เมนู

สิกขาบท 1, ปัตตนิลเลหสิกขาบท 1, โอฎฐนิลเลหสิกขาบท 1,
สามิสสิกขาบท 1, สสิตถกสิกขาบท 1, และปกิณณกสิกขาบท 3
เหล่านี้ คือ ยืนถ่ายอุจจาระปัสสาวะ 1, ยืนหรือนั่งถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะบ้วนน้ำลายลงในของเขียว 1, ยืนหรือนั่งถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะบ้วนน้ำลายลงในน้ำ 1.
บาทคาถาว่า อธกฺขคามาวสฺสุตา ได้แก่ อธักขกสิกขาบท
คามันตรคมนสิกขาบท และสิกขาบทว่าด้วยการที่ภิกษุณีผู้มีจิตกำหนัดรับของ
ควรเคี้ยว จากมือของบุรุษผู้มีจิตกำหนัด ของภิกษุณีทั้งหลาย.
บาทคาถาว่า ตลมตฺกญฺจ สุทฺธิกา ได้แก่ ตลฆาฏกสิกขาบท
ชตุมัตถกสิกขาบท และอุทกสุทธิกาสิกขาบท สาทิยนสิกขาบท
บาทคาถาว่า วสฺสํ วุตฺถา จ โอวาทํ ได้แก่ สิกขาบทที่ว่า วสฺสฺ
วุตฺถา ฉ ปญฺจ โยชนานิ
และสิกขาบทว่าด้วยการไม่ไปเพื่อโอวาท.
บาทคาถาว่า นานุพนฺเธ ปวตฺตินึ มีความว่า สิกขาบทเหล่านี้มี
76 รวมทั้งวุฏฐาปิตปวัตนนนุพันธสิกขาบท.
สองบทว่า อิเม สิกฺขา ได้แก่ สิกขาบททั้งหลายเหล่านี้. ศัพท์ว่า
อิเม ท่านทำให้ผิดลิงค์เสีย.
บาทคาถาว่า กายมานสิกา กตา ความว่า สิกขาบทเหล่านี้ ท่าน
จัดเป็นสิกขาบทมีกายกับจิตเป็นสมุฏฐาน.

[ว่าด้วยทุติยปาราชิกสมุฏฐาน]


บทว่า อทินฺนํ นี้ พึงทราบก่อน. คำว่าอทินนาทาน หรือคำว่า
ทุติยปาราชิก เป็นสมุฏฐานใหญ่อันหนึ่ง.

บทที่เหลือ เป็นเช่นกับอทินนาทานนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิคฺคหุตฺตรึ ได้แก่ มนุสสวิคคหสิกขาบท
และอุตตริมนุสสธัมมสิกขาบท.
สองบทว่า ทุฏฺฐุลฺลา อตฺตกามินํ ได้แก่ ทุฏฐุลลวาจสิกขาบท
และอัตตกามปาริจริยสิกขาบท.
สองบทว่า อมูลา อญฺญภาคิยา ได้แก่ ทุฏฐโทสสิกขาบททั้ง 2.
สองบทว่า อนิยตา ทุติยิกา ได้แก่ อนิยตสิกขาบทที่ 2.
สองบทว่า อจฺฉินฺเท ปริณามเน ได้แก่ การให้จีวรเองแล้ว
ชิงเอามา และการน้อมลาภของสงฆ์มาเพื่อตน.
บาทคาถาว่า มุสาโอมสเปสุณา ได้แก่ มุสาวาทสิกขาบท 1
โอมสวาทสิกขาบท 1 ภิกขุเปสุญญสิกขาบท 1.
สองบทว่า ทุฏฐุลฺลา ปฐวีขเณ ได้แก่ ทุฏฐุลลาปัตติอาโรจน-
สิกขาบท 1 ปฐวีขณนสิกขาบท 1.
สามบทว่า ภูตํ อญฺญาย อุชฺฌเป ได้แก่ ภูตคามสิกขาบท
อัญญวาทกสิกขาบท และอุชฌาปนกสิกขาบท.
สองบทว่า นิกฑฺฒนํ สิญฺจนญฺจ ได้แก่ วิหารโตนิกัฑฒนสิกขาบท 1
อุทเกนติณาทิสิญจนสิกขาบท 1.
สองบทว่า อามิสเหตุ ภุตฺตาวี ได้แก่ สิกขาบทที่ว่า อามิสเหตุ
ภิกฺขุนิโย โอวทนฺติ 1
, สิกขาบทว่าด้วยปวารณาภิกษุผู้ฉันเสร็จแล้ว ด้วย
ขอเคี้ยวเป็นต้น อันมิใช่เดน 1.
สามบทว่า เอหิ อนาทริ ภึสา ได้แก่ สิกขาบทที่ว่า เอหาวุโส
คามํ วา
เป็นต้น 1, อนาทริยสิกขาบท 1, ภิกษุภิงสาปนกสิกขาบท 1.

