เมนู

สงฆ์หรือคณะนั้น พึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไป หรือภิกษุรูปหนึ่งนั้นพึงไป
เองทีเดียว แล้วกล่าวกะภิกษุณีทั้งหลายว่า ภิกษุนี้พิจารณาแล้ว ตั้งอยู่ในสังวร
ต่อไป ภิกษุณีสงฆ์ อันภิกษุนี้สารภาพโทษแล้ว ขอโทษแล้ว, ขอภิกษุณี
สงฆ์ จงทำภิกษุนี้ให้เป็นผู้อันตนพึงไหว้เถิด. ภิกษุนั้น อันภิกษุณีสงฆ์พึงทำ
ให้เป็นผู้อันตนพึงไหว้.
ก็แลเมื่อจะทำ พึงทำอย่างนี้ :-
ภิกษุณีผู้ฉลาด พึงสวดประกาศ โดยอนุมัติของภิกษุณีสงฆ์ผู้ประชุม
กันในสำนักภิกษุณีว่า แม้เจ้า ข้าพเจ้าถามภิกษุณีสงฆ์ว่า พระผู้เป็นเจ้าชื่อโน้น
แสดงอาการไม่น่าเลื่อมใสแก่ภิกษุณีทั้งหลาย; พระผู้เป็นเจ้านั้น อันภิกษุณี
สงฆ์ทำให้เป็นผู้อันตนไม่พึงไหว้แล้ว หันเข้าหาลัชชีธรรม พิจารณาแล้ว ตั้ง
อยู่ในสังวรต่อไป สารภาพโทษแล้ว ขอโทษภิกษุณีสงฆ์อยู่, การทำพระผู้
เป็นเจ้านั้น ให้เป็นผู้อันภิกษุณีทั้งหลายพึงไหว้ ชอบใจสงฆ์หรือ ? พึงกล่าว
3 ครั้ง. ภิกษุนั้น อันภิกษุณีสงฆ์พึงทำให้เป็นผู้อันตนพึงไหว้ด้วยอปโลกน-
กรรมนั่นแล อย่างนี้.

[กรรมลักษณวินิจฉัย]


ก็ในกัมมวัคค์นี้ มีวินิจฉัยกรรมลักษณะแม้ที่พ้นจากบาลี พึงทราบ
ดังต่อไปนี้ :-
จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า กรรมลักษณะ ทรงบัญญัติมีภิกษุณีสงฆ์เป็นมูล
แต่ย่อมได้แก่ภิกษุสงฆ์ด้วยแท้.

ก็ภิกษุสงฆ์ทำอปโลกนกรรมใด ในโรงสลาก โรงยาคู โรงภัตต์
และโรงอุโบสถ, อปโลกนกรรมแม้นั้น เป็นกรรมลักษณะแท้.
อันการที่ภิกษุผู้ฉลาด ให้ประชุมสงฆ์แล้ว สวดประกาศเพียงครั้งที่
3 ทำอปโลกนกรรม ให้จีวรแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีจีวรถูกโจรชิง ผู้มีจีวรเก่า
และผู้มีจีวรหาย ย่อมควร. แต่ของเล็กน้อยมีเข็มเป็นต้น มีประเภทซึ่งกล่าว
แล้วในเสนาสนขันธกวัณณนา อันภิกษุผู้แจกของเล็กน้อย แม้ไม่ต้องอปโลกน์
ก็ให้แก่ภิกษุผู้ทำจีวรได้. ภิกษุผู้แจกของเล็กน้อยนั้นเท่านั้น เป็นใหญ่ในการ
ให้ของเล็กน้อยเหล่านั้น. เมื่อจะให้ของที่เกินกว่านั้น ต้องอปโลกน์ให้. เพราะ
ว่าสงฆ์เป็นเจ้าของในการให้ของที่เกินกว่านั้น.
แม้คิลานเภสัช ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วในเสนาสนขันธกวัณณนานั้น
อันภิกษุผู้แจกของเล็กน้อย พึงให้เองก็ได้. พึงอปโลกน์ให้แก่ภิกษุผู้ต้อง
การมาก.
ก็แต่ว่า ภิกษุใด ไม่มีกำลังก็ดี เป็นง่อยก็ดี ขาดทางภิกษาจารก็ดี
อาพาธหนักก็ดี, สำหรับภิกษุนั้น เมื่อจะให้ข้าวสารหนึ่งทะนาน หรือกึ่งทะนาน
ทุก ๆ วัน หรือจะให้ข้าวสาร 5 ทะนานหรือ 10 ทะนานเฉพาะวันเดียว จาก
กัลปนาสงฆ์ที่เกิดในที่นั้น ในอาวาสใหญ่ทั้งหลาย ต้องทำอปโลกนกรรมให้.
เพื่อจะปลดกังวลคือหนี้แก่ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักก็ดี จะให้เสนาสนะที่ไม่ต้องย้าย
แก่ภิกษุผู้เป็นพหูสูตช่วยภาระของสงฆ์ก็ดี จะให้เบี้ยเลี้ยงแก่อารามิกชนมีกัปปิย-
การกเป็นต้น ผู้ทำกิจของสงฆ์ก็ดี จากกัลปนาสงฆ์ที่เกิดในอาวาสนั้น ควรให้
ด้วยอปโลกนกรรมเท่านั้น.

