เมนู

[ว่าด้วยเอฬกโลมสมุฏฐาน]


สามบทว่า เอฬกโลมา เทฺว เสยฺยา ได้แก่ เอฬกโลมสิกขาบท
1 และสหไสยสิกขาบ 2.
บทว่า อาหจฺจปิณฺฐโภชนํ ได้แก่ อาหัจจปาทกสิกขาบท และ
อาวสถปิณฑโภชนสิกขาบท.
บทว่า คณวิกาลสนฺนิธิ ได้แก่ 3 สิกขาบท คือ คณโภชนสิกขาบท
1 วิกาลโภชนสิกขาบท 1 สันนิธิการกสิกขาบท 1.
บทว่า ทนฺตโปเณนเจลกา ได้แก่ ทันตโปณสิกขาบทและอเจลก
สิกขาบท.
สามบทว่า อุยฺยุตฺตํ วเส อุยฺโยธิ ได้แก่ 3 สิกขาบทที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า พึงไปเพื่อดูเสนาอันยกออกแล้ว พึงอยู่ในกองทัพ พึงไป
สู่สนามรบก็ดี ฯลฯ ไปดูกองทัพก็ดี.
สามบทว่า สุรา โอเรน นหายนา ได้แก่ สุราปานสิกขาบท 1
โอเรนัฑฒมาสังนหานสิกขาบท 1.
สามบทว่า ทุพฺพณฺเณ เทฺว เทสนิกา ได้แก่ สิกขาบทที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า ติณฺณํ ทุพฺพณฺณกรณานํ 1 ปาฏิเทสนียะ 2 สิกขาบท
ที่เหลือจากที่ตรัสแล้ว 1.
สองบทว่า ลสุณุตฺติฏฺเฐ นจฺจนา ได้แก่ ลสุณสิกขาบท 1 สิกขาบท
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงเข้าไปปฏิบัติภิกษุผู้กำลังฉัน ด้วย
น้ำฉันก็ดี ด้วยการพัดก็ดี 1. สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด
พึงไปดูการฟ้อนก็ดี การประโคมก็ดี 1.

ต่อจากนี้ไป พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย เขียนเพี้ยนบาลี. ผู้
ศึกษาพึงทราบลำดับ ในคำว่า นหานํ อตฺถรณํ เสยฺยา เป็นอาทินี้
เหมือนเนื้อความที่ข้าพเจ้าอธิบาย (ต่อไป).
สามบทว่า นหานํ อตฺถรณํ เสยฺยา ได้แก่ 3 สิกขาบททีพระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีเหล่าใด พึงเปลือยกายอาบน้ำ ภิกษุณีเหล่าใด พึง
ใช้ผู้ปูนอนและผ้าห่มผืนเดียวกัน นอนด้วยกัน 2 รูป ภิกษุณีเหล่าใด พึง
นอนบนเตียงเดียวกัน 2 รูป.
สามบทว่า อนฺโตรฏเฐ ตถา พหิ ได้แก่ 2 สิกขาบทที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด ไม่มีพวก พึงเที่ยวจาริกไป. . .ในที่ซึ่งรู้กันว่า
น่ารังเกียจภายในแคว้น ไม่มีพวก เที่ยวจาริกไป . . .ในที่ซึ่งรู้กันว่าน่ารังเกียจ
ภายนอกแคว้น.
สองบทว่า อนฺโตวสฺสํ จิตฺตาคารํ ได้แก่ 2 สิกขาบทที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงหลีกไปสู่จาริก ภายในกาลฝน ภิกษุณีใด
พึงไปเพื่อดูพระราชวังก็ดี เรือนงามก็ดี ฯลฯ สระโบกขรณีก็ดี.
สองบทว่า อาสนฺทิ สุตฺตกนฺตนา ได้แก่ 2 สิกขาบทที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงใช้สอยอาสันทิหรือบัลลังก์ พึงกรอด้าย.
สองบทว่า เวยฺยาวจฺจํ สหตฺถา จ ได้แก่ 2 สิกขาบทที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงทำความขวนขวายแก่คฤหัสถ์ พึงให้ของ
เคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี ด้วยมือของตน แก่ชาวบ้านก็ดี แก่ปริพาชกก็ดี แก่
ปริพาชิกาก็ดี.
คำว่า อภิกฺขุกาวาเสน จ นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอา
สิกขาบทนี้ว่า ภิกษุณีใด พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสไม่มีภิกษุ.

สามบทว่า ฉตฺตํ ยานญฺจ สงฺฆาณึ ได้แก่ 3 สิกขาบทที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด ไม่อาพาธ พึงใช้ร่มและรองเท้า ไม่เป็นไข้
พึงไปด้วยยาน ภิกษุณีใด พึงใช้เข็มขัด.
สองบทว่า อลงฺการํ คนฺธวาสิตํ ได้แก่ 3 สิกขาบทที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสว่ ภิกษุณีใด พึงทรงไว้ซึ่งเครื่องแต่งตัวสำหรับสตรี พึงอาบด้วย
ของหอมและสี พึงอาบด้วยแป้งอบ.
ด้วยบทว่า ภิกฺขุนี เป็นต้น ตรัส 4 สิกขาบท มีสิกขาบทว่า
ภิกษุณีใด พึงใช้ภิกษุณีให้นวด เป็นอาทิ.
สองบทว่า อสงฺกจฺฉิกา อาปตฺติ ได้แก่ อาบัติที่พระผู้มีพระภาค-
เจ้าตรัสอย่างนี้ว่า ภิกษุณีใด ไม่มีประคดอกเข้าบ้าน ต้องปาจิตตีย์.
บาทคาถาว่า จตฺตาริสา จตุตฺตรี ได้แก่ 44 สิกขาบทเหล่านี้
ทั้งหมด.
หลายบทว่า กาเยน น วาจาจิตฺเตน กายจิตฺเตน น วาจโต
มีความว่า เกิดทางกายและกายกับจิต ไม่เกิดทางวาจากับจิตไม่เกิดทางวาจา.
คำว่า ทุกสิกขาบท มีสมุฏฐาน 2 ชื่อว่าเอฬกโลมสมุฏฐานเสมอกัน
นี้ มีเนื้อความชัดเจนแล้ว.

[ว่าด้วยปทโสธัมมสมุฏฐาน]


สองบทว่า ปทญฺญตฺร อสมฺมตา ได้แก่ 3 สิกขาบท ที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุใด พึงยังอนุปสัมบันให้กล่าวธรรมโดยบท 1, ภิกษุใด
พึงแสดงธรรมแก่มาตุคาม ยิ่งกว่า 6-5 คำ เว้นแต่มีบุรุษผู้รู้เตียงสา 1,
ภิกษุใด ไม่ได้รับสมมติสั่งสอนพวกภิกษุณี 1.