เมนู

บาทคาถาว่า สทิสา อิธ ทิสฺสเร มีความว่า ในอุภโตวิภังค์นี้
สมุฏฐานทั้งหลายที่คล้ายกัน แม้เหล่าอื่น ย่อมปรากฏ ในสมุฏฐานอันหนึ่ง ๆ
ในบรรดาสมุฏฐาน 13 เหล่านี้.

[ว่าด้วยปฐมปาราชิกสมุฏฐาน]


บัดนี้ ท่านกล่าวคำว่า เมถุนํ สุกฺกสํสคฺโค เป็นต้น เพื่อแสดง
สมุฏฐานเหล่านี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เมถุนํ พึงทราบก่อน. สมุฏฐานใหญ่
อันหนึ่ง ชื่อว่าปฐมปาราชิก. สมุฏฐานที่เหลือ คล้ายกับปฐมปาราชิกสมุฏฐาน
นั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุกฺกสํสคฺโค ได้แก่ สุกกวิสัฏฐิสมุฏฐาน
และกายสังสัคคสมุฏฐาน.
บาทคาถาว่า อนิยตา ปฐมิกา ได้แก่ อนิยตสิกขาบทที่ 1.
บาทคาถาว่า ปุพฺพูปปริปาจิตา ได้แก่ สิกขาบทที่ว่า ชานํ
ปุพฺพูปคตํ ภิกฺขุํ
และภิกขุนีปริปาจิตปิณฑปาตสิกขาบท
บาทคาถาว่า รโห ภิกฺขุนิยา สหํ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วยการนั่ง
ในที่ลับกับภิกษุณี.
บาทคาถาว่า สโภชเน รโห เทฺว จ ได้แก่ สิกขาบทว่าด้วย
การนั่งแทรกแซง ในสโภชนสกุล และรโหนิสัชชสิกขาบททั้ง 2.
บาทคาถา องฺคุลิ อุทเก หสํ ได้แก่ อังคุลีปโฏทกสิกขาบท
และอุทเกหัสสธัมมสิกขาบท.