จะให้บำรุงอาวาสของสงฆ์ จากกัลปนาสงฆ์ที่เกิดขึ้นในอาวาสนั้นซึ่ง
ทายกถวาย ด้วยอำนาจจตุปัจจัย ก็ควร. แต่เพื่อตัดคำติเตียนว่า ภิกษุนี้
ย่อมจัดการ ด้วยถือคนเป็นใหญ่ จึงควรถามสงฆ์ที่ในโรงสลากเป็นต้น หรือ
ในที่ประชุมอื่นเสียก่อน จึงให้บำรุง.
อาวาสอันภิกษุผู้ฉลาดพึงอปโลกน์แล้วให้บำรุง แม้จากกัลปนาสงฆ์ที่
เกิดขึ้นในอาวาสนั้นที่ทายกเจาะจงถวาย เพื่อประโยชน์แกจีวรและบิณฑบาต.
แม้จะไม่อปโลกน์ ก็ควร. แต่เพื่อตัดคำติเตียนซึ่งเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ภิกษุนี้
กล้าจริงนะ ให้บำรุงอาวาสจากกัลปนาสงฆ์ที่เขาให้ เพื่อประโยชน์แก่จีวรและ
บิณฑบาต จึงควรทำอปโลกนกรรมก่อน แล้วจึงให้บำรุง.
เมื่อทำฉัตรหรือเวทีที่เจดีย์ หรือเรือนโพธิ หรือหอฉันซึ่งยังไม่ได้
ทำก็ดี จะปฏิสังขรณ์สิ่งที่ทรุดโทรมก็ดี จะทำการก่อด้วยปูนก็ดี ชักชวนพวก
ชาวบ้านช่วยทำ ก็ควร. ถ้าไม่มีผู้ทำ, พึงให้ทำจากรายได้ที่ฝากไว้เพื่อเจดีย์.
แม้เมื่อรายได้ที่ฝากไว้ไม่มี ก็พึงทำอปโลกนกรรมแล้วให้จัดทำ จากกัลปนา-
สงฆ์ที่เกิดขึ้นในอาวาสนั้น จะอปโลกน์แล้วกระทำกิจของเจดีย์แม้ด้วยทรัพย์
ของสงฆ์ก็ควร. แม้อปโลกน์แล้วทำกิจของสงฆ์ด้วยทรัพย์ของเจดีย์หาควรไม่.
แต่จะถือเอาเป็นของยืมแล้วใช้คืนให้อย่างเดิม ควรอยู่.
แต่การที่ภิกษุทั้งหลายผู้ทำสุธากรรมเป็นต้นที่เจดีย์ เมื่อไม่ได้อาหาร
พอยังอัตภาพให้เป็นไป จากภิกขาจารหรือจากสงฆ์ จะจ่ายอาหารพอยังอัตภาพ
ให้เป็นไป จากทรัพย์ของเจดีย์มาฉัน กระทำวัตร (ทดแทน) ก็ควร.
จะทำสังฆภัตรด้วยปลาและเนื้อเป็นต้น ด้วยอ้างว่า เราทำวัตร หา
ควรไม่.

