน์อะไร ? ก็ตื้น
เหมือนกันแล.
วินิจฉัยในอวสานคาถาทั้งหลาย พึงทราบดังนี้:-
บาทคาถาว่า เถเร จ ปริภาสติ มีความว่า เมื่อจะทำความดูหมิ่น
ย่อมคำว่า ภิกษุเหล่านี้ไม่รู้อะไร.
บาทคาถาว่า ขโต อุปหตินฺทฺริโย มีความว่า ชื่อว่าผู้มีคนอันขุด
แล้ว เพราะความที่ตนเป็นสภาพอันตนเองขุดแล้ว ด้วยความเป็นผู้ถึงความ
ลำเอียงด้วยฉันทาคติเป็นต้นนั้น และด้วยการด่านั้น และชื่อว่าผู้มีอินทรีย์อัน
ตนเองจัดเสียแล้ว เพราะความที่อินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้น เป็นคุณอันตนเอง
ขจัดเสียแล้ว.

สองบาทคาถาว่า นิรยํ คจฺฉติ มฺเมโธ น จ สิกฺขาย คารโว
มีความว่า ผู้มีตนอันขุดแล้ว มีอินทรีย์อันตนขจัดแล้วนั้น ชื่อว่าผู้มีปัญญา
ทราม เพราะไม่มีปัญญา และชื่อว่าไม่มีความเคารพในการศึกษา เพราะไม่
ศึกษาในสิกขา 3 เพราะแตกแห่งกาย ย่อมเข้าถึงนรก.
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ไม่ควรอิงอามิส (และไม่ควรอิงบุคคล
พึงเว้นส่วนทั้ง 2 นั้น เสีย) กระทำตามธรรม.
เนื้อความแห่งคำนั้นว่า ไม่พึงกระทำ เพราะอิงอามิส จริงอยู่ เมื่อ
ถือเอาอามิสมีจีวรเป็นต้น ที่โจทก์หรือจำเลยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้ ชื่อว่ากระทำ
เพราะอิงอามิส ไม่พึงกระทำอย่างนั้น.
หลายบทว่า น จ นิสฺสาย ปุคฺคลํ มีความว่า เมื่อลำเอียงเพราะ
ความรักเป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า ผู้นี้ เป็นอุปัชฌาย์ของเรา หรือว่า ผู้นี้
เป็นอาจารย์ของเรา ชื่อว่ากระทำเพราะอิงบุคคล ไม่พึงกระทำอย่างนั้น. ทางที่
ถูก พึงเว้นส่วนทั้ง 2 นั้นเสีย กระทำตามที่เป็นธรรมเท่านั้น.
บาทคาถาว่า อุปกณฺณกํ ชปฺเปติ มีความว่า กระซิบที่ใกล้หูว่า
ท่านจงพูดอย่างนี้ อย่าพูดอย่างนี้.
สองบทว่า ชิมฺหํ เปกฺขติ มีความว่า ย่อมแส่หาโทษเท่านั้น.
บทว่า วีติหรติ ได้แก่ ยังการวินิจฉัยให้บกพร่อง.
สองบทว่า กุมฺมคฺคํ ปฏิเสวติ มีความว่า ย่อมชี้อาบัติ.
สองบทว่า อกาเลน จ โจเทติ มีความว่า ผู้อันพระเถระมิได้
เชื้อเชิญ โจทในสมัยมิใช่โอกาส.

บาทคาถาว่า ปุพฺพาปรํ น ชานาติ มีความว่า ไม่รู้คำต้นและ
คำหลัง.
บาทคาถาว่า อนุสนฺธิวจนกถํ น ชานาติ มีความว่า ไม่รู้ถ้อย
คำ ด้วยอำนาจความสืบสมแห่งคำให้การ และความสืบสมแห่งคำวินิจฉัย.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
โจทนากัณฑก วัณณนา จบ

จูฬสงคราม


ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้เข้าสงคราม


[1,083] อันภิกษุผู้เข้าสงความเมื่อเข้าหาสงฆ์พึงเป็นผู้มีจิตยำเกรง
มีจิตเสมอด้วยผ้าเช็ดธุลี เข้าหาสงฆ์ พึงเป็นผู้รู้จักที่นั่ง รู้จักการนั่งไม่เบียดภิกษุ
ผู้เถระ ไม่ห้ามภิกษุผู้อ่อนกว่าด้วยอาสนะ. พึงนั่งอาสนะตามสมควร ไม่พึงพูด
เรื่องต่าง ๆ ไม่พึงพูดเรื่องดิรัจฉานกถา พึงกล่าวธรรมเอง หรือพึงเชื้อเชิญ
ภิกษุรูปอื่น ไม่พึงดูหมิ่นอริยดุษณีภาพ
อันภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ที่สงฆ์อนุมัติแล้ว มีประสงค์จะวินิจฉัย
อธิกรณ์ ไม่พึงถามถึงอุปัชฌาย์ ไม่พึงถามถึงอาจารย์ ไม่พึงถามถึงสัทธิวิหาริก
ไม่พึงถามถึงอันเตวาสิก ไม่พึงถามถึงภิกษุปูนอุปัชฌาย์ ไม่พึงถามถึงภิกษุ
ปูนอาจารย์ ไม่พึงถามถึงชาติ ไม่พึงถามถึงชื่อ ไม่พึงถามถึงโคตร ไม่พึง
ถามถึงอาคม ไม่พึงถามถึงตระกูล ไม่พึงถามถึงชาติภูมิ เพราะเหตุไร เพราะ
ความรักหรือความชังจะพึงมีในบุคคลนั้น เมื่อมีความรักหรือความชัง พึง
ลำเอียงเพราะความชอบบ้าง พึงลำเอียงเพราะความชังบ้าง พึงลำเอียงเพราะ
ความหลงบ้าง พึงลำเอียงเพราะความกลัวบ้าง

ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์


อันภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ที่สงฆ์อนุมัติแล้ว มีประสงค์จะวินิจฉัยอธิ-
กรณ์ พึงเป็นผู้หนักในสงฆ์ ไม่พึงเป็นผู้หนักในบุคคล พึงเป็นผู้หนักใน
พระสัทธรรม ไม่พึงเป็นผู้หนักในอามิส พึงเป็นผู้ไปตามอำนาจแห่งคดี ไม่