สองบทว่า อปนิเธ จ ชีวิตํ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยการซ่อน
บริขารมีบาตรเป็นต้น 1, สิกขาบทว่าด้วยการแกล้งปลงชีวิตสัตว์ 1.
สามบทว่า ชานํ สปฺปาณกํ กมฺมํ ได้แก่ ชานังสัปปาณกอุทก
สิกขาบท 1, ปุนกัมมายุโกฏนสิกขาบท 1.
บทว่า อูนสํวาสนาสนา ได้แก่ อูนวีสติวัสสสิกขาบท 1, สิกขาบท
ว่าด้วยการอยู่ร่วมกับภิกษุที่ถูกสงฆ์ยกวัตร 1, นาสิตกสามเณรสัมโภคสิกขาบท 1.
บทว่า สทธมฺมิกวิเลขา ได้แก่ สหธัมมิกวุจจมานสิกขาบท 1
สิกขาบทที่มาว่า วิเลขาย สํวตฺตนฺติ 1.
สองบทว่า โมโห อมูลเกน จ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยเป็น
ปาจิตตีย์ เพราะความเป็นผู้แสร้งทำหลง 1, สิกขาบทว่าด้วยการโจทด้วยอาบัติ
สังฆาทิเสสไม่มีมูล 1.
สามบทว่า กุกฺกุจฺจํ จีวรํ ทตฺวา ได้แก่ กุกกุจจอุปปาทน สิกขาบท
1, สิกขาบทว่าด้วยการให้ฉันทะเพื่อกรรมที่เป็นธรรมแล้วกลับบ่นว่า 1,
สิกขาบทว่าด้วยการให้จีวรแล้วกลับบ่นว่า 1.
สองบทว่า ปริณเมยฺย ปุคฺคเล ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยน้อมลาภ
สงฆ์ไปเพื่อบุคคล.
บาทคาถาว่า กินฺเต อกาลอจฺฉินฺเท ได้แก่ สิกขาบทที่มาว่า
พระผู้เป็นเจ้า บุรุษบุคคลนั่น จักทำประโยชน์อะไรแก่ท่าน 1 สิกขาบทว่า
ด้วยการอธิษฐานอกาลจีวร ว่าเป็นกาลจีวร แล้วให้แจกกัน 1, สิกขาบทว่า
ด้วยการแลกจีวรกับภิกษุณีแล้วชิงเอามา 1.

สองบทว่า ทุคฺคหิ นิรเยน จ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยการยกโทษ
ผู้อื่น ด้วยเครื่องที่จับไม่ถนัด ใคร่ครวญไม่ดี 1 สิกขาบทว่าด้วยการแช่ง
ด้วยนรก หรือพรหมจรรย์ 1.
สามบทว่า คณํ วิภงฺคํ ทุพฺพลํ ได้แก่ สิกขาบทที่ตรัสว่า ภิกษุณี
ใด พึงทำอันตรายแก่จีวรลาภของคณะ 1 ที่ตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงห้ามการ
แจกจีวรที่เป็นธรรม 1 ที่ตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงก้าวล่วงจีวรกาลสมัยเสีย ด้วย
จำนงเฉพาะซึ่งจีวรอันไม่มั่นคง 1.
บาทคาถาว่า กฐินาผาสุปสฺสยํ ได้แก่ สิกขาบทที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีโด พึงห้ามการรื้อกฐินที่เป็นธรรม 1 ภิกษุณีใด พึง
แกล้งทำความไม่สำราญแก่ภิกษุณี 1 ภิกษุณีใดให้ที่อยู่แก่ภิกษุณีแล้ว โกรธ
ไม่พอใจ พึงฉุดคร่านางก็ดี 1.
สองบทว่า อกฺโกสจณฺฑี มจฺฉรี ได้แก่ สิกขาบทที่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงด่าก็ดี ซึ่งภิกษุ 1 ภิกษุณีใด เป็นผู้ดุร้าย พึง
กล่าวขู่คณะ 1 ภิกษุณีใด พึงเป็นผู้หวงตระกูล 1.
สองบทว่า คพฺภินี จ ปายนฺติยา ได้แก่ สิกขาบทที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงยังสตรีมีครรภ์ให้บวช 1 ภิกษุณีโด พึง
ยังสตรีผู้ยังต้องให้บุตรดื่มนมให้บวช 1.
หลายบทว่า เทฺว วสฺสา สิกฺขา สงฺเฆน ได้แก่ สิกขาบทที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงยังนางสิกขมานาผู้ยังไม่ได้ศึกษาใน
ธรรม 6 ครบ 2 ปี ให้บวช 1 ภิกษุณีใด พึงยังนางสิกขมานาผู้ศึกษาเสร็จ
แล้วในธรรม 6 แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ให้บวช 1.

