เมนู

ฉลาดต่อทางถ้อยคำอันต่อเนื่องกัน ปลูก
อนาบัติว่าอาบัติ โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่าย่อม
เผาตน แล.

โจทนากัณฑ์ จบ

หัวข้อประจำเรื่อง


[1,082] คำสั่งสอน การโจท ผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ เบื้องต้นมูลอุโบสถ
คติต้องอยู่ในโจทนากัณฑ์แล.

โจทนากัณฑก วัณณนา


[กิจของภิกษุผู้ว่าอรรถคดี]


บัดนี้ พระอุบาลีเถระเริ่มคำว่า อนุวิชฺชเกน เป็นอาทิ เพื่อแสดง
กิจอันพระวินัยธรพึงกระทำ ในการฟ้องร้องที่เกิดขึ้นแล้วอย่างนั้น.
ในคำนั้น คาถาว่า ทิฏฺฐํ ทิฏฺเฐน เป็นต้น มีเนื้อความดังนี้:-
ภิกษุรูปหนึ่ง กำลังออกหรือกำลังเข้าไป โดยสถานที่อันเดียวกันกับ
มาตุคามผู้หนึ่ง อันโจทก์เห็นแล้ว. โจทก์นั้นจึงฟ้องภิกษุนั้นเป็นจำเลยด้วย
อาบัติปาราชิก; ฝ่ายจำเลยยอมรับการเห็นของโจทก์นั้น แต่จำเลยยังไม่ถึง
ปาราชิก จึงไม่ปฏิญญา เพราะอิงการเห็นนั้น. ในคำของโจทก์และจำเลยนี้
การใดอันโจทก์นั้นเห็นแล้ว การนั้นสมด้วยคำที่ว่าได้เห็นของโจทก์นั้น นี้ว่า

จำเลยอันข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว ด้วยประการฉะนี้. แต่เพราะเหตุที่ฝ่ายจำเลยไม่
ยอมปฏิญญาโทษ เพราะอาศัยการเห็นนั้น จึงชื่อว่าผู้ถูกรังเกียจโดยไม่บริสุทธิ์
อธิบายว่า เป็นผู้รังเกียจโดยไม่มีมูล. สงฆ์พึงทำอุโบสถกับบุคคลนั้นตาม
ปฏิญญาที่ว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้บริสุทธิ์ ของบุคคลนั้น. ใน 2 คาถาที่เหลือ มี
นัยอย่างนี้แล.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
พรรณนากิจของภิกษุผู้ว่าอรรถคดี จบ

[ว่าด้วยเบื้องต้นของโจทนาเป็นอาทิ]


วินิจฉัยในปุจฉาวิสัชนามีอาทิว่า อะไรเป็นเบื้องต้นของโจทนา พึง
ทราบดังนี้:-
หลายบทว่า สจฺเจ จ อกุปฺเป จ มีความว่า จำเลยพึงตั้งอยู่ใน
ธรรม 2 ประการ คือ ให้การตามจริง 1 ไม่ขุ่นเคือง 1 คือว่าการใดอันตน
กระทำหรือมิได้กระทำ การนั้นแล อันตนพึงให้การ (เช่นนั้น). และไม่พึง
ให้เกิดความขุ่นเคืองในโจทก์ หรือในภิกษุผู้ว่าอรรถคดี หรือในสงฆ์.
สองบทว่า โอติณฺณาโนติณฺณํ ชานิตพฺพํ มีความว่า สงฆ์พึงรู้
ถ้อยคำอันเข้าประเด็นและไม่เข้าประเด็น. ในคำนั้น มีวิธีสำหรับรู้ดังนี้:-
สงฆ์พึงรู้ว่า คำต้นของโจทก์เท่านี้ คำหลังเท่านี้ คำต้นของจำเลย
เท่านี้ คำหลังเท่านี้.
พึงกำหนดลักษณะที่ควรเชื่อถือของโจทก์ พึงกำหนดลักษณะที่ควร
เชื่อถือของจำเลย พึงกำหนดลักษณะที่ควรเชื่อถือของภิกษุผู้ว่าอรรถคดี. ภิกษุ