เมนู

คำว่า กิจฺจยนิทานํ นั่น ท่านกล่าวด้วยอำนาจกิจทั้งหลายที่อาศัย
การที่จำต้องทำเกิดขึ้น มีสมนุภาสน์เพียงครั้งที่ 3 เป็นต้น แก่ภิกษุณีผู้
ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร.
นี้เป็นวาจาประกอบเฉพาะบทเดียว ในฝ่ายวิสัชนาอธิกรณ์ทั้ง 4.
ทุก ๆ บทพึงประกอบโดยทำนองนี้.
ในวิสัชนามีคำว่า มีเหตุเป็นนิทาน เป็นอาทิ แห่งทุติยปุจฉา พึง
ทราบภาวะแห่งนิทานเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งกุศลเหตุอกุศลเหตุและอัพยากต
เหตุ 9 หมวด.
ในวิสัชนาแห่งตติยปุจฉา พึงทราบว่าต่างกันแต่สักว่าพยัญชนะ. จริง
อยู่ เหตุนั่นแล ท่านกล่าวว่า ปัจจัย ในตติยปุจฉานี้.

[ว่าด้วยมูลเป็นต้นแห่งอธิกรณ์]


วินิจฉัย ในวาระที่ตอบคำถามถึงมูล พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า ทฺวาทส มูลานิ ได้แก่ มูล 12 ซึ่งเป็นไปในภายใน
สันดานเหล่านี้ คือ วิวาทมูล 6 มีโกรธ ผูกโกรธ และความแข่งดีเป็นอาทิ
โลภะ โทสะ และโมหะ 3 อโลภะ อโทสะ และอโมหะ 3.
สองบทว่า จุทฺทส มูลานิ ได้แก่ มูล 2 นั้นเอง กับกายและ
วาจาจึงรวมเป็น 14.
สองบทว่า ฉ มูลานิ ได้แก่ มูล 6 มีกายเป็นต้น.
วินิจฉัยในวาระที่ตอบคำถามถึงสมุฏฐาน พึงทราบดังนี้:-
เรื่องก่อความแตกกัน 18 ประการ เป็นสมุฏฐานแห่ง (วิวาทาธิกรณ์)
จริงอยู่ วิวาทาธิกรณ์นั่น ย่อมตั้งขึ้นในเรื่องก่อความแตกกัน 18 ประการ