เมนู

ภิกษุใด ไม่บอกวัตถุ ไม่บอกอาบัติ, ภิกษุนี้ ชื่อว่าปิดทั้งวัตถุทั้ง
อาบัติ.
ที่ชื่อว่าที่กำบัง เพราะปกปิดไว้.
ที่กำบัง คือเรือนไฟ ชื่อว่า ชนฺตาฆรปฏิจฺฉาทิ. แม้ในที่กำบัง
นอกนี้ ก็มีนัยเหมือนกัน.
ภิกษุผู้ปิดประตูอยู่ภายในเรือนไฟ ควรทำบริกรรม. แม้ภิกษุผู้แช่อยู่
ในน้ำ ก็ควรทำบริกรรมนั้นเหมือนกัน. แต่ไม่ควรขบเคี้ยวหรือฉันในสถาน
ทั้ง 2
ของอันปกปิด คือ ผ้า ควรในที่ทั้งปวง
ภิกษุผู้ปกปิด (กาย) ด้วยของปกปิด คือ ผ้านั้นแล้ว สมควรทำกิจ
ทั้งปวง.
บทว่า วหนฺติ มีความว่า ย่อมไป คือย่อมออกไป ได้แก่ ไม่ได้
ความติเตียนหรือคำคัดค้าน. ดวงจันทร์ พ้นจากเมฆ หมอก ควัน ธุลีและ
ราหูแล้ว เปิดเผยดี ย่อมรุ่งเรือง, อันสิ่งเหล่านั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง กำบังแล้ว
ย่อมไม่รุ่งเรือง. ควงอาทิตย์ก็เหมือนกัน. แม้ธรรมวินัยที่ภิกษุเปิดเผยจำแนก
แสดงอยู่แล จึงรุ่งเรือง, ปกปิดไว้หารุ่งเรืองไม่.

[ว่าด้วยอาบัติที่ผู้อาพาธต้องเป็นต้น]


ภิกษุผู้อาพาธ เมื่อออกปากขอเภสัชอย่างอื่น ในเมื่อจำเป็นต้องทำ
ด้วยเภสัชอย่างอื่น ย่อมต้อง (อาบัติ).
ผู้ไม่อาพาธ เมื่อออกปากขอเภสัช ในเมื่อไม่จำเป็นต้องทำด้วยเภสัช
ย่อมต้อง.