เมนู

สามบทว่า สมุฏฺฐานา ติกา กตา มีความว่า 7 สิกขาบทนี้จัด
เป็นติกสมุฏฐาน (คือ เกิดโดยทวาร 3).

[ว่าด้วยสัญจริตตสมุฏฐาน]


สามบทว่า สญฺจริ กุฏิ วิหาโร ได้แก่ สัญจริตตสิกขาบท 1
สัญญาจิกายกุฏิกรณสิกขาบท 1 มหัลลกวิหารกรณสิกขาบท 1.
สองบทว่า โธวนญฺจ ปฏิคฺคโห ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยการให้
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ให้ชักจีวรเก่า 1 จีวรปฏคคหณสิกขาบท 1.
สองบทว่า วิญฺญตฺตุตฺตริ อภิหฏฐุํ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยการออก
ปากขอจีวรกะคฤหบดีผู้มิใช่ญาติ 1 สิกขาบทว่าด้วยยินดียิ่งกว่าอุตราสงค์ และ
อันตรวาสกนั้น 1.
สองบทว่า อุภินฺนํ ทูตเกน จ ได้แก่ 2 สิกขาบทที่มาว่า
จีวรเจตาปนํ อุปกฺขฏํ โหติ และสิกขาบทว่าด้วยค่าจีวรที่เขาส่งไปด้วยทูต.
หลายบทว่า โกสิยา สุทฺธเทฺวภาคา ฉพฺพสฺสานิ นิสีทนํ
ได้แก่ 5 สิกขาบท มีสิกขาบทที่ว่า โกสิยมิสฺสกํ สนฺถตํ เป็นต้น.
สองบทว่า ริญฺจนฺติ รูปิกา เจว ได้แก่ เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท
ที่มาในคัมภีร์วิภังค์ว่า ริญฺจนฺติ อุทฺเทสํ 1 รูปียปฏิคคหณสิกขาบท 1.
สองบทว่า อุโภ นานปฺปการกา ได้แก่ 2 สิกขาบท คือ รูปิย-
สังโวหารสิกขาบทและกยวิกกยสิกขาบท.
สองบทว่า อูนพนฺธนวสฺสิกา ได้แก่ อูนปัญจพันธนปัตตสิกขาบท
1 วัสสิกสาฏิกสิกขาบท 1.

สองบทว่า สุตฺตํ วิกปฺปเนน จ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยออกปาก
ขอด้ายให้ช่างหูกทอจีวร 1 สิกขาบทว่าด้วยการเข้าไปหาช่างหูกถึงความกำหนด
ในจีวร 1.
บทว่า ทฺวารทานสิพฺพินี จ ได้แก่ 3 สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาค-
เจ้าตรัสว่า ด้วยวางเช็ดหน้าเพียงไรแต่กรอบแห่งประตู 1 ภิกษุณีใด พึงให้
จีวรแก่ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ 1 ภิกษุใด พึงเย็บจีวรของภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ 1.
บทว่า ปูวปจฺจยโชต จ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยการปวารณาด้วย
ขนมหรือด้วยสัตตุผง เพื่อนำไปตามปรารถนา 1 จาตุมาสปัจจยปวารณา-
สิกขาบท 1 โชติสมาทหนสิกขาบท 1.
หลายบทว่า รตนํ สูจ มญฺโจ จ ตุลํ นิสีทนกณฺฑ จ วสฺสิกา จ
สุคเตน
ได้แก่ รตนสิกขาบท 1 และ 7 สิกขาบท มีสูจิฆรสิกขาบทเป็นต้น.
หลายบทว่า วิญฺญตฺติ อญฺญเจตาปนา, เทฺวสงฺฆิกา มหาชนิกา
เทฺว ปุคฺคลา ลหุกา ครุ
ได้แก่ 9 สิกขาบท มีสิกขาบทว่า อนึ่ง ภิกษุณี
ใด พึงออกปากขอกะคนอื่นแล้ว ออกปากขอกะคนอื่นอีก เป็นต้น.
สามบทว่า เทฺว วิฆาสา สาฏิกา จ ได้แก่ วิฆาสสิกขาบททั้ง
2 ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า ภิกษุณีใด พึงทิ้งเองก็ดี พึงยังผู้อื่นให้ทิ้ง
ก็ดี ซึ่งอุจจาระหรือปัสสาวะ หรือหยากเยื่อ หรืออาหารที่เป็นเดน ภายนอก
ฝาก็ตาม ภายนอกกำแพงก็ตาม 1 ภิกษุณีใดพึงทิ้งเองก็ดี พึงยังผู้อื่นให้ทิ้งก็ดี
ซึ่งอุจจาระหรือปัสสาวะหรือหยากเยื่อ หรืออาหารที่เป็นเดน ในของสดเขียว 1
และอุทกสาฏิกสิกขาบท.

คำว่า สมณจีวเรน จ นั่น ท่านกล่าวหมายเอาพระบาลีนี้ว่า
สมณจีวรํ ทเทยฺย.

[ว่าด้วยสมนุภาสนสมุฏฐาน]


บทว่า เภทานุตฺตทุพฺพจทูสทุฏฐุลฺลทิฏฺฐิ จ ได้แก่ สังฆเภท-
สิกขาบท 1 เภทานุวัตตกสิกขาบท 1 ทุพพจสิกขาบท 1 กุลทูสกสิกขาบท 1
ทุฎฐุลลาปัตติปฏิจฉาทนสิกขาบท 1 ทิฏฐิอัปปฏินิสสัชชสิกขาบท 1.
สามบทว่า ฉนฺทํ อุชฺชคฺฆิกา เทฺว จ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วย
ไม่มอบฉันทะไปเสีย 1 และ 2 สิกขาบทว่าด้วยการไปและการนั่งในละแวก
บ้าน และทั้งหัวเราะลั่น.
บทว่า เทฺวปฺปสทฺทา ได้แก่ 2 สิกขาบทที่ว่า เราจักเป็นผู้มีเสียง
น้อย ไปในละแวกบ้าน 1 นั่งในละแวกบ้าน 1.
บทว่า น พฺยาหเร ได้แก่ สิกขาบทที่ว่า เราจักไม่พูดด้วยปากที่
ยังมีคำข้าว.
หลายบทว่า ฉมา นีจาสเน ฐานํ, ปจฺฉโต อุปฺปเถน จ
ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยภิกษุนั่งที่แผ่นดิน แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้นั่ง
บนอาสนะ 1 นั่งบนอาสนะต่ำ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะสูง
1 ผู้ยืนอยู่ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้นั่ง 1 ผู้ไปข้างหลัง แสดงธรรม
แก่คนไม่เป็นไข้ ผู้ไปข้างหน้า 1 ผู้เดินไปนอกทาง แสดงธรรมแก่บุคคลไม่
เป็นไข้ ผู้ไปในทาง 1.