เมนู

ฝ่ายภิกษุผู้โง่งมงาย เมื่อแสดงอธรรมว่า ธรรม เป็นต้น เพราะ
ความที่ตนเป็นคนโง่งมงายนั่นเอง รื้ออธิกรณ์โดยนัยกล่าวแล้วนั้นแล ชื่อว่า
ถึงโมหาคติ รื้ออธิกรณ์
ก็ถ้าว่า ในภิกษุ 2 รูปผู้เป็นข้าศึกกัน รูปหนึ่งเป็นผู้อิงกรรมที่ไม่
สม่ำเสมอ อิงทิฏฐิและอาศัยผู้มีกำลัง เพราะเป็นผู้อิงกายกรรมเป็นต้น ที่
ไม่สม่ำเสมอ อิงมิจฉาทิฏฐิ คือความยึดถือ และอาศัยภิกษุผู้มีชื่อเสียง มี
พรรคพวกมีกำลัง. เพราะกลัวภิกษุนั้นว่า ผู้นี้จะพึงทำอันตรายแก่ชีวิต หรือ
อันตรายแก่พรหมจรรย์ของเรา เมื่อแสดงอธรรมว่า ธรรม เป็นอาทิ รื้ออธิกรณ์
โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล ชื่อว่าถึงภยาคติ รื้ออธิกรณ์.

[ว่าด้วยผู้รื้ออธิกรณ์ต้องอาบัติ]


บทว่า ตทหุปสมฺปนฺโน มีความว่า สามเณรรูปหนึ่งเป็นผู้ฉลาด
เป็นพหุสุตะ เธอเห็นภิกษุทั้งหลายผู้แพ้ในการตัดสินแล้วเป็นผู้ซบเซา จึงถาม
ว่า เหตุไรพวกท่านจึงพากันซบเซา ? ภิกษุเหล่านั้น จึงบอกเหตุนั้นแก่เธอ.
เธอจึงกล่าวกะภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า เอาเถิด ขอรับ ท่านจงอุปสมบทให้ผม
ผมจักยังอธิกรณ์นั้นให้ระงับเอง. ภิกษุเหล่านั้น ยังเธอให้อุปสมบท. เธอ
ตีกลองให้สงฆ์ประชุมกันในวันรุ่งขึ้น. ลำดับนั้น เธออันภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า
สงฆ์ใครให้ประชุม ? จึงตอบว่า ผม ให้ประชุมเพราะเหตุไร ? เมื่อวาน
อธิกรณ์วินิจฉัยไม่ดี ผมจักวินิจฉัยอธิกรณ์นั้น ในวันนี้. ก็เมื่อวานคุณไป
ข้างไหนเสีย ? ผมยังเป็นอนุปสัมบัน ขอรับ แต่วันนี้ผมเป็นอุปสัมบันแล้ว.
เธออันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวว่า อาวุโส สิกขาบทนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า