เมนู

ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี อมูฬหวินัยก็ดี มีอรรถและ
พยัญชนะต่างกัน
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ปฏิญญาตกรณะก็ดี มีอรรถและ
พยัญชนะต่างกัน
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี เยภุยยสิกาก็ดี มีอรรถและ
พยัญชนะต่างกัน
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ตัสสปาปิยสิกาก็ดี มีอรรถและ
พยัญชนะต่างกัน
ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัยก็ดี ติณวัตถารกะก็ดี มีอรรถและ
พยัญชนะต่างกัน.

ว่าด้วยวิวาทาธิการณ์


[1,064 ] วิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์ วิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์ไม่
เป็นวิวาท เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย บางทีวิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์
บางทีวิวาทไม่เป็นอธิกรณ์ บางทีอธิกรณ์ไม่เป็นวิวาท บางทีเป็นอธิกรณ์ด้วย
เป็นวิวาทด้วย
ในข้อเหล่านั้น อย่างไร วิวาทเป็นวิวาทาธิกรณ์
ภิกษุทั้งหลายไม่พระธรรมวินัยนี้ วิวาทกันว่า
นี้ เป็นธรรม นี้ ไม่เป็นธรรม
นี้ เป็นวินัย นี้ ไม่เป็นวินัย
นี้ พระตถาคตตรัสภาษิตไว้ นี้ พระตถาคตไม่ได้ตรัสภาษิตไว้

นี้ พระตถาคตทรงประพฤติมา นี้ พระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมา
นี้ พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ นี้ พระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติไว้
นี้ เป็นอาบัติ นี้ ไม่เป็นอาบัติ
นี้ เป็นอาบัติเบา นี้ เป็นอาบัติหนัก
นี้ เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ นี้ เป็นอาบัติหาส่วนเหลือมิได้
นี้ เป็นอาบัติชั่วหยาบ นี้ เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ
ความบาดหมาง ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง ความวิวาท การกล่าว
ต่างกัน การกล่าวโดยประการอื่น การพูดเพื่อความกลัดกลุ้มใจ ความหมายมั่น
ในเรื่องนั้นอันใด นี้วิวาท เป็นวิวาทาธิกรณ์
ในข้อเหล่านั้น อย่างไร วิวาท ไม่เป็นอธิกรณ์
มารดาทะเลาะกับบุตรบ้าง บุตรทะเลาะกับมารดาบ้าง
บิดาทะเลาะกับบุตรบ้าง บุตรทะเลาะกับบิดาบ้าง
พี่ชายทะเลาะกับน้องชายบ้าง พี่ชายทะเลาะกับน้องหญิงบ้าง
น้องหญิงทะเลาะกับพี่ชายบ้าง เพื่อนทะเลาะกับเพื่อนบ้าง
นี้วิวาท ไม่เป็นอธิกรณ์
ในข้อเหล่านั้น อย่างไร อธิกรณ์ ไม่เป็นวิวาท
อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ นี้อธิกรณ์ไม่เป็นวิวาท
ในข้อเหล่านั้น อย่างไร เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย วิวาทา-
ธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นวิวาทด้วย.

ว่าด้วยอนุวาทาธิกรณ์


[1,065] การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์ การโจทไม่เป็นอธิกรณ์
อธิกรณ์ไม่เป็นการโจท เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย บางทีการโจท
เป็นอนุวาทาธิกรณ์ บางทีการโจท ไม่เป็นอธิกรณ์ บางทีอธิกรณ์ไม่เป็น
การโจท บางทีเป็นอธิกรณ์ด้วยเป็นการโจทด้วย
ในข้อเหล่านั้น อย่างไร การโจทเป็นอนุวาทาธิกรณ์
ภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมโจทภิกษุ ด้วยศีลวิบัติ
อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ การโจท การกล่าวหา การฟ้องร้อง
การประท้วง ความเป็นผู้คล้อยตาม การทำความอุตสาหะโจท การตามเพิ่ม
กำลังให้ ในเรื่องนั้นอันใด นี้การโจท เป็นอนุวาทาธิกรณ์
ในข้อเหล่านั้น อย่างไร การโจท ไม่เป็นอธิกรณ์
มารดาฟ้องบุตรบ้าง บุตรฟ้องมารดาบ้าง บิดาฟ้องบุตรบ้าง บุตร
ฟ้องบิดาบ้าง พี่ชายฟ้องน้องชายบ้าง พี่ชายฟ้องน้องหญิงบ้าง น้องหญิงฟ้อง
พี่ชายบ้าง เพื่อนฟ้องเพื่อนบ้าง นี้การโจทไม่เป็นอธิกรณ์
ในข้อเหล่านั้น อย่างไร อธิกรณ์ไม่เป็นการโจท
อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ นี้อธิกรณ์ไม่เป็นการโจท
ในข้อเหล่านั้น อย่างไร เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย อนุ-
วาทาธิกรณ์ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นการโจทด้วย.

ว่าด้วยอาปัตตาธิกรณ์


[1,066] อาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์ อาบัติไม่เป็นอธิกรณ์ อธิกรณ์
ไม่เป็นอาบัติ เป็นอธิกรณ์ด้วย เป็นอาบัติด้วย บางทีอาบัติเป็นอาปัตตาธิกรณ์