เมนู

การออกจากอาบัตินั้นใด ของภิกษุผู้ต้องอาบัตินี้แล้วใคร่จะออก สงฆ์
อันภิกษุนั้นพึงปรารถนา ในกรรมเบื้องต้นแห่งการออกจากอาบัตินั้น เพื่อ
ประโยชน์แก่การให้ปริวาส และในกรรมที่เหลือจากกรรมเบื้องต้น คือใน
ท่ามกลาง เพื่อประโยชน์แก่การให้มานัต หรือเพื่อประโยชน์แก่การให้มานัตต์
กับมูลายปฏิกัสสนะ และในที่สุดเพื่อประโยชน์แก่อัพภาน. ก็ในกรรมทั้งหลาย
มีปริวาสกรรมเป็นต้นนี้ กรรมแม้อย่างหนึ่ง เว้นสงฆ์เสีย อันใคร ๆ ไม่อาจ
ทำได้ ฉะนี้แล.
สงฆ์อันภิกษุพึงปรารถนาในกรรมเบื้องต้น และในกรรมที่เหลือแห่ง
กองอาบัตินั้น เหตุนั้น กองอาบัตินั้น ชื่อว่าสังฆาทิเสส.

[วิเคราะห์อนิยต]


เนื้อความแห่งคาถาที่ 3 พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า อนิยโต น นิยโต มีความว่า เพราะไม่แน่ กองอาบัตินี้
จึงได้ชื่อว่าอนิยต.
คำที่ว่า ไม่แน่ นี้มีอะไรเป็นเหตุ ? เพราะสิกขาบทนี้ ปรับอาบัติ
ไม่จำกัดส่วนอันเดียว. อธิบายว่า สิกขาบทนี้ ปรับอาบัติโดยส่วนอันเดียวไม่ได้.
สิกขาบทนี้ ปรับอาบัติโดยส่วนเดียวไม่ได้อย่างไร ? อย่างนี้
บรรดาฐานะ 3 ฐานะอันใดอันหนึ่ง อันพระวินัยธรพึงปรับ.
จริงอยู่ ท่านกล่าวไว้ในอนิยตสิกขาบทนั้นว่า ภิกษุนั้น อันพระวินัยธร
พึงปรับด้วยธรรม 3 อย่างใดอย่างหนึ่ง. เพราะเหตุนั้น กองอาบัตินั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า อนิยต คือ กล่าวว่า ไม่แน่.

เหมือนอย่างว่า บรรดาฐานะ 3 ฐานะอันใดอันหนึ่ง ท่านกล่าวใน
กองอาบัตินั้น กองอาบัติ ชื่อว่าอนิยต ฉันใด, บรรดาฐานะ 2 ฐานะอันใด
อันหนึ่ง ท่านกล่าวในกองอาบัติใด กองอาบัติแม้นั้น ก็ชื่อว่าอนิยตเหมือนกัน
ฉันนั้น.

[วิเคราะห์ถุลลัจจัย]


เนื้อความแห่งคาถาที่ 4 พึงทราบดังนี้:-
บาทคาถาว่า อจฺจโย เตน สโม นตฺถิ มีความว่า บรรดาโทษ
ที่เป็นเทสนาคามี โทษที่ล่ำ เสมอด้วยถุลลัจจัยนั้นไม่มี ด้วยเหตุนั้น ความ
ละเมิดนั้น ท่านจึงเรียกอย่างนั้น. อธิบายว่า ความละเมิดนั้น ท่านเรียกว่า
ถุลลัจจัย เพราะเป็นโทษล่ำ.

[วิเคราะห์นิสสัคคีย์]


เนื้อความแห่งคาถาที่ 5 พึงทราบดังนี้:-
หลายบทว่า นิสฺสชฺชิตฺวา ย เทเสติ เตเนตํ มีความว่า ความ
ละเมิดนั้น ท่านเรียกนิสสัคคิยะ เพราะต้องสละแล้วจึงแสดง.

[วิเคราะห์ปาจิตตีย์]


เนื้อความคาถาที่ 6 พึงทราบดังนี้:-
บาทคาถาว่า ปาเตติ กุสลํ ธมฺมํ มีความว่า ความละเมิดนั้น
ยังกุศลจิตกล่าวคือกุศลธรรม ของบุคคลผู้แกล้งต้องให้ตกไป เพราะเหตุนั้น