เมนู

[ว่าด้วยองค์ของพระวินัยธร]


หลายบทว่า อตตโน ภาสปริยนฺตํ น อุคฺคณฺหาติ มีความว่า
ไม่กำหนดที่สุดแห่งถ้อยคำของตน อย่างนี้ว่า ในคดีนี้ ได้สูตรเท่านี้ ได้
วินิจฉัยเท่านี้ เราจักกล่าวสูตรและวินิฉัยเท่านี้.
แต่เมื่อไม่กำหนดอย่างนี้ว่า นี้เป็นคำต้น นี้เป็นคำหลังของโจทก์ นี้
เป็นคำต้น นี้เป็นคำหลังของจำเลย ในคำของโจทก์และจำเลยนี้ คำที่ควรเชื่อ
ถือเท่านี้ คำที่ไม่ควรเชื่อถือเท่านี้ ชื่อว่า ไม่กำหนดที่สุดแห่งถ้อยคำของผู้อื่น.
สองบทว่า อาปตฺตึ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักความทำต่างกัน
แห่งอาบัติ 7 กองว่า ปาราชิกหรือสังฆาทิเสส เป็นต้น.
บทว่า มูลํ มีความว่า มูลของอาบัติมี 2 คือ กายและวาจา ไม่รู้
จักมูล 2 นั้น.
บทว่า สมุทยํ มีความว่า สมุฏฐานแห่งอาบัติ 6 ชื่อว่าเหตุเกิดของ
อาบัติ ไม่รู้จักเหตุของอาบัติ 6 นั้น. มีคำอธิบายว่า ไม่รู้จักวัตถุ ของอาบัติ
มีปาราชิกเป็นต้น บ้าง.
บทว่า นโรธํ มีความว่า ไม่รู้จักเหตุดับของอาบัติอย่างนี้ว่า อาบัติ
นี้ย่อมดับ คือ ย่อมระงับด้วยการแสดง อาบัตินี้ ด้วยการอยู่กรรม.
อนึ่ง เมื่อไม่รู้จักสมถะ 7 ชื่อว่าไม่รู้จักข้อปฏิบัติเป็นทางให้ถึงความ
ดับแห่งอาบัติ.
วินิจฉัยในหมวด 5 แห่งอธิกรณ์ พึงทราบดังนี้:-
ความว่า ไม่รู้วิภาคนี้ คือ อธิกรณ์ 4 ชื่อว่า อธิกรณ์. มูล 33 ชื่อว่า
มูลแห่งอธิกรณ์. วิวาทาธิกรณ์ มีมูล 12. อนุวาทาธิกรณ์ มีมูล 14.
อาปัตตาธิกรณ์ มีมูล 6. กิจจาธิกรณ์ มีมูล 1. มูลเหล่านั้นจักมีแจ้งข้างหน้า.

