เมนู

โจทนากัณฑ์


ข้อซักถามของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์


[1,077] ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงถามโจทก์ว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่าน
โจทภิกษุรูปนี้นั้น โจทเพราะเรื่องอะไร ท่านโจทด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ
หรือโจทด้วยทิฏฐิวิบัติ ถ้าโจทก์นั้นตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าโจทด้วยศีลวิบัติ
โจทด้วยอาจารวิบัติ หรือว่าข้าพเจ้าโจทด้วยทิฏฐิวิบัติ ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์
พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า ท่านรู้ศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรือ ถ้า
โจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้ศีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ รู้ทิฏฐิวิบัติ ภิกษุ
ผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ก็ศีลวิบัติเป็นไฉน
อาจารวิบัติเป็นไฉน ทิฏฐิวิบัติเป็นไฉน ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ปาราชิก 4
สังฆาทิเสส 13 นี้จัดเป็นศีลวิบัติ ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ
ทุพภาสิต นี้เป็นอาจารวิบัติ มิจฉาทิฏฐิ อันตคาหิกทิฏฐิ นี้เป็นทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่าน
โจทภิกษุรูปนี้นั้น โจทด้วยเรื่องที่เห็น ด้วยเรื่องที่ได้ยินได้ฟัง หรือด้วยเรื่อง
ที่รังเกียจ ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าโจทด้วยเรื่องที่เห็น โจทด้วยเรื่อง
ที่ได้ยินได้ฟัง หรือว่าข้าพเจ้าโจทด้วยเรื่องที่รังเกียจ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์ต่อไปว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่านโจท
ภิกษุรูปนี้ ด้วยเรื่องที่เห็นนั้น ท่านเห็นอะไร เห็นอย่างไร เห็นเมื่อไร เห็น
ที่ไหน ท่านเห็นภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านเห็นภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติ

สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ หรือ ท่านอยู่ที่ไหน
และภิกษุรูปนี้อยู่ที่ไหน ท่านทำอะไรอยู่ ภิกษุรูปนี้ทำอะไรอยู่
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้ามิได้โจทภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่อง
ที่เห็น แต่ว่าข้าพเจ้าโจทด้วยเรื่องที่ได้ยินได้ฟัง ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึง
ซักถามอย่างนี้ว่า ข้อที่ท่านโจทภิกษุรูปนี้ ด้วยเรื่องได้ยินได้ฟังนั้น ท่านได้
ยินได้ฟังอะไร ได้ยินได้ฟังว่าอย่างไร ได้ยินได้ฟังเมื่อไร ท่านได้ยินได้ฟังที่
ไหน ท่านได้ยินได้ฟังว่า ภิกษุนี้ ต้องอาบัติปาราชิก หรือ ท่านได้ยินได้ฟัง
ว่า ภิกษุนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ
ทุพภาสิต หรือ ท่านได้ยินได้ฟังต่อภิกษุ หรือ ได้ยินได้ฟังต่อภิกษุณี
สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา ราชมหาอำมาตย์
เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ หรือ
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้ามิได้โจทภิกษุรูปนี้ด้วยเรื่องที่
ได้ยินได้ฟัง แต่ข้าพเจ้าโจทด้วยเรื่องที่รังเกียจ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักถามโจทก์อย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่าน
โจทภิกษุรูปนี้ ด้วยเรื่องที่รังเกียจนั้น ท่านรังเกียจอะไร รังเกียจว่าอย่างไร
รังเกียจเมื่อไร รังเกียจที่ไหน ท่านรังเกียจว่าภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือ
ท่านรังเกียจว่าภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ
ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือ ท่านได้ยินได้ฟังต่อภิกษุจึงรังเกียจ หรือ ท่านได้ยิน
ได้ฟังต่อภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา
ราชมหาอำมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์แล้วรังเกียจ หรือ.

เปรียบเทียบอธิกรณ์


[1,074] เรื่องที่เห็นสมด้วยเรื่องที่
เห็น เรื่องที่เห็นเทียบกันได้กับเรื่องที่เห็น
แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการเห็น
บุคคลนั้น ถูกรังเกียจโดยไม่มีมูล พึงปรับ
อาบัติตามปฏิญญา พึงทำอุโบสถกับบุคคล
นั้น เรื่องที่ได้ยินได้ฟังสมด้วยเรื่องที่ได้ยิน
ได้ฟัง เรื่องที่ได้ยินได้ฟังเทียบกันได้กับ
เรื่องที่ได้ยินได้ฟัง แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ
เพราะอาศัยการได้ยินได้ฟัง บุคคลนั้นถูก
รังเกียจโดยไม่มีมูล พึงปรับอาบัติตามปฏิญ-
ญา พึงทำอุโบสถกับบุคคลนั้น เรื่องที่ได้
ทราบสมด้วยเรื่องที่ได้ทราบ เรื่องที่ได้ทราบ
เทียบกันได้กับเรื่องที่ได้ทราบ แต่บุคคลนั้น
ไม่ยอมรับเพราะอาศัยการได้ทราบ บุคคล
นั้นถูกรังเกียจโดยไม่มีมูล พึงปรับอาบัติ
ตามปฏิญญา พึงทำอุโบสถกับบุคคลนั้นเกิด.


ว่าด้วยเบื้องต้นของการโจทเป็นต้น


[1,079] ถามว่า การโจท มีอะไรเป็นเบื้องต้น มีอะไรเป็นท่าม-
กลาง มีอะไรเป็นที่สุด