เมนู

คำว่า ปาราชิกนฺตํ ยํ วุตฺตํ เป็นอาทินี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าว
เพื่อแสดงเนื้อความ ที่มิได้สงเคราะห์ด้วยปัญหาที่ว่า ครุกลหุกญฺจาปิ เป็นต้น
แต่สงเคราะห์ด้วยคำอ้อนวอนนี้ว่า หนฺท วากฺยํ สุโณม เต (เอาเถิด
เราจะฟังคำของท่าน).

[อุปมาแห่งอาบัติอนาบัติ]


แม้ในบทว่า ฉนฺนมติวสฺสติ เป็นต้น ก็นัยนี้แล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉนฺนมติวสฺสติ มีความว่า เรือนที่มิได้
มุงด้วยเครื่องมุงมีหญ้าเป็นต้น ย่อมเปียกก่อน. แต่เรือนกล่าวคืออาบัตินี้ อัน
ภิกษุปิดไว้แล้ว ย่อมเปียก.
จริงอยู่ ภิกษุเมื่อปิดอาบัติแรกไว้ ย่อมต้องอาบัติอื่นใหม่.
สองบทว่า วิวฏฺ นาติวสฺสติ มีความว่า เรือนที่ไม่เปิด คือมุงดี
แล้ว ย่อมไม่เปียกฝนก่อน. แต่เรือนกล่าวคืออนาบัตินี้ อันภิกษุเปิดแล้ว
ย่อมไม่เปียก.
จริงอยู่ ภิกษุเมื่อเปิดเผยอาบัติแรก แสดงอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี
เสีย ออกจากอาบัติที่เป็นวุฏฐานคามินีเสีย ย่อมประดิษฐานในส่วนหมดจด.
เมื่อสำรวมต่อไป ย่อมไม่ต้องอาบัติอื่น.
บาทคาถาว่า ตสฺมา ฉนฺนํ วิวเรถ มีความว่า เพราะเหตุนั้น
เมื่อแสดงอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี และออกจากอาบัติที่เป็นวุฏฐานคามินี ชื่อว่า
เปิดเผยอาบัติที่ปิดไว้.

บาทคาถาว่า เอวนฺตํ นาติวสฺสติ มีความว่า ก็เรือนกล่าวคืออาบัติ
นั่น อันภิกษุเปิดเผยแล้วอย่างนั้น ย่อมไม่เปียก.
บาทคาถาว่า คติ มิคานํ ปวนํ มีความว่า ป่าใหญ่ คือป่าที่
หนาแน่นด้วยต้นไม้เป็นต้น เป็นคติ คือเป็นที่พึ่งของมฤคทั้งหลายผู้อันพาล
มฤคมีเสือโคร่งเป็นอาทิให้ล้มในกลางแจ้ง. มฤคเหล่านั้น ถึงป่านั้นแล้ว ย่อม
โล่งใจ. โดยนัยนี้แล อากาศเป็นทางไปของเหล่าปักษี, ความเสื่อมเป็นคติ
ของธรรมทั้งหลาย คือว่า ความพินาศเป็นทางของสังขตอรรมแม้ทั้งปวง
เพราะอรรถว่าต้องถึงเข้าเป็นแน่.
จริงอยู่ สังขตธรรมเหล่านั้น จะไม่ถึงความพินาศ สามารถทนอยู่
หามิได้. ส่วนนิพพานดำรงอยู่แม้นาน เป็นคติของพระอรหันต์ อธิบายว่า
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นทางไปด้านเดียวของพระอรหันตขีณาสพ.
ปฐมคาถาสังคณิก วัณณนา จบ

อธิกรณเภท


ว่าด้วยอธิกรณ์ 4 อย่างเป็นต้น


[1,046] อธิกรณ์มี 4 อย่าง คือ วิวาทาธิกรณ์ 1 อนุวาทาธิกรณ์ 1
อาปัตตาธิกรณ์ 1 กิจจาธิกรณ์ 1 นี้อธิกรณ์ 4
ถามว่าการฟื้นอธิกรณ์ 4 นี้ มีเท่าไร
ตอบว่า การฟื้นอธิกรณ์ 4 นี้มี 10 คือ ฟื้นวิวาทาธิกรณ์มี 2 ฟื้น
อนุวาทากรณ์มี 4 ฟื้นอาปัตตาธิกรณ์มี 3 ฟื้นกิจจาธิกรณ์มี 1 การฟื้น
อธิกรณ์ 4 นี้รวมมี 10
ถ. เมื่อฟื้นวิวาทาธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะเท่าไร เมื่อฟื้นอนุวาทาธิกรณ์
ย่อมฟื้นสมถะเท่าไร เมื่อฟื้นอาปัตตาธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะเท่าไร เมื่อฟื้น
กิจจาธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะเท่าไร
ต. เมื่อฟื้นวิวาทาธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะ 2 อย่าง เมื่อฟื้นอนุวาทา-
ธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะ 4 อย่าง เมื่อฟื้นอาปัตตาธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะ 3 อย่าง
เมื่อฟื้นกิจจาธิกรณ์ ย่อมฟื้นสมถะอย่างเดียว.

ว่าด้วยฟื้นอธิกรณ์เป็นต้น


[1,047] ถามว่า การฟื้นมีเท่าไร ด้วยอาการเท่าไร จึงนับว่าฟื้น
บุคคลประกอบด้วยองค์เท่าไร ชื่อว่าฟื้นอธิกรณ์ บุคคลกี่พวก เมื่อฟื้นอธิกรณ์
ต้องอาบัติ