เมนู

ทั้งหลายจะพึงปรับกันและกัน ด้วยอาบัติเหล่านี้, ข้อนั้นจะพึงเป็นอธิกรณ์ก็ได้,
อธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกัน,
ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงระงับอธิกรณ์นี้ ด้วยติณวัตถารกะ
เว้นอาบัติมีโทษล่ำ เว้นอาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์เสีย ดังนี้ ชื่อว่ากรรมลักษณะ.
ญัตติ 2 นับฝ่ายละ 1 ญัตติ ต่อจากสัพพสังคาหิกาญัตตินั้นไป ก็
เหมือนกัน.
ญัตติกรรมมีประเภทตามที่กล่าวแล้ว ย่อมถึงฐานะ 9 เหล่านี้ คือ
โอสารณา นิสสารณา อุโบสถ ปวารณา สมมติ การให้ การรับ การเลื่อน
ปวารณาออกไป และกรรมลักษณะเป็นที่ 9 ด้วยประการฉะนั้น.

[ญัตติทุติยกรรม]


อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในประเภทแห่งฐานะแห่งญัตติทุติยกรรม ดัง
ต่อไปนี้ :-
พึงทราบนิสสารณาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในขันธกะ. ด้วยอำนาจ
คว่ำบาตรแก่วัฑฒลิจฉวี และโอสารณาที่ตรัสด้วยอำนาจหงายบาตรแก่วัฑฒ-
ลิจฉวีนั้นแล.
พึงทราบสมมติ เนื่องด้วยสมมติเหล่านี้ คือ สมมติสีมา สมมติแดน
ไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร สมมติสันถัต สมมติพระภัตตุทเทสก์ สมมติภิกษุผู้
เสนาสนคาหาปกะ สมมติภิกษุผู้รักษาเรือนคลัง สมมติภิกษุผู้รับแจกจีวร
สมมติภิกษุผู้แจกจีวร สมมติภิกษุผู้แจกยาคู สมมติภิกษุผู้แจกของเคี้ยว สมมติ
ภิกษุผู้แจกผลไม้ สมมติภิกษุผู้แจกของเล็กน้อย สมมติภิกษุผู้รับผ้า สมมติ
ภิกษุผู้ปัตตคาหาปกะ สมมติภิกษุผู้ใช้คนวัด สมมติภิกษุผู้ใช้สามเณร.

การให้ พึงทราบด้วยอำนาจการให้จีวรกฐิน และให้จีวรมรดก.
การถอน พึงทราบด้วยอำนาจการรื้อกฐิน.
การแสดง พึงทราบด้วยอำนาจแสดงฟื้นที่สร้างกุฎี และพื้นที่สร้าง
วิหาร.
กรรมลักษณะ พึงทราบด้วยอำนาจญัตติทุติยกรรมวาจา 2 ที่ท่าน
กล่าวไว้ในติณวัตถารกสมถะ คือ เว้นญัตติ 3 อย่าง คือ สัพพสังคาหิกาญัตติ
และญัตติในฝ่ายหนึ่ง ๆ ฝ่ายละ 1 ญัตติเสีย ได้แก่ กรรมวาจาอีกฝ่ายละ 1.
ญัตติทุติยกรรม ย่อมถึงฐานะ 7 นี้ ด้วยประการนี้.

[ญัตติจตุตถกรรม]


อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในประเภทแห่งฐานแห่งญัตติจตุตถกรรม ดัง
ต่อไปนี้ :-
นิสสารณา พึงทราบด้วยอำนาจกรรม 7 อย่าง มีตัชชนียกรรมเป็นต้น.
โอสารณา พึงทราบด้วยอำนาจการระงับกรรมเหล่านั้นแล.
สมมติ พึงทราบด้วยอำนาจสมมติภิกษุผู้สอนภิกษุณี.
การให้ พึงทราบด้วยอำนาจการให้ปริวาสและให้มานัต.
นิคคหะ พึงทราบด้วยอำนาจมูลายปฏิกัสสกรรม.
สมนุภาสนา พึงทราบด้วยอำนาจสมนุภาส 11 อย่างเหล่านี้ คือ
อุกขิตตานุวัตตกสิกขาบท ยาวตติยกสิกขาบท 8 (ของภิกษุณี) อริฏฐสิกขาบท
และจัณฑาลีสิกขาบท ยาวตติยกสิกขาบทนั้นเหล่านี้.