เมนู

เมื่อวางเสนาสนะมีเตียงของสงฆ์เป็นต้น ไว้กลางแจ้งแล้วหลีกไปเสีย
ชื่อว่าต้องในภายนอก ไม่ท้องในภายใน. ที่เหลือชื่อว่าต้องทั้งภายในและ
ภายนอก. อาบัติที่ไม่ทั่วไป (แก่ตน) ชื่อว่าไม่ต้องทั้งภายในทั้งภายนอก.
วินิจฉัยในอันโตสีมาทิจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุอาคันตุกะ เมื่อไม่ยังวัตรให้เต็ม ชื่อว่าต้องในภายในสีมา.
ภิกษุผู้เตรียมจะไป เมื่อไม่ยังวัตรให้เต็ม ชื่อว่าต้องในภายนอกสีมา.
ภิกษุย่อมต้องอาบัติเพราะมุสาวาทเป็นต้น ทั้งภายในสีมาและภายนอก
สีมา. ย่อมไม่ต้องอาบัติที่ไม่ทั่วไป (แก่ตน) ในที่ไหน ๆ.
วินิจฉัยในคามจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุย่อมต้องอาบัติที่ทรงตั้งไว้ควรศึกษา อันเนื่องเฉพาะด้วยละแวก
บ้าน ในบ้าน, ไม่ต้องในป่า.
ภิกษุณีเมื่อให้อรุณขึ้น ย่อมต้องในป่า, ไม่ต้องในบ้าน.
ภิกษุย่อมต้องอาบัติเพราะมุสาวาทเป็นต้น ทั้งในบ้านและในป่า ย่อม
ไม่ต้องอาบัติที่ไม่ทั่วไป (แก่ตน) ในที่ไหน ๆ.

[วินิจฉัยในปุพพกิจจาทิจตุกกะ]


สองบทว่า จตฺตาโร ปุพฺพกิจฺจา ความว่า พระอรรถกถาจารย์
กล่าวว่า กรรม 4 อย่างนี้คือ การปัดกวาด ตามประทีป ตั้งน้ำฉันน้ำใช้
พร้อมทั้งปูลาดอาสนะ เรียกว่า ปุพพกรณ์. ส่วนกิจ 4 อย่างนี้ คือ นำฉันทะ
ปาริสุทธิ บอกฤดู นับภิกษุและสอนภิกษุณี พึงทราบว่า ปุพพกิจ.
สองบทว่า จตฺตาโร ปตฺตกลฺลา มีความว่า วันอุโบสถ 1 ภิกษุ
ผู้เข้ากรรมมีจำนวนเท่าไร เธอเป็นผู้มาแล้ว 1 สภาคาบัติไม่มี 1 บุคคลควร
เว้นไม่มีในหัตถบาสสงฆ์นั้น 1 รวมเรียกว่าปัตตกัลละ ฉะนี้แล.