เมนู

เช่นนี้ตรัสเรียกว่า ผู้โจทก์เป็นธรรม แต่ข้า
พระพุทธเจ้า ทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น คน
เช่นไรตรัสเรียกว่า โจทก์ผู้เขลา
พ. บุคคลไม่รู้คำต้นและคำหลัง 1
ไม่ฉลาดในคำต้นและคำหลัง 1 ไม่รู้ทาง
แห่งถ้อยคำอันต่อเนื่องกัน 1 ไม่ฉลาดต่อ
ทางแห่งถ้อยคำอันต่อเนื่องกัน 1 คนเช่นนี้
เราเรียกว่าโจทก์ผู้เขลา.


คนโจทก์ผู้ฉลาด


[1,075] อุ. จริง พระพุทธเจ้าข้า
แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบเกล้าว่า คนเช่นนี้
ตรัสเรียกว่า โจทก์ผู้เขลา แต่ข้าพระพุทธเจ้า
ทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น คนเช่นไรตรัส
เรียกว่า โจทก์ผู้ฉลาด
พ. บุคคลรู้คำต้นและคำหลัง 1
ฉลาดในคำต้นและคำหลัง 1 รู้ทางแห่งถ้อย
คำอันต่อเนื่องกัน 1 ฉลาดต่อทางแห่งถ้อยคำ
อันต่อเนื่องกัน 1 คนเช่นนี้เราเรียกว่า
โจทก์ผู้ฉลาด.

การโจท


[1,076] อุ. จริง พระพุทธเจ้าข้า
แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ทราบเกล้าว่า คนเช่นนี้
ตรัสเรียกว่า โจทก์ผู้ฉลาด แต่ข้าพระพุทธเจ้า
ขอทูลถามพระองค์ถึงข้ออื่น อย่างไร พระ-
องค์ตรัสเรียกว่า การโจท
พ. เพราะเหตุที่โจทด้วยศีลวิบัติ 1
อาจารวิบัติ 1 ทิฏฐิวิบัติ 1 และแม้ด้วย
อาชีววิบัติ 1 ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า การโจท.

คาถาสังคณิกะอีกนัยหนึ่ง จบ

ทุติยคาถาสังคณิก วัณณนา


วินิจฉัยในทุติยคาถาสังคณิกะ

พึงทราบดังนี้:-
วาจาที่แสดงไล่เลียงวัตถุและอาบัติ ชื่อว่าโจทนา.
วาจาที่เตือนให้นึกถึงโทษ ชื่อว่าสารณา.
สองบทว่า สงฺโฆ กิมตฺถาย มีความว่า ประชุมสงฆ์เพื่อประโยชน์
อะไร ?
บาทคาถาว่า มติกมฺมํ ปน กิสฺส การณา มีความว่า ความเข้าใจ
ความประสงค์ ตรัสว่า มติกรรม มติกรรมนั้น ตรัสไว้เพราะเหตุแห่งอะไร ?