เมนู

สองบทว่า จตฺตาริ อนญฺญปาจิตฺติยานิ มีความว่า ปาจิตตีย์ 4
สิกขาบทนี้คือ สิกขาบทว่าด้วยสำเร็จการนอนเบียด, สิกขาบทที่ว่า เอหาวุโส
คามํ วา นิคมํ วา
เป็นอาทิ, สิกขาบทว่าด้วยแกล้งก่อความรำคาญ,
สิกขาบทว่าด้วยแอบฟัง ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า ทำความหมาย
อย่างนี้เท่านั้นให้เป็นปัจจัยหาใช่อย่างอื่นไม่ เป็นปาจิตตีย์.
สองบทว่า จตสฺโส ภิกฺขุสมฺมติโย มีความว่า สมมติในที่อื่น
พ้นจากสมมติ 13 ที่มาแล้วอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้สิ้นราตรี
1 เว้น เสียแต่ภิกษุได้สมมติ, ถ้าภิกษุ. . .พึงไห้ทำสันถัตอื่นใหม่ เว้นแต่ภิกษุ
ได้สมมติ, ถ้าเธออยู่ปราศจากยิ่งกว่านั้น เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ, พึงบอก
อาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ.

[วินิจฉัยในคิลานจตุกกะ]


วินิจฉัยในคิลานจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-
เมื่อออกปากขอเภสัชอื่น ด้วยความเป็นผู้ละโมบ ในเมื่อมีกิจที่จะ
ต้องทำด้วยเภสัชอื่น ภิกษุผู้อาพาธต้อง (อาบัติ).
เมื่อออกปากขอเภสัช ในเมื่อมีกิจที่จะต้องทำด้วยของมิใช่เภสัช ภิกษุ
ไม่อาพาธต้อง.
ภิกษุผู้อาพาธและไม่อาพาธทั้ง 2 ย่อมต้องอาบัติเพราะมุสาวาท
เป็นต้น. ทั้ง 2 ไม่ต้องอาบัติที่ไม่ทั่วไป (แก่ตน).
บทที่เหลือในที่ทั้งปวงตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
พรรณนาหมวด 4 จบ

[พรรณนาหมวด 5 ]


วินิจฉัยในหมวด 5 พึงทราบดังนี้:-
ข้อว่า ปญฺจ ปุคฺคลา นิยตา นี้ บ่งถึงบุคคลผู้ทำอนันตริยกรรม
นั่นเอง.
ขึ้นชื่อว่าอาบัติ มีการตัดเป็นวินัยกรรม 5 พึงทราบในเพราะเตียงตั่ง
และผ้าปูนั่ง ผ้าปิดฝี ผ้าอาบน้ำฝนและสุคตจีวร ซึ่งเกินประมาณ.
บทว่า ปญฺจหากาเรหิ มีความว่า ภิกษุย่อมต้องอาบัติ ด้วยอาการ
5 เหล่านี้ คือ ความเป็นผู้ไม่ละอาย ความไม่รู้ ความเป็นผู้สงสัยแล้วขืนทำ
ความเป็นผู้มีความสำคัญว่าควรในของที่ ไม่ควร ความเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่
ควรในของที่ควร.
ข้อว่า ปญฺจาปตฺติโย มุสาวาทฺปจฺจยา ได้แก่ ปาราชิก ถุลลัจจัย
ทุกกฏ สังฆาทิเสส และปาจิตตีย์.
บทว่า อนามนฺตจาโร ได้แก่ ความไม่มีแห่งการต้องบอกลาจึง
เทียวไปนี้ว่า ภิกษุไม่บอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่ ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในสกุลทั้งหลาย
ก่อนฉันก็ดี ทีหลังฉันก็ดี.
บทว่า อนธิฏฺฐานํ มีความว่า การฉันต้องคำนึงถึงสมัยที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ เพราะฉันเป็นหมู่ ชื่อว่า
ความคำนึง. การที่ไม่ต้องทำอย่างนั้น ชื่อว่าความไม่ต้องคำนึง.
ความหมายอันใด ในโภชนะทีหลัง อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว,
การที่ไม่ต้องทำความหมายอันนั้น ชื่อว่าความไม่ต้องหมาย.
จริงอยู่ 5 วัตถุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้วด้วยธุดงค์ของภิกษุ
ผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรนั่นเอง.