สมุฏฐานแห่งอธิกรณ์ ชื่อว่าเหตุเกิดแห่งอธิกรณ์. วิวาทาธิกรณ์
อาศัยเภทกรวัตถุ 18 เกิดขึ้น อนุวาทาธิกรณ์ อาศัยวิบัติ 4 เกิดขึ้น อาปัต-
ตาธิกรณ์ อาศัยกองอาบัติ 7 เกิดขึ้น กิจจาธิกรณ์ อาศัยสังฆกิจ 4 อย่าง
เกิดขึ้น.
สองบทว่า อธิกรณนิโรธํ น ชานาติ มีความว่า ไม่อาจเพื่อจะ
หยั่งถึงเค้าเงื่อนจากเค้าเงื่อน ให้วินิจฉัยถึงความระงับโดยธรรม โดยวินัย โดย
สัตถุศาสนา.
อนึ่ง เมื่อไม่รู้จักสมถะ 7 อย่างนี้ว่า อธิกรณ์นี้ ระงับด้วยสมถะ 2
อธิกรณ์นี้ ระงับด้วยสมถะ 4 อธิกรณ์นี้ ระงับด้วยสมถะ 3 อธิกรณ์นี้
ระงับด้วยสมถะ 1 ชื่อว่าไม่รู้จักข้อปฏิบัติเป็นทางให้ถึงความดับแห่งอธิกรณ์.
สองบทว่า วตฺถุํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักวัตถุแห่งอาบัติ 7
กองอย่างนี้ว่า นี้เป็นวัตถุแห่งปาราชิก นี้เป็นวัตถุแห่งสังฆาทิเสส.
บทว่า นิทานํ ได้แก่ ไม่รู้ว่า สิกขาบทนี้ ทรงบัญญัติแล้วในนคร
นี้ บรรดานครทั้งหลาย 7 สิกขาบทนี้ ทรงบัญญัติในนครนี้.
สองบทว่า ปญฺญตฺตึ น ชานาติ ได้แก่ ผู้ไม่รู้จักบัญญัติแรกใน
สิกขาบทนั้น ๆ.
บทว่า อนุปญฺญตฺตึ ได้แก่ ไม่รู้จักบัญญัติเพิ่มเติม.
บทว่า อนุสนฺธิวจนปถํ ได้แก่ ไม่รู้จักเพื่อจะกล่าวด้วยอำนาจความ
สืบเนื่องกันแห่งถ้อยคำ และความสืบเนื่องกันแห่งวินิจฉัย.
สองบทว่า ญตฺตึ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักญัตติทุก ๆ อย่าง.
หลายบทว่า ญตฺติยา กรณํ น ชานาติ มีความว่า ไม่รู้จักกิจ
ที่จะพึงทำด้วยญัตติ. ชื่อว่าญัตติกรรม ย่อมใช้ใน 9 สถาน มีโอสารณาเป็นต้น.

ไม่รู้ว่า เป็นผู้เข้ากรรมแล้วด้วยญัตติ ในญัตติทุติยกรรมและญัตติจตุตถกรรม.
หลายบทว่า น ปุพฺพกุสโล โหติ น อปรกุสโล มีความว่า
ไม่รู้จักคำที่จะพึงสวดก่อน และคำที่จะพึงสวดทีหลังบ้าง ไม่รู้ว่า ธรรมดาญัตติ
ต้องตั้งก่อน ไม่ควรตั้งทีหลัง บ้าง.
สองบทว่า อกาลกญฺญู จ โหติ มีความว่า ไม่รู้จักเวลา คือ ไม่ได้
รับเผดียง ไม่ได้รับเชิญ ก็สวด คือ ไม่รู้จักทั้งกาลญัตติ ทั้งเขตญัตติ ทั้ง
โอกาสแห่งญัตติ.

[ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ป่า]


สองบทว่า มนฺทตฺตา โมมูหตฺตา ได้แก่ ไม่รู้จักอานิสงส์ในธุดงค์
เพราะเป็นคนงมงายด้วยไม่รู้ทั่วทุก ๆ อย่าง.
บทว่า ปาปิจฺโฉ ได้แก่ ปรารถนาปัจจัยลาภ ด้วยการอยู่ป่านั้น.
บทว่า ปวิเวกํ ได้แก่ กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก.
บทว่า อิทมฏฺฐิตํ มีวิเคราะห์ว่า ประโยชน์แห่งการอยู่ป่านั้น ย่อม
มีด้วยปฏิบัติงามนี้ เพราะเหตุนั้น การอยู่ป่านั้น ชื่อว่า อิทมฏฺฐิ (มีประโยชน์
ด้วยการปฏิบัติงามนี้). ความเป็นแห่งการอยู่ป่ามีประโยชน์ด้วยการปฏิบัติงามนี้
ชื่อว่า อิทมฏฺฐิตา, อาศัยการอยู่ป่ามีประโยชน์ด้วยการปฏิบัติงามนี้นั่นแล,
อธิบายว่า ไม่อิงโลกามิสน้อยหนึ่งอื่น.

[ว่าด้วยองค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัย]


สองบทว่า อุโปสถํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักอุโบสถ 9 อย่าง.
บทว่า อุโปสถกมฺมํ ได้แก่ ไม่รู้จักอุโบสถกรรม 4 อย่าง ต่าง
โดยชนิดมีเป็นวรรคโดยอธรรมเป็นต้น.