เมนู

ส่วนกรรมลักษณะ พึงทราบด้วยอำนาจแห่งอุปสมบทกรรม และ
อัพภานกรรม.
ญัตติจตุตถกรรม ย่อมถึงฐานะ 7 เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.
พระอุบาลีเถระ ครั้นแสดงธรรม กรรมวิบัติ และความถึงประเภท
แห่งฐานะแห่งกรรมทั้งหลาย ที่เว้นจากวิบัติด้วยประการอย่างนี้แล้ว บัดนี้
จะแสดงจำนวนแห่งสงฆ์ผู้กระทำกรรมเหล่านั้น จึงกล่าวสืบไปว่า ในกรรม
ที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ เป็นอาทิ. เนื้อความแห่งคำนั้น บัณฑิตพึงทราบ โดย
นัยที่ได้กล่าวแล้ว ในวัณณนาแห่งกรรมวิบัติโดยปริสะนั่นเทียว ฉะนี้แล.
พรรณากัมมวัคค์ จบ

[ประโยชน์แห่งการบัญญัติสิกขาบท]


บัดนี้ พระอุบาลีเถระ ได้เริ่มคำว่า เทฺว อตฺถวเส ปฏิจฺจ เป็นต้น
เพื่อแสดงอานิสงส์ ในการที่ทรงบัญญัติสิกขาบททั้งหลาย ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่ง
กรรมเหล่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า ทิฏฺฐธมฺมิกานํ อาสวานํ สํวราย
มีความว่า เพื่อประโยชน์แก่การระวัง คือ เพื่อประโยชน์แก่การปิด ซึ่งเวร
อันเป็นไปในทิฏฐธรรม 5 มีปาณาติบาตเป็นต้น.
หลายบทว่า สมฺปรายิกานํ อาสวานํ ปฏิฆาตาย มีความว่า เพื่อ
ประโยชน์แก่การกำจัด คือ เพื่อประโยชน์แก่การตัดขาด ได้แก่ เพื่อประโยชน์
แก่การไม่เกิดขึ้น แห่งเวรอันเป็นไปในสัมปรายภพกล่าวคือวิปากทุกข์.