เมนู

บทว่า ปาฏิโมกฺขํ ได้แก่ ไม่รู้จักมาติกา 2 อย่าง.
บทว่า ปาฏิโมกฺขุทฺเทสํ ได้แก่ ไม่รู้จักปาฏิโมกขุทเทส 9 อย่าง
แม้ทั้งหมด.
บทว่า ปวารณํ ได้แก่ ไม่รู้จักปวารณา 9 อย่าง. ปวารณากรรม
คล้ายกับอุโบสถกรรมนั่นแล.

[วินิจฉัยในอปาสาทิกปัญจกะ]


วินิจฉัยในอปาสาทิกปัญจกะ พึงทราบดังนี้:-
อกุศลกรรม มีกายทุจริตเป็นต้น เรียกว่ากรรมไม่น่าเลื่อมใส.
กุศลกรรม มีกายสุจริตเป็นต้น เรียกว่ากรรมน่าเลื่อมใส.
บทว่า อติเวลํ มีความว่า คลุกคลีอยู่ในสกุลทั้งหลายเกินเวลา คือ
สิ้นกาลมากกว่า อยู่ในวิหารน้อย. การที่กิเลสทั้งหลายหยั่งลงในภายใน ชื่อว่า
ช่อง.
บทว่า สงฺกิลิฏฐํ ได้แก่ อาบัติต่างโดยชนิดในเพราะทุฏฐุลลวาจา
และอาบัติในเพราะกายสังสัคคะเป็นอาทิ.
วินิจฉัยในวิสุทธิปัญจกะ พึงทราบดังนี้:-
ปวารณาทั้ง 9 อย่าง พึงทราบโดยปวารณาศัพท์.
บทที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
พรรณนาหมวด 5 จบ

[พรรณนาหมวด 6]


วินิจฉัยในหมวด 6 พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า ฉ สามีจิโย ได้แก่ สามีจิกรรม 6 เฉพาะในภิกขุ-

ปาฏิโมกข์เหล่านี้ คือ ภิกษุนั้นก็เป็นอันมิได้อัพภาน, และภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น
ก็เป็นอันพระพุทธเจ้าจะพึงทรงติเตียน นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น, ว่า ท่าน
จงทวงเอาทรัพย์ของท่านคืน, ทรัพย์ของท่านอย่าได้ฉิบหายเสียเลย ดังนี้ นี้เป็น
สามีจิกรรมในเรื่องนั้น, ว่า ภิกษุ นี้บาตรของท่าน พึงทรงไว้ กว่าจะแตก
ดังนี้ นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น, นำออกจากที่นั้นแล้วพึงแบ่งปันกับภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น, อันภิกษุผู้ศึกษาอยู่ ควรรู้ถึง, ควร
สอบถาม, ควรตริตรอง, นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น, ด้วยหมายว่า ของผู้ใด
ผู้นั้นจักได้เอาไป นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น.
สองบทว่า ฉ เฉทนกา ได้แก่ อาบัติ 5 ที่กล่าวไว้ในหมวด 5
กับผ้าสำหรับอาบน้ำของภิกษุณีรวมเป็น 6.
บทว่า ฉหากาเรหิ ได้แก่ ความเป็นผู้ไม่ละอาย, ความไม่รู้,
ความเป็นผู้สงสัยแล้วขืนทำ, ความเป็นผู้มีความสำคัญว่าควร ในของที่ไม่ควร,
ความเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ควร ในของที่ควร ความลืมสติ.
ในอาการ 6 นั้น เมื่อต้องอาบัติ เพราะไตรจีวรและสัตตาหกาลิก
ก้าวล่วง 1 ราตรี 6 ราตรี และ 7 วันเป็นต้น ชื่อว่าต้องเพราะความลืมสติ.
ที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้น.
หลายบทว่า ฉ อานิสํสา วินยธเร ได้แก่ อานิสงส์ 5 ที่กล่าว
แล้วในหมวด 5 รวมเป็น 6 กับทั้งอานิสงส์นี้ คือ อุโบสถเป็นหน้าที่ของ
พระวินัยธรนั้น.
สองบทว่า ฉ ปรมานิ มีความว่า พึงทรงอติเรกจีวรไว้ 10 วัน
เป็นอย่างยิ่ง, ภิกษุนั้นพึงเก็บจีวรนั้นไว้ 1 เดือนเป็นอย่างยิ่ง, ภิกษุนั้น พึง
ยินดีจีวรมีอุตราสงค์กับอันตรวาสกเป็นอย่างยิ่งจากจีวรเหล่านั้น, พึงเข้าไป

