เมนู

เปรียบเทียบอธิกรณ์


[1,074] เรื่องที่เห็นสมด้วยเรื่องที่
เห็น เรื่องที่เห็นเทียบกันได้กับเรื่องที่เห็น
แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการเห็น
บุคคลนั้น ถูกรังเกียจโดยไม่มีมูล พึงปรับ
อาบัติตามปฏิญญา พึงทำอุโบสถกับบุคคล
นั้น เรื่องที่ได้ยินได้ฟังสมด้วยเรื่องที่ได้ยิน
ได้ฟัง เรื่องที่ได้ยินได้ฟังเทียบกันได้กับ
เรื่องที่ได้ยินได้ฟัง แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ
เพราะอาศัยการได้ยินได้ฟัง บุคคลนั้นถูก
รังเกียจโดยไม่มีมูล พึงปรับอาบัติตามปฏิญ-
ญา พึงทำอุโบสถกับบุคคลนั้น เรื่องที่ได้
ทราบสมด้วยเรื่องที่ได้ทราบ เรื่องที่ได้ทราบ
เทียบกันได้กับเรื่องที่ได้ทราบ แต่บุคคลนั้น
ไม่ยอมรับเพราะอาศัยการได้ทราบ บุคคล
นั้นถูกรังเกียจโดยไม่มีมูล พึงปรับอาบัติ
ตามปฏิญญา พึงทำอุโบสถกับบุคคลนั้นเกิด.


ว่าด้วยเบื้องต้นของการโจทเป็นต้น


[1,079] ถามว่า การโจท มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่าม-
กลาง มีอะไรเป็นที่สุด

ตอบว่า การโจท มีขอโอกาสเป็นเบื้องต้น มีการทำเป็นท่ามกลาง
มีการระงับเป็นที่สุด
ถ. การโจท มีมูลเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร โจทด้วยอาการ
เท่าไร
ต. การโจท มีมูล 2 มีวัตถุ 3 มีภูมิ 5 โจทด้วยอาการ 2 อย่าง
ถ. การโจทมีมูล 2 เป็นไฉน
ต. การโจท มีมูล 1 การโจทไม่มีมูล 1 นี้การโจทมีมูล 2
ถ. การโจท มีวัตถุ 3 เป็นไฉน
ต. เรื่องที่เห็น 1 เรื่องที่ได้ยินได้ฟัง 1 เรื่องที่รังเกียจ 1 นี้การโจท
มีวัตถุ 3
ถ. การโจท มีภูมิ 5 เป็นไฉน
ต. จักพูดโดยกาลอันควร จักไม่พูดโดยกาลไม่ควร 1 จักพูดด้วยคำ
จริง จักไม่พูดด้วยคำไม่จริง 1 จักพูดด้วยคำสุภาพ จักไม่พูดด้วยคำหยาบ 1
จักพูดด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่พูดด้วยคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์
1 จักมีเมตตาจิตพูด จักไม่มุ่งร้ายพูด 1 นี้การโจทมีภูมิ 5
ถ. โจทด้วยอาการ 2 อย่าง เป็นไฉน
ต. โจทด้วยกายหรือโจทด้วยวาจา นี้โจทด้วยอาการ 2 อย่าง.

ข้อปฏิบัติของโจทก์และจำเลยเป็นต้น


[1,080] โจทก์ควรปฏิบัติอย่างไร จำเลยควรปฏิบัติอย่างไร สงฆ์
ควรปฏิบัติอย่างไร ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ควรปฏิบัติอย่างไร