เมนู

คำว่า ตถา อตฺถงฺคเตน จ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอา
สิกขาบทนี้ว่า เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคตแล้ว สั่งสอนพวกภิกษุณี.
สองบทว่า ติรจฺฉานวิชฺชา เทฺว ได้แก่ 2 สิกขาบท ที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า ภิกษุณีใด พึงเรียนติรัจฉานวิชชา 1, พึงบอก
ติรัจฉานวิชชา 1.
คำว่า อโนกาเส จ ปุจฺฉนา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอา
สิกขาบทนี้ว่า ภิกษุณีใด พึงถามปัญหากะภิกษุซึ่งตนไม่ขอโอกาสก่อน.

[ว่าด้วยอัทธานสมุฏฐาน]


สองบทว่า อทฺธานนาวํ ปณีตํ ได้แก่ 3 สิกขาบทที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุใด ชักชวนกันแล้ว เดินทางไกลร่วมกันกับภิกษุณี 1,
ชักชวนกันแล้วขึ้นเรือลำเดียวกับภิกษุณี 1, ภิกษุใด มิใช่อาพาธ ขอโภชนะ
อันประณีต เพื่อประโยชน์แก่ตนแล้วฉัน 1.
สองบทว่า มาตุคาเมน สงฺฆเร ได้แก่ สิกขาบทคือชักชวนกันแล้ว
ไปกับมาตุคาม 1, สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงนำ
(ถอน-โกน-ตัด) ขนในที่แคบ 1.
สองบทว่า ธญฺญํ นิมนฺติตา เจว ได้แก่ สิกขาบทที่ตรัสว่า ภิกษุณีใด
พึงขอข้าวเปลือก 1, ภิกษุณีใด รับนิมนต์แล้วก็ดี ห้ามโภชนะแล้วก็ดี พึง
เคี้ยวของเคี้ยวก็ตาม พึงฉันของฉันก็ตาม 1.
บทว่า อฏฺฐ จ ได้แก่ ปาฏิเทสนียะ 8 สิกขาบท ที่ตรัสเพื่อภิกษุณี
ทั้งหลาย.

[ว่าด้วยเถยยสัตถสมุฏฐาน]


สองบทว่า เถยฺยสตฺถํ อุปสฺสุติ ได้แก่ สิกขาบทคือชักชวนแล้ว
เดินทางไกลสายเดียวกันกับพวกเกวียนพวกตั่งผู้เป็นโจร 1, สิกขาบทคือยืน
แอบฟัง 1.
คำว่า สูปวิญฺญาปเนน จ นี้ ตรัสหมายเอาการออกปากขอแกง
และข้าวสุก.
สามบทว่า รตฺติ ฉนฺนญฺจ โอกาสํ ได้แก่ 3 สิกขาบท ที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า ภิกษุณีใด พึงยืนร่วมหรือพึงเจรจาตัวต่อตัวกับบุรุษ
ในราตรีที่มืดไม่มีไฟ 1, ในโอกาสกำบัง 1, ในที่กลางแจ้ง 1.
คำว่า พฺยูเหน สตฺตมา นี้ ตรัสหมายเอาสิกขาบทที่มาเป็นลำดับ
แห่งสิกขาบทนั้นนั่นแลว่า กับบุรุษที่ถนนหรือที่ตรอกตัน.
ธัมมเทสนสมุฏฐาน 11 สิกขาบท ตื้นทั้งนั้น.
พึงทราบสมุฏฐานที่เจือกันอยู่นี้ก่อน :-
ส่วนนิยตสมุฏฐานมี 3 อย่าง, นิยตสมุฏฐานนั้น มีเฉพาะแต่ละสิกขาบท
เท่านั้น, เพื่อแสดงนิยตสมุฏฐานนั้นเฉพาะแผนก จึงตรัสคำว่า ภูตํ กาเยน
ชายติ
เป็นต้น. คำนั้นตื้นทั้งนั้น.
บทว่า เนตฺติธมฺมานุโลมิกํ ได้แก่ อนุโลม แก่ธรรมกล่าวคือ
บาลีแห่งวินัย.
สมุฏฐานสีสวัณณนา จบ