สองบทว่า ตโย เจว คิหิคตา ได้แก่ สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาค-
เจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงยังสตรีมีคฤหัสถ์ ผู้มีอายุหย่อน 12 ปี ให้บวช 1
ภิกษุณีใด พึงยังสตรีคฤหัสถ์ ผู้มีอายุครบ 12 ปีแล้ว แต่ยังไม่ศึกษาในธรรม
6 ครบ 2 ปี ให้บวช 1 ภิกษุณีใด พึงยังสตรีคฤหัสถ์ ผู้มีอายุครบ 12 ปี
แล้ว ได้ศึกษาในธรรม 6 ครบ 2 ปีแล้ว แต่สงฆ์ยังมิได้สมมติ ให้บวช 1.
สองบทว่า กุมารีภูตา ติสฺโส จ ได้แก่ สตรีผู้เป็นนางกุมารี
3 จำพวก ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยนัยมีคำว่า ภิกษุณีใด พึงยังสตรีผู้เป็น
นางกุมารี มีอายุหย่อน 20 ปีให้บวช เป็นต้น.
บทว่า อูนทฺวาทสสมฺมตา ได้แก่ 2 สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ภิกษุณีใด มีพรรษาหย่อน 12 พึงเป็นอุปัชฌาย์ยังนางสิกขมานาให้
อุปสมบท 1 ภิกษุณีโด มีพรรษาครบ 12 แล้วแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ พึง
เป็นอุปัชฌาย์ ยังนางสิกขมานาให้อุปสมบท 1.
สองบทว่า อลนฺตา ว โสกาวสฺสํ ได้แก่ 2 สิกขาบทที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด ผู้อันนางภิกษุณีใดกล่าวอยู่ว่า อย่าเพ่อก่อน
แม่คุณ เธออย่ายังนางสิกขมานา ให้บวช ดังนี้เป็นต้น 1 ภิกษุณีใด พึงยัง
นางสิกขมานา ผู้มีใจร้ายยังความโศกให้ครอบงำใจบุรุษให้บวช 1.
สามบทว่า ฉนฺทา อนุวสฺสา จ เทฺว ได้แก่ 3 สิกขาบทที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุณีใด พึงยังนางสิกขมานาให้อุปสมบทด้วยการ
มอบฉันทะที่ตกค้าง 1 ภิกษุณีใด พึงยังนางสิกขมานา ให้อุปสมบทตามปี 1
ภิกษุณีใด พึงยังนางสิกขมานา ให้อุปสมบทปีละ 2 รูป 1.

สามบทว่า สมุฏฺฐานา ติกา กตา มีความว่า 7 สิกขาบทนี้จัด
เป็นติกสมุฏฐาน (คือ เกิดโดยทวาร 3).

[ว่าด้วยสัญจริตตสมุฏฐาน]


สามบทว่า สญฺจริ กุฏิ วิหาโร ได้แก่ สัญจริตตสิกขาบท 1
สัญญาจิกายกุฏิกรณสิกขาบท 1 มหัลลกวิหารกรณสิกขาบท 1.
สองบทว่า โธวนญฺจ ปฏิคฺคโห ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยการให้
ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ให้ชักจีวรเก่า 1 จีวรปฏคคหณสิกขาบท 1.
สองบทว่า วิญฺญตฺตุตฺตริ อภิหฏฐุํ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยการออก
ปากขอจีวรกะคฤหบดีผู้มิใช่ญาติ 1 สิกขาบทว่าด้วยยินดียิ่งกว่าอุตราสงค์ และ
อันตรวาสกนั้น 1.
สองบทว่า อุภินฺนํ ทูตเกน จ ได้แก่ 2 สิกขาบทที่มาว่า
จีวรเจตาปนํ อุปกฺขฏํ โหติ และสิกขาบทว่าด้วยค่าจีวรที่เขาส่งไปด้วยทูต.
หลายบทว่า โกสิยา สุทฺธเทฺวภาคา ฉพฺพสฺสานิ นิสีทนํ
ได้แก่ 5 สิกขาบท มีสิกขาบทที่ว่า โกสิยมิสฺสกํ สนฺถตํ เป็นต้น.
สองบทว่า ริญฺจนฺติ รูปิกา เจว ได้แก่ เอฬกโลมโธวาปนสิกขาบท
ที่มาในคัมภีร์วิภังค์ว่า ริญฺจนฺติ อุทฺเทสํ 1 รูปียปฏิคคหณสิกขาบท 1.
สองบทว่า อุโภ นานปฺปการกา ได้แก่ 2 สิกขาบท คือ รูปิย-
สังโวหารสิกขาบทและกยวิกกยสิกขาบท.
สองบทว่า อูนพนฺธนวสฺสิกา ได้แก่ อูนปัญจพันธนปัตตสิกขาบท
1 วัสสิกสาฏิกสิกขาบท 1.