ต้นไม้มีผลเหล่าใด แม้ที่ปลูกไว้ในวัด เป็นของที่สงฆ์หวงห้าม ย่อม
ได้การบำรุง. ภิกษุทั้งหลายย่อมตีระฆังแล้วแบ่งกันฉัน ซึ่งผลทั้งหลายแห่ง
ต้นไม้เหล่าใด, ในต้นไม้เหล่านั้น ไม่ควรทำอปโลกนกรรม
ส่วนต้นไม้มีผลเหล่าใด อันสงฆ์ไม่หวงห้าม, ในต้นไม้เหล่านั้นแล
ควรทำอปโลกกรรม. ก็อปโลกนกรรมนั้น ควรทำแม้ในโรงสลาก โรงยาคู
โรงภัตร และที่ประชุมอื่น. อนึ่ง ในโรงอุโบสถก็ควรทำแท้. เพราะ ฉันทะ
และปาริสุทธิของภิกษุทั้งหลาย แม้ผู้มิได้มาในโรงอุโบสถนั้น อันภิกษุรูปหนึ่ง
ย่อมนำมา. เพราะเหตุนั้น อปโลกนกรรมนั้น ย่อมเป็นกรรมที่ชำระให้หมด
จดดี.
ก็แลเมื่อจะทำ พึงทำอย่างนี้ :-
ภิกษุผู้ฉลาด พึงสวดประกาศโดยอนุมัติของภิกษุสงฆ์ว่า ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าถามสงฆ์ว่า สิ่งใดเป็นของสงฆ์ มีราก เปลือก ใบ หน่อ ดอก และ
ผล ซึ่งควรขบฉันได้เป็นต้น มีอยู่ ภายในสีมาในวัดนี้, การที่ภิกษุทั้งหลาย
ที่มาแล้ว ๆ บริโภคสิ่งทั้งปวงนั้นตามสบาย ชอบใจสงฆ์หรือ ? พึงถาม 3
ครั้ง. อปโลกนกรรมนั้น อันภิกษุ 4 -5 รูปทำแล้ว ก็เป็นอันใช้ได้แท้.
ภิกษุ 2-3 รูปอยู่ในวัดแม้ใด, อปโลกนกรรมแม้ที่ภิกษุเหล่านั้นนั่ง
ทำแล้วในวัดนั้น ย่อมเป็นเช่นกับอปโลกนกรรมที่สงฆ์ทำแล้วแท้. อนึ่ง ใน
วัดใด มีภิกษุรูปเดียว, กติกวัตรแม้ที่ภิกษุนั้น ผู้นั่งกระทำบุพกรณ์และ
บุพกิจกระทำแล้วในวันอุโบสถ ย่อมเป็นเช่นกับอปโลกนกรรมที่สงฆ์กระทำ
แล้วเหมือนกัน.

ก็แลกติกวัตรนั้น อันภิกษุผู้จะทำ แม้ทำตามคราวแห่งผลไม้ก็ควร.
กำหนดทำอย่างนี้ว่า 4 เดือน 6 เดือน 1 ปี ก็ตาม, ไม่กำหนดทำก็ตาม ควร
ทั้งนั้น
ในคราวที่กำหนด พึงบริโภคตามที่กำหนดไว้ แล้วทำใหม่. ในคราว
ที่ไม่กำหนด ควรเพียงกาลที่ต้นไม้ทั้งหลายยังทรงอยู่. ต้นไม้เหล่าอื่นแม้ใด
ที่เพาะแล้ว ด้วยพืชทั้งหลายแห่งต้นไม้เหล่านั้น, กติกานั้นแล ใช้สำหรับต้น
ไม้เหล่านั้นด้วย
ก็ถ้าว่า เป็นต้นไม้ที่เพาะปลูกในวัดอื่น, สงฆ์ในวัดซึ่งเป็นผู้ที่ปลูก
เท่านั้น เป็นเจ้าของต้นไม้เหล่านั้น.
ต้นไม้แม้เหล่าใด อันใคร ๆ นำพืชมาจากที่อื่น ปลูกลงทีหลังในวัด
ดั้งเดิม, สำหรับต้นไม้เหล่านั้น ต้องทำกติกาอย่างอื่น. เมื่อทำกติกาแล้ว ต้น
ไม้เหล่านั้น ย่อมตั้งอยู่ในฐานเป็นของบุคคล. ควรบริโภคผลเป็นต้นตามสบาย.
ก็ถ้าว่า ภิกษุทั้งหลายในวัดดั้งเดิมนี้ ล้อมโอกาสนั้น ๆ ทำบริเวณไว้
แล้วทำนุบำรุงอยู่. ภิกษุเหล่าใด ทำนุบำรุง, ต้นไม้เหล่านั้น ตั้งอยู่ในฐาน
เป็นของบุคคลแห่งภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่าอื่นย่อมไม่ได้เพื่อบริโภค. แต่
ภิกษุผู้ทำนุบำรุงเหล่านั้น ต้องให้ส่วนที่ 10 แก่สงฆ์ แล้วจึงบริโภค
แม้ภิกษุใด เอากิ่งไม้ล้อมรักษาไว้กลางวัด แม้ภิกษุนั้น ก็นัยนี้แล.
ด้วยความดีใจว่า พระเถระมาแล้ว สามเณรทั้งหลายจึงนำผลไม้น้อย
ใหญ่มาถวายภิกษุผู้ควรยกย่อง ซึ่งไปสู่วัดเก่าแก่. ถ้าว่าในกาลครั้งเดิม ภิกษุ
ผู้เป็นพหูสูต ทรงปริยัติธรรมทั้งสิ้น อยู่ในวัดนั้น. ภิกษุนั้นพึงบริโภค โดย
ไม่ต้องมีความรังเกียจว่า ในวัดนี้จักมีกติกาที่ทำไว้ยั่งยืนเป็นแน่. ผลไม้น้อย

