เมนู

[ว่าด้วยองค์ของพระวินัยธร]


หลายบทว่า อตตโน ภาสปริยนฺตํ น อุคฺคณฺหาติ มีความว่า
ไม่กำหนดที่สุดแห่งถ้อยคำของตน อย่างนี้ว่า ในคดีนี้ ได้สูตรเท่านี้ ได้
วินิจฉัยเท่านี้ เราจักกล่าวสูตรและวินิฉัยเท่านี้.
แต่เมื่อไม่กำหนดอย่างนี้ว่า นี้เป็นคำต้น นี้เป็นคำหลังของโจทก์ นี้
เป็นคำต้น นี้เป็นคำหลังของจำเลย ในคำของโจทก์และจำเลยนี้ คำที่ควรเชื่อ
ถือเท่านี้ คำที่ไม่ควรเชื่อถือเท่านี้ ชื่อว่า ไม่กำหนดที่สุดแห่งถ้อยคำของผู้อื่น.
สองบทว่า อาปตฺตึ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักความทำต่างกัน
แห่งอาบัติ 7 กองว่า ปาราชิกหรือสังฆาทิเสส เป็นต้น.
บทว่า มูลํ มีความว่า มูลของอาบัติมี 2 คือ กายและวาจา ไม่รู้
จักมูล 2 นั้น.
บทว่า สมุทยํ มีความว่า สมุฏฐานแห่งอาบัติ 6 ชื่อว่าเหตุเกิดของ
อาบัติ ไม่รู้จักเหตุของอาบัติ 6 นั้น. มีคำอธิบายว่า ไม่รู้จักวัตถุ ของอาบัติ
มีปาราชิกเป็นต้น บ้าง.
บทว่า นโรธํ มีความว่า ไม่รู้จักเหตุดับของอาบัติอย่างนี้ว่า อาบัติ
นี้ย่อมดับ คือ ย่อมระงับด้วยการแสดง อาบัตินี้ ด้วยการอยู่กรรม.
อนึ่ง เมื่อไม่รู้จักสมถะ 7 ชื่อว่าไม่รู้จักข้อปฏิบัติเป็นทางให้ถึงความ
ดับแห่งอาบัติ.
วินิจฉัยในหมวด 5 แห่งอธิกรณ์ พึงทราบดังนี้:-
ความว่า ไม่รู้วิภาคนี้ คือ อธิกรณ์ 4 ชื่อว่า อธิกรณ์. มูล 33 ชื่อว่า
มูลแห่งอธิกรณ์. วิวาทาธิกรณ์ มีมูล 12. อนุวาทาธิกรณ์ มีมูล 14.
อาปัตตาธิกรณ์ มีมูล 6. กิจจาธิกรณ์ มีมูล 1. มูลเหล่านั้นจักมีแจ้งข้างหน้า.