เมนู

บทว่า ตาลวตฺถุสมูปมา มีความว่า เปรียบสมด้วยการถอนต้นตาล
หมดทั้งต้น กระทำให้เป็นสักว่าวัตถุแห่งตาล. ต้นตาลที่บุคคลกระทำให้เป็น
สักว่าวัตถุ เป็นต้นไม้ที่กลับคืนเป็นปกติอีกไม่ได้ฉันใด บุคคลผู้พ่าย 8 พวก
นั้น ย่อมเป็นผู้กลับคืนอย่างเดิมอีกไม่ได้ฉันนั้น.
พระอุบาลีเถระ ครั้นแสดงอุปมาที่ทั่วไปอย่างนี้แล้ว จะแสดงอุปมา
ซึ่งกล่าวเฉพาะสำหรับผู้หนึ่ง ๆ อีก จึงกล่าวว่า เปรียบเหมือนใบไม้เหลือง
เป็นอาทิ.
บาทคาถาว่า อวิรูฬฺหิ ภวนิติ เต มีความว่า ใบไม้เหลืองเป็นอาทิ
เหล่านั่น เป็นของมีอันไม่งอกงาม โดยความเป็นของเขียวสดอีกเป็นต้น เป็น
ธรรมดาฉันใด, แม้บุคคลผู้พ่ายทั้งหลายก็ฉันนั้น ย่อมเป็นผู้ไม่งอกงามโดย
ความเป็นผู้มีศีลตามปกติอีกเป็นธรรมดา.
ในคำว่า ก็กองอาบัติเป็นต้น อันท่านจำแนก ย่อมระงับด้วยสมถะ
เหล่าใดนี้ คำอย่างนี้ว่า กองอาบัติเป็นต้น อันท่านจำแนก คือ ปาราชิก 8
เหล่านี้ก่อน ย่อมไม่ระงับด้วยสมถะเหล่าใด ๆ เป็นอันแสดงแล้ว ด้วยคำมี
ประมาณเท่านี้.

[กองอาบัติที่ระงับได้]


ส่วนคำว่า เตวีสํ สงฺฆาทิเสสา เป็นอาทิ ท่านกล่าวแล้ว เพื่อ
แสดงอาบัติเครื่องจำแนกเป็นต้นที่ระงับได้.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ตีหิ สมเถหิ นี้ เป็นคำกล่าวครอบ
สมถะทั้งหมด.

จริงอยู่ สังฆาทิเสส ย่อมระงับด้วยสมถะ 2 เท่านั้น, หาระงับด้วย
ติณวัตถารกสมถะไม่, ที่เหลือย่อมระงับด้วยสมถะทั้ง 3.
คำว่า เทฺว อุโปสถา เทฺว ปวารณา นี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจ
ภิกษุและภิกษุณี, จริงอยู่ คำนั่นท่านกล่าวแล้วด้วยอำนาจแสดงสักว่าส่วน
อันท่านจำแนกเท่านั้น หาได้กล่าวด้วยอำนาจการระงับด้วยสมถะทั้งหลายไม่.
จริงอยู่ ส่วนอันท่านจำแนก อธิบายว่า ส่วนที่ควรแจกออก 4 แม้
เหล่านี้ คือ ภิกขุอุโบสถ ภิกขุณีอุโบสถ ภิกขุปวารณา ภิกขุณีปวารณา.
สองบทว่า จตฺตาริ กมฺมานิ ได้แก่ อุโบสถกรรม มีที่เป็นวรรค
โดยอธรรมเป็นอาทิ.
หลายบทว่า ปญฺเจว อุทฺเทสา จตุโร ภวนฺติ อนญฺญถา มี
ความว่า อุทเทสของภิกษุมี 5 ของภิกษุณีมี 4 โดยประการอื่น ไม่มี.
พึงทราบส่วนจำแนกแม้อื่นอีกเหล่านี้ คือ กองอาบัติมี 7 อธิกรณ์
มี 4, ก็ส่วนจำแนกเหล่านี้ ย่อมระงับด้วยสมถะทั้งหลาย, เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวคำว่า สตฺตหิ สมเถหิ เป็นอาทิ.
อีกประการหนึ่ง อาบัติเหล่าใด อาศัยส่วนจำแนกแม้เหล่านี้แล คือ
อุโบสถ 2 ปวารณา 2 กรรม 4 อุทเทส 5 อุทเทส 4 มี, อุทเทสโดย
ประการอื่น ไม่มี, เกิดขึ้นโดยนัยเป็นต้นว่า นสฺสนฺเต เต วันสฺสนฺเต เต,
อาบัติเหล่านั้น ย่อมระงับด้วยสมถะทั้งหลาย มีประการดังกล่าวแล้วนั่นแล,
เพราะเหตุนั้น ส่วนจำแนกเหล่านั้น อันบัณฑิตพึงทราบว่า ท่านกล่าวแล้ว
เพื่อแสดงความระงับอาบัติทั้งหลายที่มีส่วนจำแนกนั้นเป็นมูลบ้าง.
สองบทว่า กิจฺจํ เอเกน มีความว่า กิจจาธิกรณ์ ย่อมระงับด้วย
สมถะเดียว.

[วิเคราะห์ปาราชิก]


พระอุบาลี ครั้นแก้ปัญหาทั้งปวงตามลำดับแห่งคำถามอย่างนี้แล้ว
บัดนี้ จะแสดงเพียงคำอธิบายเฉพาะอย่าง แห่งกองอาบัติที่ประมวลไว้ในคำว่า
อาปตฺติกฺขนฺธา จ ภวนฺติ สตฺต จึงกล่าวคำว่า ปาราชิกํ เป็นอาทิ.
บรรดาคาถาเหล่านั้น คาถาที่ 1 ว่า ปาราชิกํ เป็นต้น มีเนื้อความ
ดังต่อไปนี้:-
บรรดาบุคคลปาราชิก อาบัติปาราชิก และสิกขาบทปาราชิก ชื่ออาบัติ
ปาราชิกนี้ใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว, บุคคลผู้ต้องอาบัติปาราชิกนั้น
ย่อมเป็นผู้พ่าย คือ ถึงความแพ้ เป็นผู้เคลื่อน ผิด ตก อันความละเมิดทำ
ให้ห่างจากสัทธรรม. เมื่อบุคคลนั้นไม่ถูกขับออก (จากหมู่) ก็ไม่มีสังวาส
ต่างโดยอุโบสถและปวารณาเป็นต้นอีก. ด้วยเหตุนั้น ปาราชิกนั่น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น คือ เพราะเหตุนั้น อาบัติปาราชิกนั่น พระผู้มี
พระภาคเ จ้าจึงตรัสว่า ปาราชิก.
ก็ในบทว่า ปาราชิกํ นี้ มีความสังเขปดังนี้:-
บุคคลย่อมเป็นผู้พ่ายด้วยอาบัติปาราชิกนั้น เพราะเหตุนั้น อาบัติ
ปาราชิกนั่น ท่านจึงกล่าวว่า ปาราชิก.

[วิเคราะห์สังฆาทิเสส]


คำว่า สงฺโฆว เทติ ปริวาสํ เป็นอาทิ ท่านกล่าวแล้ว เพื่อแสดง
แต่เนื้อความเท่านั้น ไม่เอื้อเฟื้อพยัญชนะ แม้ในคาถาที่ 2.
ก็ในบทว่า สงฺฆาทิเสโส เป็นอาทินี้ มีเนื้อความดังต่อไปนี้:-