เมนู

ในสถานที่ไม่ทรงห้าม ภิกษุที่เป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้ควรอภิวาทและควร
ลุกรับของภิกษุใหม่. ฝ่ายภิกษุใหม่ เป็นผู้ไม่ควรอภิวาท ไม่ควรลุกรับ ของ
ภิกษุผู้ใหญ่.
บทที่ 1 แห่งอาสนารหจตุกกะ กับบทที่ 2 ในจตุกกะก่อน และบท
ที่ 2 แห่งอาสนารหจตุกกะ กับบทที่ 1 ในจตุกกะก่อน เหมือนกันโดยใจความ.

[วินิจฉัยในกาลจตุกกะเป็นอาทิ]


วินิจฉัยในกาลจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุเมื่อห้าม (โภชนะ) แล้วฉัน ชื่อว่าต้องในกาล ไม่ต้องในวิกาล.
เมื่อต้องอาบัติเพราะวิกาลโภชน์ ชื่อว่าต้องในวิกาล ไม่ต้องในกาล.
เมื่อต้องอาบัติที่เหลือ ชื่อว่าต้องทั้งในกาลและในวิกาล. เมื่อไม่ต้อง
อาบัติที่ไม่ทั่วไป (แก่ตน) ชื่อว่าไม่ต้องทั้งในกาลทั้งในวิกาล.
วินิจฉัยในปฏิคคหิตจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-
อามิสที่รับประเคนก่อนภัตกาล ควรในกาล ไม่ควรในวิกาล.
น้ำปานะ ควรในวิกาล ไม่ควรในกาลในวันรุ่งขึ้น.
สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ควรทั้งในกาลและในวิกาล.
กาลิก 3 มียาวกาลิกเป็นต้น ที่ล่วงกาลของตน ๆ และอกัปปิยมังสะ
เป็นอุคคหิตก์และอาหารที่รับประเคน (ค้าง) ไว้ ไม่ควรทั้งในกาลและในวิกาล.
วินิจฉัยในปัจจันติมจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-
เมื่อผูกสีมาในทะเล ชื่อว่าต้องในปัจจันติมชนบท ไม่ต้องในมัชฌิม
ชนบท.