ยืนนิ่งต่อหน้า 6 ครั้งเป็นอย่างยิ่ง อนึ่ง ภิกษุให้ทำสันถัตใหม่แล้ว พึงทรงไว้
ให้ได้ 6 ปี เพราะฉะนั้น สันถัตใหม่อันภิกษุพึงทรงไว้โดยกาลมี 6 ปีเป็น
อย่างยิ่ง, (ขนเจียมเหล่านั้น) อันภิกษุ. . .พึงถือไปด้วยมือของตนเอง ตลอด
ระยะทาง 3 โยชน์เป็นอย่างยิ่ง, พึงทรงอติเรกบาตรไว้ได้ 10 วันเป็นอย่างยิ่ง,
พึงเก็บ (เภสัชเหล่านั้น) ไว้ฉันได้ 7 วันเป็นอย่างยิ่ง, ภิกษุนั้น พึงอยู่
ปราศจากจีวรนั้นได้ 6 คืนเป็นอย่างยิ่ง, ภิกษุณี พึงจ่ายผ้าห่มหนาวมีราคา
16 กหาปณะเป็นอย่างยิ่ง. ภิกษุณี พึงจ่ายผ้าห่มฤดูร้อน มีราคา 10 กหาปณะ
เป็นอย่างยิ่ง ภิกษุณี (เมื่อทำความสะอาดด้วยน้ำ) พึงล้วงได้ 2 องคุลีเป็น
อย่างยิ่ง, เขียงเท้าเตียง ให้มี 8 นิ้วเป็นอย่างยิ่ง, ไม้ชำระฟัน ให้มี 8 นิ้ว
เป็นอย่างยิ่ง รวมเป็นอย่างยิ่ง 14 นี้ ด้วยประการฉะนี้.
ในอย่างยิ่ง 14 นั้น 6 ข้อแรก เป็นหมวด 6 อันหนึ่ง, ต่อไปนั้น
พึงจัดหมวด 6 เหล่าอื่นบ้าง โดยนัยมีอาทิ คือ ชักออกเสียหมวดหนึ่ง ที่ยัง
เหลือจัดเข้าเป็นหมวดอันหนึ่ง ๆ.
สองบทว่า ฉ อาปตฺติโย ได้แก่ หมวดหก 3 หมวดที่กล่าวแล้ว
ในอันตรเปยยาล.
สองบทว่า ฉ กมฺมานิ ได้แก่ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาช-
นียกรรม ปฏิสารณียกรรม รวมเป็น 4 ทั้งกรรม 2 ที่กล่าว เพราะไม่เห็น
อาบัติ และเพราะไม่ทำคืนอาบัติ รวมเป็น 1, กรรม 1 เพราะไม่ยอมสละ
ทิฏฐิลามก.
บทว่า ฉ นหาเน ได้แก่ (อนุบัญญัติ 6) เพราะอาบน้ำ ยังหย่อน
กึ่งเดือน.

หมวดหก 2 หมวดว่าด้วยจีวรที่ทำค้างเป็นต้น ได้อธิบายไว้แล้วใน
กฐินขันธกะ.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
พรรณนาหมวด 6 จบ

[พรรณนาหมวด 7]


วินิจฉัยในหมวด 7 พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า สตฺต สามีจิโย มีความว่า พึงทราบสามีจิกรรม 7
เพราะเพิ่มข้อว่า ภิกษุณีนั้น ก็เป็นอันมิได้อัพภาน ภิกษุณีทั้งหลายเหล่านั้น
ก็เป็นอันพระพุทธเจ้าจะพึงทรงติเตียน นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น นี้เข้า
ในสามีจิกรรม 6 ที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง.
หลายบทว่า สตฺต อธมฺมิกา ปฏิญฺญาตกรณา ได้แก่ ทำตาม
ปฏิญญาที่ไม่เป็นธรรม 7 ที่ทรงแสดงแล้วในสมถขันธกะ อย่างนี้ว่า ภิกษุ
ต้องปาราชิก อันภิกษุผู้ต้องปาราชิก โจทอยู่ จึงปฏิญญาว่า ข้าพเจ้าต้อง
สังฆาทิเสส สงฆ์ปรับเธอด้วยสังฆาทิเสส, ชื่อว่าทำตามปฏิญญาไม่เป็นธรรม.
แม้ทำตามปฏิญญาที่เป็นธรรม ก็ได้ทรงแสดงแล้วในสมถขันธกะนั้นแล.
หลายบทว่า สตฺตนฺนํ อนาปตฺติ สตฺตาหกรณีเยน คนฺตุํ นี้
ได้กล่าวแล้วในวัสสูปนายิกขันธกะ.
สองบทว่า สตฺตานิสํสา วินยธเร มีความว่า อานิสงส์ 5 ที่กล่าว
แล้วในหมวด 5 กับ 2 อานิสงส์นี้ คือ อุโบสถ ปวารณาเป็นหน้าที่ของ
พระวินัยธรนั้น จึงรวมเป็น 7.