ใหญ่ในวัด ย่อมควรแม้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ถือบิณฑปาติกธุดงค์ คือไม่ยังธุดงค์
ให้เสีย.
สามเณรทั้งหลายถวายผลไม้น้อยใหญ่เป็นอันมาก แก่อาจารย์ และ
อุปัชฌาย์ของตน, ภิกษุเหล่าอื่น เมื่อไม่ได้ย่อมโพนทะนา การโพนทะนานั้น
ก็เป็นสักว่าโพนทะนาเท่านั้น.
แต่ถ้าเป็นคราวที่ภิกษาฝืดเคือง, ชนทั้ง 60 อาศัยขนุนต้นเดียวเลี้ยง
ชีวิต. ในกาลเช่นนั้น ต้องแบ่งกันกิน เพื่อประโยชน์จะทำการสงเคราะห์ให้
ทั่วถึงกัน. ทำเช่นนี้เป็นการชอบ.
ก็แล้ววัตรตามกติกา ยังไม่ระงับเพียงใด, ผลไม้ที่ภิกษุเหล่านั้นฉัน
แล้ว เป็นอันฉันแล้วด้วยดีแท้เพียงนั้น. ก็เมื่อไรเล่า วัตรตามกติกา จึงจะ
ระงับ ?. ในกาลใด สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงประชุมกันสวดประกาศว่า ตั้งแต่วัน
นี้ไป ภิกษุทั้งหลายจงแบ่งกันฉัน, ในกาลนั้น วัตรตามกติกา ย่อมระงับ.
อนึ่ง ในวัดที่มีภิกษุรูปเดียวเมื่อคำประกาศ แม้อันภิกษุรูปเดียวประกาศ กติกา
เดิม ย่อมระงับเหมือนกัน.
ถ้าว่า เมื่อกติการะงับแล้ว สามเณรทั้งหลายหาได้ยังผลไม้ทั้งหลาย
ให้หล่นจากต้นไม่ หาได้เก็บผลไม้จากพื้นดินถวายภิกษุทั้งหลายไม่, เที่ยว
เหยียบย่ำผลไม้หล่นแล้วเสียด้วยเท้า. สงฆ์พึงเพิ่มผลไม้ให้แก่สามเณรเหล่า
นั้น ตั้งแต่เสี้ยวที่ 10 จนถึงกึ่งส่วนแห่งผลไม้. เพราะได้เพิ่มส่วน พวกเธอ
จักนำมาถวายแน่แท้.
ในคราวที่ภิกษากลับหาได้ง่ายอีก เมื่อกัปปิยการกทั้งหลาย มาทำการ
ล้อมด้วยกิ่งไม้เป็นต้น รักษาต้นไม้ไว้ ไม่ต้องให้ส่วนเพิ่มแก่พวกสามเณร
พึงแบ่งกันบริโภค.

