เมนู

ก็วินิจฉัยในจตุกกะที่ 2 พึงทราบดังนี้:-
เพศของภิกษุณีใด ย่อมเปลี่ยนไป, ภิกษุณีนั้น ย่อมละเพศสตรีที่
นับว่าเกิดภายหลัง เพราะเกิดขึ้นภายหลังบ้าง เพราะความเป็นเพศทรามบ้าง
ตั้งอยู่ในเพศบุรุษ ที่นับว่าเกิดก่อน โดยประการดังกล่าวแล้ว. วิญญัตติซึ่ง
แผกจากที่กล่าวแล้ว ย่อมระงับไป. บัญญัติที่เป็นไปอย่างนี้ว่า ภิกษุณี ก็ดี
สตรี ก็ดี ย่อมดับไป. สิกขาบท 130 เหล่าใด อันไม่ทั่วไปด้วยภิกษุทั้งหลาย,
ไม่เป็นอาบัติ เพราะสิกขาบทเหล่านั้นเลย.
สองบทว่า จตฺตาโร สามุกฺกํสา ได้แก่ มหาปเทส 4. จริงอยู่
มหาปเทส 4 นั้น ท่านกล่าวว่า สามุกฺกํสา เพราะเป็นข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรื้อขึ้น คือยกขึ้นตั้งไว้เอง ในเมื่อยังไม่เกิดเรื่องขึ้น.
บทว่า ปริโภคา ได้แก่ กลืนของที่ควรกลืน.
ส่วนน้ำ เพราะไม่เป็นกาลิก ไม่ได้รับประเคน ก็ควร.
ยาวกาลิกเป็นต้น ที่ไม่ได้รับประเคน ไม่ควรกลืน.
ยามหาวิกัฏ 4 อย่าง เพราะเป็นของเฉพาะกาล ควรกลืนในกาลที่
ตรัสไว้อย่างไร.
สองบทว่า อุปาสโก สีลวา ได้แก่ ผู้ครองศีล 5 หรือศีล 10.

[วินิจฉัยในอาคันตุกาทิจตุกกะ]


วินิจฉัยในอาคันตุกาทิจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-
ภิกษุผู้กางร่มสวมรองเท้า คลุมศีรษะเข้าสู่วิหารและเที่ยวไปในวิหาร
นั้น เฉพาะเป็นอาคันตุกะจึงต้อง เป็นเจ้าถิ่นไม่ต้อง.

ฝ่ายภิกษุผู้ไม่ทำอาวาสิกวัตร เป็นเจ้าถิ่น จึงต้อง เป็นอาคันตุกะ
ไม่ต้อง ทั้ง 2 พวก ย่อมต้องอาบัติที่เป็นทางกายทวารและวจีทวารที่เหลือ.
ทั้งอาคันตุกะ ทั้งเจ้าถิ่น ย่อมไม่ต้องอาบัติที่ไม่ทั่วไป (แก่ตน).
วินิจฉัยแม้ในคมิยจตุกกะ. พึงทราบดังนี้:
ภิกษุผู้ไม่ยังคมิยวัตรให้เต็มไปเสีย เป็นผู้เตรียมจะไป จึงต้อง, เป็น
เจ้าถิ่น ไม่ต้อง.
เมื่อไม่ทำอาวาสิกวัตร เป็นเจ้าถิ่น จึงต้อง ผู้เตรียมจะไป ไม่ต้อง.
ทั้ง 2 พวก ย่อมต้องอาบัติที่เหลือ. ทั้ง 2 พวก ไม่ต้องอาบัติที่ไม่ทั่วไป
(แก่ตน).

[วินิจฉัยในวัตถุนานัตตตาทิจตุกกะ]


วินิจฉัยในวัตถุนานัตตตาทิจตุกกะ พึงทราบดังนี้:-
ความที่ปาราชิก 4 มีวัตถุต่าง ๆ กันและกันแล ย่อมมี, ความที่
ปาราชิก 4 มีอาบัติต่างกันและกันหามีไม่. จริงอยู่ อาบัติปาราชิกนั้นทั้งหมด
คงเป็นอาบัติปาราชิกเหมือนกัน. แม้ในสังฆาทิเสสเป็นต้น ก็นัยนี้แล.
ส่วนโยชนาในคำว่า อาปตฺตินานตฺตตา น วตฺถุนานตฺตตา นี้
พึงทราบโดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ความเป็นต่างกันแห่งอาบัติแล ย่อมมีอย่างนี้
คือ เป็นสังฆาทิเสสแก่ภิกษุ เป็นปาราชิกแก่ภิกษุณี เพราะเคล้าคลึงกันและกัน
ด้วยกาย แห่งภิกษุและภิกษุณี, ความเป็นต่างกันแห่งวัตถุหามีไม่, ความ
เคล้าคลึงกันด้วยกายแล เป็นวัตถุแห่งอาบัติแม้ทั้ง 2,
อนึ่ง เพราะฉันกระเทียม เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุณี เป็นทุกกฏแก่ภิกษุ.