เมนู

ในข้อเหล่านั้น อย่างไร อธิกรณ์ไม่เป็นกิจ
วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ นี้อธิกรณ์ไม่เป็นกิจ
ในข้อเหล่านั้น อย่างไร เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย
กิจจาธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นกิจด้วย.
อธิกรณเภท จบ

หัวข้อประจำเรื่อง


[1,068] อธิกรณ์ 1 การฟื้น 1 อาการ 1 บุคคล 1 นิทาน 1
เหตุ 1 ปัจจัย 1 มูล 1 สมุฏฐาน 1 เป็นอาบัติ 1 มีอธิกรณ์ 1 ในที่ใด 1
แยก นิทาน 1 เหตุ 1 ปัจจัย 1 มูล 1 สมุฏฐาน 1 พยัญชนะ 1 วิวาท 1
อธิกรณ์ 1 ตามที่กล่าวนี้ จัดลงในประเภทอธิกรณ์ ด้วยประการฉะนี้แล.
หัวข้อประจำเรื่อง จบ

อธิกรณเภท วัณณนา


[รื้อสมถะด้วยรื้ออธิกรณ์]


วินิจฉัยในอธิกรณเภท พึงทราบดังนี้:-
พระอุบาลีเถระ ครั้นกล่าวรื้ออธิกรณ์ว่า การรื้อ 10 เหล่านี้แล้ว
ได้กล่าวว่า เมื่อรื้อวิวาทาธิกรณ์ ย่อมรื้อสมถะเท่าไร ? เป็นอาทิ เพื่อแสดง
การรื้อสมถะ เพราะรื้ออธิกรณ์อีก.

ในบทเหล่านั้น หลายบทว่า วิวาทาธิกรณํ อุกฺโกเฏนฺโต เทฺว
สมเถ อุกฺโกเฏติ
มีความว่า ย่อมรื้อ คือปฏิเสธค้านสมถะ 2 นี้ คือ
สัมมุขาวินัย 1 เยภุยยสิกา 1.
หลายบทว่า อนุวาทาธิกรณํ อุกฺโกเฏนฺโต จตฺตาโร มีความว่า
ย่อมรื้อสมถะ 4 เหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย ตัสสปาปิยสิกา.
หลายบทว่า อาปตฺตาธิกรณํ อุกฺโกเฏนฺโต ตโย ได้แก่ ย่อมรื้อ
สมถะ 3 นี้ คือ สัมมุขาวินัย ปฏิญญาตกรณะ ติณวัตถารกะ.
หลายบทว่า กิจฺจาธิกรณํ อุกฺโกเฏนฺโต เอกํ มีความว่า ย่อมรื้อ
สมถะ 1 นี้ คือ สัมมุขาวินัย.

[การรื้อ 12]


บรรดาการรื้อ 12 ในวาระที่ตอบคำถามว่า การรื้อมีเท่าไร ? เป็นอาทิ
การรื้อ 3 ก่อน มีอาทิคือ กรรมที่สงฆ์ยังไม่ได้ทำ ย่อมได้ในอนุวาทาธิกรณ์
ที่ 2 โดยพิเศษ.
การรื้อสมถะ 3 มีอาทิคือ อธิกรณ์ที่สงฆ์ยังมิได้ชำระ ย่อมได้ใน
วิวาทาธิกรณ์ที่ต้น.
การรื้อสมถะ 3 มีอาทิคือ อธิกรณ์ที่สงฆ์ยังมิได้วินิจฉัย ย่อมได้ใน
อาปัตตาธิกรณ์ที่ 3.
การรื้อ 3 มีอาทิคือ อธิกรณ์ที่สงฆ์ยังมิได้ระงับ ย่อมได้ในกิจจา-
ธิกรณ์ที่ 4.
อีกประการหนึ่ง การรื้อแม้ทั้ง 12 ย่อมได้ในอธิกรณ์แต่ละอย่างแท้.