เมนู

บทว่า จิตตกมฺมทานํ มีความว่า การที่ให้สร้างอาวาสแล้วทำ
จิตรกรรมในอาวาสนั้น สมควร. แต่คำว่า จิตฺตกมฺมทานํ นี้ท่านกล่าวหมาย
เอาการให้จิตรกรรมที่เป็นลายรูปภาพ.
จริงอยู่ ทาน 5 อย่างนี้ โลกสมมติกันว่าเป็นบุญก็จริง แต่ที่แท้ หา
เป็นบุญไม่ คือเป็นอกุศลนั่นเอง.
ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะพูด เรียกว่า ปฏิภาณ ในคำว่า อุปฺปนฺนํ
ปฏิภาณํ
นี้. ความว่า ธรรม 5 อย่างนี้ อันบุคคลบรรเทาได้ยาก เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า บรรเทาได้ไม่ง่าย. แต่บุคคลอาจ บรรเทาได้ด้วยเหตุที่เป็น
อุบาย คือด้วยการพิจารณาและพร่ำสอนเป็นต้น ที่เหมาะกัน.

[อานิสงส์แห่งการกวาด]


ใน 2 บทว่า สกจิตฺตํ ปสีทติ นี้ มีเรื่องเหล่านี้เป็นอุทาหรณ์.
ได้ยินว่า พระปุสสเทวเถระ ผู้อยู่ที่กาฬันทกาฬวิหาร กวาดลานเจดีย์
ทำอุตรางสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แลดูลานเจดีย์ซึ่งเกลี่ยทรายไว้เรียบร้อย ราว
กะลาดด้วยดอกย่างทราย ให้เกิดปีติและปราโมทย์มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
ได้ยืนอยู่แล้ว. ในขณะนั้น มารได้จำแลงเป็นลิงดำเกิดแล้วที่เชิงเขา เรี่ย
รายโคมัยไว้เกลื่อน ที่ลานเจดีย์ ไปแล้ว. พระเถระไม่ได้อาจเพื่อบรรลุ
พระอรหัต, กวาดแล้ว ได้ไปเสีย. แม้ในวันที่ 2 มาร ได้จำแลงเป็นโค
แก่ กระทำประการแปลกเช่นนั้นนั่นแล. ในวันที่ 3 ได้นิรมิตอัตภาพเป็น
มนุษย์ มีเท้าแก เดินเอาเท้าคุ้ยรอบไป. พระเถระคิดว่า บุรุษแปลกเช่นนี้
ไม่มีในโคจรตามประมาณโยชน์หนึ่งโดยรอบ นี่คงเป็นมารแน่ละ จึงกล่าว
ว่า เจ้าเป็นมารหรือ ? มารตอบว่า ถูกละผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นมาร บัดนี้
ไม่ได้อาจเพื่อจะลวงท่านละ. พระเถระถามว่า ท่านเคยเห็นพระตถาคต