เมนู

ภิกษุทั้งอาพาธและไม่อาพาธ ย่อมต้องอาบัติที่เหลือ.
ข้อว่า อนฺโต อาปชฺชติ โน พหิ มีความว่า เมื่อสำเร็จการ
นอนเข้าไปเบียด (ภิกษุเข้าไปก่อน) ย่อมต้อง.
ข้อว่า พหิ อาปชฺชติ โน อนฺโต มีความว่า เมื่อตั้งเตียง
เป็นต้นของสงฆ์ไว้กลางแจ้งแล้วหลีกไป ชื่อว่าย่อมต้องในภายนอก. ย่อมต้อง
อาบัติที่เหลือทั้งภายในและภายนอก.
ข้อว่า อนฺโต สีมาย มีความว่า ภิกษุอาคันตุกะ เมื่อไม่แสดง
อาคันตุกวัตร กางร่มสวมรองเท้า เข้าสู่วิหาร แต่พอเข้าอุปจารสีมา ก็ต้อง.
ข้อว่า พหิ สีมาย มีความว่า ภิกษุเตรียมจะไป เมื่อไม่บำเพ็ญ-
คมิกวัตร มีเก็บงำภัณฑะไม้เป็นต้น หลีกไป แต่พอก้าวล่วงอุปจารสีมาก็ต้อง.
ย่อมต้องอาบัติที่เหลือทั้งภายในสีมาและภายนอกสีมา.

[ว่าด้วยอาบัติที่ต้องในท่ามกลางสงฆ์เป็นต้น]


เมื่อภิกษุผู้แก่กว่า มีอยู่ ภิกษุไม่ได้รับเผดียงกล่าวธรรมชื่อว่าต้องใน
ท่ามกลางสงฆ์. ในท่ามกลางคณะก็ดี ในสำนักบุคคลก็ดี ก็นัยนี้แล.
ออก (จากอาบัติ) ด้วยติณวัตถารกสมถะ ชื่อว่าออกด้วยกาย.
เมื่อภิกษุไม่ยังกายให้ไหว แสดงด้วยวาจา อาบัติชื่อว่าออกดด้วยวาจา.
เมื่อทำกิริยาทางกายประกอบกับวาจาแสดง อาบัติชื่อว่าออกดด้วยกาย
ด้วยวาจา.
อาบัติที่เป็นทั้งเทสนาคามินีทั้งวุฏฐานคามินี ย่อมออกในท่ามกลาง
สงฆ์. แต่ว่า เพราะอาบัติเป็นเทสนาคามินีเท่านั้น ย่อมออกในท่ามกลางคณะ
และบุคคล.

[ว่าด้วยองค์เป็นเหตุลงโทษและเพิ่มโทษ]


สองบทว่า อาคาฬฺหาย เจเตยฺย มีความว่า สงฆ์พึงตั้งใจเพื่อความ
แน่นเข้า คือเพื่อความมั่นคง. อธิบายว่า สงฆ์เมื่อปรารถนา พึงลงอุกเขปนีย-
กรรม แก่ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมเป็นต้นแล้วไม่ยังวัตรให้เต็ม.
ในคำว่า อลชฺชี จ โหติ พาโล จ อปกตตฺโต จ นี้ มี
ความว่า ไม่พึงลงโทษด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ว่า ผู้นี้เป็นผู้โง่ ไม่รู้จักธรรมและ
อธรรม หรือว่า ผู้นี้มิใช่ปกตัตต์ ไม่รู้จักอาบัติและมิใช่อาบัติ. พึงลงโทษแก่
ภิกษุผู้ต้องอาบัติ ซึ่งมีความเป็นผู้โง่เป็นมูลและมีความเป็นไม่ใช่ผู้ปกตัตต์เป็น
มูล.
ผู้ต้องอาบัติ 2 กอง ชื่อว่าผู้เสียศีลในอธิศีล.
ผู้ต้องอาบัติ 5 กอง ชื่อว่าผู้เสียอาจาระ.
ผู้ประกอบด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ ชื่อว่าผู้เสียทิฏฐิ.
พึงลงโทษแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้ไม่เห็น ไม่ทำคืนอาบัติ และผู้ไม่ยอม
สละทิฏฐิเท่านั้น.
อนาจารต่างโดยชนิดมีเล่นการพนันเป็นต้น ด้วยเครื่องเล่นมีสกา 1
เป็นอาทิ ชื่อว่าเล่นทางกาย.
อนาจารต่างโดยชนิดมีทำเปิงมางปากเป็นต้น ชื่อว่าเล่นทางวาจา.
อนาจารทางทวารทั้ง 2 ต่างโดยชนิดมีฟ้อนและขับเป็นต้น ชื่อว่าเล่น
ทางวาจา.
1. ปาสากาทีหิ, ปาสก =Throw = ทอดลูกบาท - เล่นสกา