ชนทั้งหลาย จากบ้านรอบวัดคิดว่า ในวัดมีผลไม้น้อยใหญ่ จึงมาของ
เพื่อประโยชน์แก่คนไข้หรือหญิงมีครรภ์ว่า ขอท่านจงให้มะพร้าว 1 ผล, จง
ให้มะม่วง 1 ผล จงให้ขนุนสำมะลอ 1 ผล; ถามว่า ควรให้หรือไม่ควร ?
ตอบว่า ควรให้. เพราะว่า เมื่อภิกษุทั้งหลายไม่ให้ พวกเขาจะพากันเสียใจ.
แต่เมื่อจะให้ ต้องให้ประชุมสงฆ์ สวดประกาศเพียงครั้งที่ 3 ทำอปโลกนกรรม
ให้หรือพึงทำกติกวัตรตั้งไว้.
ก็แลกติกวัตรนั้น อันสงฆ์พึงทำอย่างนี้ :-
ภิกษุผู้ฉลาด พึงสวดประกาศโดยอนุมัติของสงฆ์ว่า ชนทั้งหลาย จาก
บ้านรอบวัดมาขอผลไม้น้อยใหญ่ เพื่อประโยชน์แก่คนไข้เป็นต้น, การที่ไม่
ห้ามชนเหล่านั้น ผู้ถือเอามะพร้าว 2 ผล ตาล 2 ผล ขนุน 2 ผล มะม่วง
5 ผล กล้วย 5 ผล และการที่ไม่ห้ามชนเหล่านั้น ผู้ถือเอาผลไม้จากต้นไม้
โน้น ชอบใจแก่ภิกษุสงฆ์ ดังนี้ พึงสวด 3 ครั้ง. จำเดิมแต่นั้น ชนเหล่านั้น
เมื่อระบุชื่อคนไข้เป็นต้นขอ อันภิกษุทั้งหลายไม่พึงกล่าวว่า เอาเถิด. แต่พึง
บอกวัตรว่า สงฆ์ได้ตกลงไม่ห้ามชนทั้งหลาย ผู้ถือเอาผลมะพร้าวเป็นต้น โดย
จำกัดชื่อนี้ และผู้ถือเอาผลไม้จากต้นไม้โน้น. แต่ไม่พึงเที่ยวตามบอกว่า
มะม่วงต้นนี้ มีผลอร่อย ท่านจงเก็บจากต้นนี้.
อนึ่ง ภิกษุผู้อันสงฆ์สมมติแล้ว พึงให้กิ่งส่วนแก่ชนเหล่านั้น ผู้มา
แล้วในเวลาแบ่งผลไม้. ภิกษุที่สงฆ์ไม่ได้สมมติ พึงอปโลกน์ให้. บุคคลผู้สิ้น
เสบียงก็ดี พ่อค้าเกวียนผู้จะเดินทางก็ดี อิสรชนอื่นก็ดีมาขอ พึงอปโลกน์ให้.
เมื่อเขาเก็บกินโดยพลการ ก็ไม่พึงห้าม. เพราะเขาโกรธแล้ว จะพึงตัดต้นไม้
เสียก็ได้ จะพึงทำความฉิบหายอย่างอื่นก็ได้. เมื่อเขามายังบริเวณส่วนตัวบุคคล

