เมนู

บทว่า ปาฏิโมกฺขํ ได้แก่ ไม่รู้จักมาติกา 2 อย่าง.
บทว่า ปาฏิโมกฺขุทฺเทสํ ได้แก่ ไม่รู้จักปาฏิโมกขุทเทส 9 อย่าง
แม้ทั้งหมด.
บทว่า ปวารณํ ได้แก่ ไม่รู้จักปวารณา 9 อย่าง. ปวารณากรรม
คล้ายกับอุโบสถกรรมนั่นแล.

[วินิจฉัยในอปาสาทิกปัญจกะ]


วินิจฉัยในอปาสาทิกปัญจกะ พึงทราบดังนี้:-
อกุศลกรรม มีกายทุจริตเป็นต้น เรียกว่ากรรมไม่น่าเลื่อมใส.
กุศลกรรม มีกายสุจริตเป็นต้น เรียกว่ากรรมน่าเลื่อมใส.
บทว่า อติเวลํ มีความว่า คลุกคลีอยู่ในสกุลทั้งหลายเกินเวลา คือ
สิ้นกาลมากกว่า อยู่ในวิหารน้อย. การที่กิเลสทั้งหลายหยั่งลงในภายใน ชื่อว่า
ช่อง.
บทว่า สงฺกิลิฏฐํ ได้แก่ อาบัติต่างโดยชนิดในเพราะทุฏฐุลลวาจา
และอาบัติในเพราะกายสังสัคคะเป็นอาทิ.
วินิจฉัยในวิสุทธิปัญจกะ พึงทราบดังนี้:-
ปวารณาทั้ง 9 อย่าง พึงทราบโดยปวารณาศัพท์.
บทที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
พรรณนาหมวด 5 จบ

[พรรณนาหมวด 6]


วินิจฉัยในหมวด 6 พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า ฉ สามีจิโย ได้แก่ สามีจิกรรม 6 เฉพาะในภิกขุ-