เมนู

บทว่า สนฺทิฏฺฐิปรามาสี มีความว่า ย่อมยึดถือความเห็นของตน
เท่านั้น คือ ข้อใด อันตนได้เห็นแล้ว ย่อมยึดข้อนั้นว่า ข้อนี้เท่านั้น เป็น
จริง.
บทว่า อาธานคาหี ได้แก่ มักยึดไว้อย่างมั่นคง.

[อนุวาทมูลนิทเทส]


อนุวาทมูลนิทเทส เสมอด้วยวิวาทมูลนิทเทสนั่นเอง ก็จริง ถึงกระนั้น
ในวิวาทมูลนิทเทสและอนุวาทมูลนิทเทสนี้ ย่อมมีความแปลกกันดังนี้ว่า โทษ
ทั้งหลาย มีความโกรธและความผูกโกรธกันเป็นต้น ของภิกษุทั้งหลาย ผู้
วิวาทกันอาศัยเภทกรวัตถุ 18 จัดเป็นมูลแห่งวิวาท ก็แลเมื่อวิวาทกันอย่างนั้น
ย่อมถึงวิบัติอย่างใด อย่างหนึ่ง ในวิบัติเป็นต้นแล้ว โจทกันและกันว่า ภิกษุ
ชื่อโน้น ต้องวิบัติชื่อโน้น บ้าง ว่า ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิก บ้าง ว่า ท่าน
เป็นผู้ต้องสังฆาทิเสส บ้าง. โทษทั้งหลาย มีความโกรธและความผูกโกรธ
กันเป็นต้น ของภิกษุทั้งหลายผู้โจทกันและกันอย่างนั้น จัดเป็นมูลแห่งอนุวาท.

[สาราณีธัมมนิทเทส]


วินิจฉัยในสาราณียธัมมนิทเทส ดังนี้:-
กายกรรมที่กระทำด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา ชื่อเมตตากายกรรม.
สองบทว่า อาวิ เจว รโห จ ได้แก่ ทั้งต่อหน้า ทั้งลับหลัง.
ในกายกรรม 2 อย่าง ด้วยอำนาจแห่งต่อหน้าและลับหลังนั้น การถึงความเป็น
สหาย ในการงานทั้งหลายมีจีวรกรรมเป็นอาทิ ของภิกษุใหม่ทั้งหลาย ชื่อ
เมตตากายกรรมต่อหน้า. ส่วนสามีจิกรรมทั้งปวง แม้ต่างโดยกิจมีล้างเท้าและ
พัดลมเป็นต้นให้พระเถระทั้งหลาย ชื่อเมตตากายกรรม ต่อหน้า.

การเก็บงำ ภัณฑะทั้งหลายมีภัณฑะไม้เป็นต้น ที่ภิกษุใหม่และพระ-
เถระทั้ง 2 พวกเก็บงำไว้ไม่ดี ไม่ทำความดูหมิ่นในภิกษุใหม่และพระเถระ
เหล่านั้น ประหนึ่งเก็บงำสิ่งของที่ตนเก็บไว้ไม่ดีฉะนั้นชื่อเมตตากายกรรม
ลับหลัง.
ข้อว่า อยมฺปิ ธมฺโม สาราณีโย มีความว่า ธรรมกล่าว คือ
เมตตากายกรรมนี้ อันเพื่อพรหมจรรย์ทั้งหลายพึงระลึกถึง. อธิบายว่า บุคคล
ใด ยังสติให้เกิด กระทำธรรมกล่าวคือเมตตากายกรรมนั้น ธรรมคือเมตตา
กายกรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นทำแล้วแก่ชนเหล่าใด ชนเหล่านั้นมีจิต
เลื่อมใสแล้ว ย่อมระลึกถึงบุคคลนั้นว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษจริง.
บทว่า ปิยกรโณ มีความว่า ธรรมคือเมตตากายกรรมนั้นย่อมทำ
บุคคลนั้น ให้เป็นที่รักของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.
บทว่า ครุกรโณ มีความว่า ธรรมนั้น ย่อมทำบุคคลนั้น ให้เป็น
ที่เคารพของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.
วินิจฉัยในคำว่า สงฺคหาย เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-
ธรรมนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้อันเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย
พึงสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความเป็นผู้พร้อมเพรียง เพื่อความ
เป็นพวกเดียวกัน กับเพื่อนพรหมจรรย์เหล่านั้น.
วินิจฉัยในคำว่า เมตฺตํ วจีกมฺมํ เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-
การกล่าวยกย่องอย่างนี้ว่า ท่านเทวเถระ ท่านติสสเถระ ชื่อเมตตา
วจีกรรม ต่อหน้า. ส่วนการกล่าวถ้อยคำที่ส่อความรัก ของบุคคลผู้สอบถาม

