เมนู

[วิเคราะห์ปาราชิก]


พระอุบาลี ครั้นแก้ปัญหาทั้งปวงตามลำดับแห่งคำถามอย่างนี้แล้ว
บัดนี้ จะแสดงเพียงคำอธิบายเฉพาะอย่าง แห่งกองอาบัติที่ประมวลไว้ในคำว่า
อาปตฺติกฺขนฺธา จ ภวนฺติ สตฺต จึงกล่าวคำว่า ปาราชิกํ เป็นอาทิ.
บรรดาคาถาเหล่านั้น คาถาที่ 1 ว่า ปาราชิกํ เป็นต้น มีเนื้อความ
ดังต่อไปนี้:-
บรรดาบุคคลปาราชิก อาบัติปาราชิก และสิกขาบทปาราชิก ชื่ออาบัติ
ปาราชิกนี้ใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว, บุคคลผู้ต้องอาบัติปาราชิกนั้น
ย่อมเป็นผู้พ่าย คือ ถึงความแพ้ เป็นผู้เคลื่อน ผิด ตก อันความละเมิดทำ
ให้ห่างจากสัทธรรม. เมื่อบุคคลนั้นไม่ถูกขับออก (จากหมู่) ก็ไม่มีสังวาส
ต่างโดยอุโบสถและปวารณาเป็นต้นอีก. ด้วยเหตุนั้น ปาราชิกนั่น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น คือ เพราะเหตุนั้น อาบัติปาราชิกนั่น พระผู้มี
พระภาคเ จ้าจึงตรัสว่า ปาราชิก.
ก็ในบทว่า ปาราชิกํ นี้ มีความสังเขปดังนี้:-
บุคคลย่อมเป็นผู้พ่ายด้วยอาบัติปาราชิกนั้น เพราะเหตุนั้น อาบัติ
ปาราชิกนั่น ท่านจึงกล่าวว่า ปาราชิก.

[วิเคราะห์สังฆาทิเสส]


คำว่า สงฺโฆว เทติ ปริวาสํ เป็นอาทิ ท่านกล่าวแล้ว เพื่อแสดง
แต่เนื้อความเท่านั้น ไม่เอื้อเฟื้อพยัญชนะ แม้ในคาถาที่ 2.
ก็ในบทว่า สงฺฆาทิเสโส เป็นอาทินี้ มีเนื้อความดังต่อไปนี้:-