เมนู

คำว่า กิจฺจยนิทานํ นั่น ท่านกล่าวด้วยอำนาจกิจทั้งหลายที่อาศัย
การที่จำต้องทำเกิดขึ้น มีสมนุภาสน์เพียงครั้งที่ 3 เป็นต้น แก่ภิกษุณีผู้
ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร.
นี้เป็นวาจาประกอบเฉพาะบทเดียว ในฝ่ายวิสัชนาอธิกรณ์ทั้ง 4.
ทุก ๆ บทพึงประกอบโดยทำนองนี้.
ในวิสัชนามีคำว่า มีเหตุเป็นนิทาน เป็นอาทิ แห่งทุติยปุจฉา พึง
ทราบภาวะแห่งนิทานเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งกุศลเหตุอกุศลเหตุและอัพยากต
เหตุ 9 หมวด.
ในวิสัชนาแห่งตติยปุจฉา พึงทราบว่าต่างกันแต่สักว่าพยัญชนะ. จริง
อยู่ เหตุนั่นแล ท่านกล่าวว่า ปัจจัย ในตติยปุจฉานี้.

[ว่าด้วยมูลเป็นต้นแห่งอธิกรณ์]


วินิจฉัย ในวาระที่ตอบคำถามถึงมูล พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า ทฺวาทส มูลานิ ได้แก่ มูล 12 ซึ่งเป็นไปในภายใน
สันดานเหล่านี้ คือ วิวาทมูล 6 มีโกรธ ผูกโกรธ และความแข่งดีเป็นอาทิ
โลภะ โทสะ และโมหะ 3 อโลภะ อโทสะ และอโมหะ 3.
สองบทว่า จุทฺทส มูลานิ ได้แก่ มูล 2 นั้นเอง กับกายและ
วาจาจึงรวมเป็น 14.
สองบทว่า ฉ มูลานิ ได้แก่ มูล 6 มีกายเป็นต้น.
วินิจฉัยในวาระที่ตอบคำถามถึงสมุฏฐาน พึงทราบดังนี้:-
เรื่องก่อความแตกกัน 18 ประการ เป็นสมุฏฐานแห่ง (วิวาทาธิกรณ์)
จริงอยู่ วิวาทาธิกรณ์นั่น ย่อมตั้งขึ้นในเรื่องก่อความแตกกัน 18 ประการ

เหล่านั่น หรือว่าย่อมตั้งขึ้น เพราะเรื่องก่อความแตกกันเหล่านั่น เป็นตัวเหตุ-
ด้วยเหตุนั้น เรื่องก่อความแตกกันเหล่านั่น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นสมุฏฐาน
แห่งวิวาทาธิกรณ์นั้น. ในอธิกรณ์ทั้งปวงก็นัยนี้.
ในนัยอันต่างกันโดยคำว่า วิวาทาธิกรณ์ เป็นอาบัติหรือ ? เป็นอาทิ
คำว่า ด้วยอธิกรณ์อันหนึ่ง คือ กิจจาธิกรณ์ นี้ ท่านกล่าวแล้ว เพื่อแสดง
บรรดาอธิกรณ์ทั้งหลาย เฉพาะอธิกรณ์ที่เป็นเครื่องระงับอาบัติทั้งหลาย. แต่
กองอาบัติเหล่านั้น จะระงับด้วยกิจจาธิกรณ์โดยส่วนเดียวเท่านั้นหามิได้. เพราะ
ธรรมดากิจจาธิกรณ์จะสำเร็จแก่ภิกษุผู้แสดงในสำนักบุคคลหามิได้.
สองบทว่า น กตเมน สมเถน มีความว่า อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ
นั้น หาระงับเหมือนอาบัติที่มีส่วนเหลือไม่. เพราะว่าอาบัติที่เป็นอนวเสสนั้น
อันภิกษุไม่อาจแสดง คือ ไม่อาจตั้งอยู่ในส่วนหมดจด จำเดิมแต่อนว-
เสสาบัตินั้น.
นัยว่า วิวาทาธิกรณํ โหติ อนุวาทาธิกรณํ เป็นอาทิ ตื้น
ทั้งนั้น.
เบื้องหน้าแต่นั้น ท่านกล่าวปุจฉา 6 คู่ ไม่เว้นสัมมุขาวินัย มีคำว่า
ยตฺถ สติวินโย เป็นอาทิ, ท่านประกาศเนื้อความแล้ว ด้วยวิสัชนาปุจฉา
เหล่านั้นแล.

[ว่าด้วยสมถะระคนและไม่ระคนกัน]


วินิจฉัยในวาระที่แก้คำถามถึงสมถะที่ระคนกันเป็นอาทิ พึงทราบดัง
นี้:-