ถึงท่าน ในเมื่อท่านไม่อยู่ในสำนัก อย่างนี้ว่า ท่านเทวเถระของพวกเรา
ไปไหน ? ท่านติสสเถระของพวกเรา ไปไหน ? เมื่อไรหนอ ท่านจักมา ?
ดังนี้ ชื่อเมตตาวจีกรรม ลับหลัง.
ก็แลการลืมตาอันสนิทสนมด้วยความรัก กล่าวคือเมตตาแลดูด้วยหน้า
อันชื่นบาน ชื่อเมตตามในกรรม ต่อหน้า. การคำนึงถึงเสมอว่า ท่านเทวเถระ
ท่านติสสเถระ จงเป็นผู้ไม่มีโรค มีอาพาธน้อย ชื่อเมตตามโนกรรม ลับหลัง.
บทว่า อปฺปฏิวิภตฺตโภคี มีความว่า ย่อมแบ่งอามิสไว้สำหรับตัว
แล้ว บริโภคหามิได้ แบ่งไว้เฉพาะบุคคลแล้ว บริโภคหามิได้.
ก็ภิกษุใด ย่อมแบ่งไว้บริโภคว่า เราจักให้แก่ภิกษุเหล่าอื่นเท่านั้น
จักบริโภคด้วยตนเองเท่านี้ หรือว่า เราจักให้แก่ภิกษุโน้นและภิกษุโน้นเท่านี้
จักบริโภคด้วยตนเองเท่านี้ ภิกษุนี้ ชื่อว่าผู้แบ่งบริโภคโดยเฉพาะ.
ฝ่ายภิกษุผู้ตั้งอยู่ในสาราณียธรรมนี้ ไม่ทำอย่างนั้น ถวายบิณฑบาต
อันตนนำมาตั้งแต่ที่พระเถระ แล้วฉันส่วนที่ยังเหลือจากที่พระเถระรับเอาไว้.
พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า แม้จะไม่ให้แก่บุคคลผู้ทุศีล ก็
ควร เพราะพระบาลีว่า สีลวนฺเตหิ, แต่อันภิกษุผู้บำเพ็ญสาราณียธรรม
พึงให้แก่ผู้มีศีลและผู้ทุศีลทั้งปวงทีเดียว.
แม้เลือกให้แก่ภิกษุผู้อาพาธและพยาบาลไข้ ผู้อาคันตุกะ ผู้เตรียมจะ
ไปและผู้ขวนขวายในการงานมีจีวรกรรมเป็นต้น ก็ควร. เพราะว่า ภิกษุเลือก
บุคคลเหล่านั้นแล้วให้อยู่ จะชื่อว่าเป็นอันทำการจำแนกบุคคลหามิได้. จริงอยู่
เพราะภิกษุทั้งหลายผู้เช่นนี้ เป็นผู้มีลาภฝืดเคือง จึงควรทำให้เป็นส่วนพิเศษ
แท้ เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้บำเพ็ญสาราณียธรรมนี้ จึงทำการเลือกให้.