ขอโดยชื่อคนไข้ ภิกษุผู้เป็นเจ้าของ พึงบอกว่า ฉันปลูกไว้เพื่อประโยชน์แก่
ร่มเงาเป็นต้น. ถ้าผลมี ท่านจงรู้เองเถิด.
ก็ถ้าว่า ต้นไม้ทั้งหลายมีผลดก. ภิกษุเอาหนามสะไว้ ฉันผลเป็น
คราว ๆ. ภิกษุนั้น เมื่อไม่หวังตอบแทนแล้ว ก็พึงให้. เมื่อเขาเก็บเอาโดย
พลการ ก็ไม่พึงห้าม. เหตุในข้อที่ไม่ควรห้ามนี้ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วใน
หนหลังแล.
สวนผลไม้ของสงฆ์มี แต่ไม่ได้ในการบำรุง. หากว่า ภิกษุบางรูป
บำรุงสวนนั้น ด้วยมุ่งวัตรเป็นใหญ่, สวนนั้นยังคงเป็นของสงฆ์. แม้ถ้าว่า
สงฆ์มอบให้เป็นภาระของภิกษุผู้สามารถบางรูปว่า สัตบุรุษ ท่านจงช่วยบำรุง
สวนนี้ให้เถิด, หากภิกษุนั้น บำรุงด้วยมุ่งวัตร, แม้อย่างนี้ ก็ยังเป็นของสงฆ์.
แต่สงฆ์พึงให้ส่วนเพิ่มเพียงเสี้ยวที่ 3 หรือกึ่งส่วน แก่ภิกษุนั้นผู้หวังส่วนเพิ่ม.
ก็แลเมื่อเธอกล่าวว่า เป็นกรรมหนัก แล้วไม่ปรารถนาด้วยส่วนเพิ่ม
เพียงเท่านั้น ภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวบ้างว่า ท่านจงทำผลไม้ทั้งหมดให้เป็นของ
ท่านคนเดียว จงให้เพียงส่วนที่ 10 เป็นส่วนมูลค่า แล้วบำรุงเถิด. แต่ไม่พึง
ให้ด้วยอำนาจขาดมูลค่า เพราะสวนนั้นเป็นครุภัณฑ์.
ภิกษุผู้ให้ส่วนแห่งมูลค่าแล้วฉันนั้น ให้สร้างเสนาสนะที่อยู่ซึ่งยังไม่ได้
สร้างบ้าง ท่านุบำรุงเสนาสนะที่เขาสร้างไว้แล้วบ้าง แล้วมอบสวนแก่พวก
นิสสิต. แม้พวกนิสสิตนั้น ก็พึงให้ส่วนแห่งมูลค่า.
ก็ภิกษุทั้งหลายสามารถจะบำรุงเองในกาลใด, ในกาลนั้น สงฆ์ไม่พึง
ให้ภิกษุเหล่านั้นบำรุง, ไม่พึงห้าม ในกาลที่ผลไม้อันพวกเธอได้บำรุงแล้ว.
พึงห้ามในเวลาที่เริ่มจะบำรุงเท่านั้น. พึงกล่าวว่า พวกท่านได้ฉันมากแล้ว,
บัดนี้อย่าบำรุงเลย, ภิกษุสงฆ์จักบำรุงเอง.

ก็ถ้าว่า ผู้บำรุงด้วยมุ่งวัตรก็ไม่มี ผู้บำรุงด้วยหวังส่วนเพิ่มก็ไม่มี, ทั้ง
สงฆ์ก็ไม่สามารถจะบำรุงเองไซร้, ภิกษุรูป 1 ไม่เรียนสงฆ์ก่อน บำรุงเอง
ทำให้เจริญแล้วหวังส่วนเพิ่ม, ส่วนเพิ่มอันสงฆ์พึงเพิ่มให้ด้วยอปโลกนกรรม.
อปโลกนกรรมแม้ทั้งปวงนี้ จัดเป็นกรรมลักษณะแท้. อปโลกนกรรม
ย่อมถึงฐานะ 5 เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

[ญัตติกรรม]


อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัย ในประเภทแห่งฐานแห่งญัตติกรรม ดังต่อ
ไปนี้ :-
วาจาสำหรับเรียกอุปสัมปทาเปกขะเข้ามา อย่างนี้ว่า ขอสงฆ์จงฟัง
ข้าพเจ้า ผู้มีชื่อนี้เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านผู้มีอายุชื่อนี้ ข้าพเจ้าสอนซ้อม
เขาแล้ว, ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว ขอผู้มีชื่อนี้พึงมา เพราะฉะนั้น
ผู้มีชื่อนี้อันข้าพเจ้าพึงเรียกว่า เจ้าจงมา ดังนี้ ชื่อว่าโอสารณา.
วาจาสำหรับถอนภิกษุผู้ธรรมกถึกออก ในอุพพาหิกวินิจฉัย อย่างนี้ว่า
ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า, ภิกษุผู้มีชื่อนี้รูปนี้เป็นธรรมกถึก, สูตรของ
พระธรรมกถึกนี้ หามาไม่, วิภังค์แห่งสูตรก็หามาไม่, เธอไม่พิจารณาอรรถ
ค้านอรรถด้วยเงาแห่งพยัญชนะ, ถ้าความพรั่งพร้อมของท่านทั้งหลายถึงที่แล้ว,
พึงถอนภิกษุชื่อนี้ออกเสีย พวกเราที่เหลือพึงระงับอธิกรณ์นี้ ดังนี้ ชื่อว่า
นิสสารณา.
ญัตติที่ตั้งด้วยอำนาจอุโบสถกรรมอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญขอสงฆ์จงฟัง
ข้าพเจ้า อุโบสถวันนี้ที่ 15, ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้ว, สงฆ์พึงทำ
อุโบสถ ดังนี้ ชื่อว่าอุโบสถ.