วินิจฉัยในบทว่า อขณฺฑานิ เป็นต้น พึงทราบดังนี้:-
บรรดาอาบัติ 7 กอง สิกขาบทของภิกษุใดเป็นคุณสลายเสียข้างต้น
หรือข้างปลาย ศีลของภิกษุนั้น ชื่อว่าด้วน เปรียบเหมือนผ้าขาดที่ชายโดยรอบ
ฉะนั้น.
ฝ่ายสิกขาบทของภิกษุใด ทำลายเสียตรงท่ามกลาง ศีลของภิกษุนั้น
ซึ่งว่า เป็นช่อยทะลุ เปรียบเหมือนผ้าที่เป็นช่องทะลุตรงกลางฉะนั้น.
สิกขาบทของภิกษุใด ทำลายเสีย 2-3 สิกขาบทโดยลำดับ ศีลของ
ภิกษุนั้น ชื่อว่าด่าง เปรียบเหมือนแม่โคซึ่งมีสีตัวดำและแดงเป็นต้น อย่างใด
อย่างหนึ่ง สลับกับสีซึ่งไม่เหมือนกันที่ผุดขึ้นที่หลังหรือที่ท้อง ฉะนั้น.
สิกขาบทของภิกษุใด ทำลายเสียในระหว่าง ๆ ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่า
พร้อย เปรียบเหมือนแม่โคที่พราวเป็นดวงด้วยสีไม่เหมือนกันในระหว่าง ๆ
ฉะนั้น.
ส่วนศีลของภิกษุใด ไม่ทำลายโดยประการทั้งปวง ศีลเหล่านั้นของ
ภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่ด้วน ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย.
ก็ศีลเหล่านี้นั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นไท เพราะทำ
ความเป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ เพราะเป็นศีลที่ท่านผู้รู้ยกย่อง อันกิเลสไม่
จับต้อง เพราะเป็นศีลที่ตัณหาและทิฏฐิจับต้องไม่ได้ เป็นไปเพื่อสมาธิ เพราะ
ยังอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิให้เป็นไปพร้อม.
สองบทว่า สีลสามญฺญคโต วิหรติ มีความว่า ผู้มีศีลเข้าถึงความ
เป็นผู้เสมอกัน กับภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลงาม ซึ่งอยู่ในทิศาภาคเหล่านั้น ๆ.

สองบทว่า ยายํ ทิฏฺฐิ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ที่สัมปยุตด้วยมรรค.
บทว่า อริยา ได้แก่ หาโทษมิได้.
บทว่า นิยฺยาติ ได้แก่ พาออกไป.
บทว่า ตกฺกรสฺส ได้แก่ ผู้มีปกติทำอย่างนั้น.
บทว่า ทุกฺขกฺขยาย ได้แก่ เพื่อสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งปวง.
คำที่เหลือ จนถึงประเภทสมถะเป็นที่สุด มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.
กติปุจฉาวาร วัณณนา จบ

วีสติวาร


สมุฏฐานวารแห่งอาบัติ 6 ที่ 1


[861] มีผู้ถามว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ 1 ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก
หรือ ตอบว่า ไม่ต้องเลย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส หรือ ตอบว่า บางทีต้อง
ต้องอาบัติถุลลัจจัย หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือ ตอบ
ว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติทุพภาษิต หรือ ตอบว่าไม่
ต้องเลย.
[862] มีผู้ถามว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ 2 ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก
หรือ ตอบว่า ไม่ต้องเลย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส หรือ ตอบว่า บางทีต้อง
ต้องอาบัติถุลลัจจัย หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือ
ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ หรือ ตอบว่า ไม่ต้องเลย ต้อง
อาบัติทุกกฏ หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติทุพภาสิต หรือ ตอบว่า
ไม่ต้องเลย.
[863] มีผู้ถามว่า ด้วยสมุฏฐานอาบัติที่ 3 ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก
หรือ ตอบว่า ไม่ต้องเลย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส หรือ ตอบว่า บางทีต้อง
ต้องอาบัติถุลลัจจัย หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ หรือ ตอบ
ว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติ
ทุกกฏ หรือ ตอบว่า บางทีต้อง ต้องอาบัติทุพภาสิต หรือ ตอบว่า ไม่
ต้องเลย.