เมนู

ประคดเอวที่ถักทำให้มีสัณฐานกลมดังตะโพน ชื่อ มุรชชํ.
ประคดเอวที่มีทรวดทรงดังสังวาล ชื่อ มทฺทวีณํ.
จริงอยู่ ประคดเอวเช่นนี้ แม้ชนิดเดียวก็ไม่ควร ไม่จำต้องกล่าวถึง
มากชนิด.
วินิจฉัยในคำว่า ปฏฺฏิกํ สูกรนฺตกํ นี้ พึงทราบดังนี้.
ประคดแผ่นที่ทอตามปกติ หรือถักเป็นก้างปลา ย่อมควร.
ประคดที่เหลือ ต่างโดยประคดตาช้างเป็นต้น ไม่ควร.
ขึ้นชื่อว่าประคดไส้สุกร เป็นของมีทรวดทรงคล้ายไส้สุกรและฝัก
กุญแจ. ส่วนประคดเชือกเส้นเดียวและประคดกลม อนุโลมตามประคดไส้สุกร.
คำที่ว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการถักด้ายให้กลม การถักดังสาย
สังวาล" นี้ ทรงอนุญาตเฉพาะที่ชายทั้ง 2. ก็ในชายกลมและชายดังสายสังวาลนี้
ชายดังสายสังวาล เกิน 4 ชาย ไม่ควร.
การทบเข้ามาแล้วเย็บขอบปาก ซึ่ง โสภกํ.
การเย็บโดยสัณฐานดังวงแหวน ชื่อ คุณกํ.
จริงอยู่ ชายประคดที่เย็บอย่างนั้น ย่อมเป็นของแน่น. ร่วมในห่วง
เรียกว่า ปวนนฺโต.

[ว่าด้วยการนุ่งห่ม]


ผ้านุ่งที่ทำชายพกมีสัณฐานดังงวงช้าง ให้ห้อยลงไปตั้งแต่สะดือ
เหมือนการนุ่งของสตรีชาวโจลประเทศ ชื่อว่านุ่งเป็นงวงช้าง.
ผ้านุ่งที่ห้อยปลายไว้ข้าง 1 ห้อยชายพกไว้ข้าง 1 ชื่อว่านุ่งเป็น
หางปลา.
นุ่งปล่อยชายเป็น 4 มุมอย่างนี้ คือ ข้างบน 2 มุม ข้างล่าง 2 มุม
ชื่อว่านุ่งเป็น 4 มุม.

นุ่งห้อยลงไป โดยท่าทางดังก้านตาล ชื่อว่านุ่งดังก้านตาล.
ผ้าผืนยาวให้ม้วนเป็นชั้น ๆ นุ่งโจงกระเป็นก็ดี นุ่งยกกลีบเป็นลอนๆ
ที่ข้างซ้ายและข้างขวาก็ดี. ชื่อว่ายกกลีบตั้งร้อย. แต่ถ้าว่าปรากฏเป็นกลีบเดียว
หรือ 2 กลีบตั้งแต่เข่าขึ้นไป ย่อมควร.
สองบทว่า สํเวลิยํ นิวาเสนฺติ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์นุ่ง
หยักรั้ง ดังนักมวยและกรรมกรเป็นต้น. การนุ่งหยักรั้งนั้น ย่อมไม่ควรแก่
ภิกษุ ทั้งผู้อาพาธ ทั้งผู้เดินทาง.
ภิกษุทั้งหลายผู้กำลังเดินทาง ยกมุมข้าง 1 หรือ 2 ข้างขึ้นเหน็บบน
สบง หรือนุ่งผ้ากาสาวะผืน 1 อย่างนั้น ไว้ข้างนั้นแล้ว นุ่งอีกผืน 1 ทับ
ข้างนอกแม้อันใด การนุ่งห่มเห็นปานนั้น ทั้งหมด ไม่ควร.
ฝ่ายภิกษุผู้อาพาธ จะนุ่งโจงกระเบนผ้ากาสาวะไว้ข้างใน แล้วนุ่งอีก
ผืน 1 ทับข้างนอก ก็ได้.
ภิกษุผู้ไม่อาพาธ เมื่อจะนุ่ง 2 ผืน พึงซ้อนกันเข้าเป็น 2 ชั้น
นุ่ง. ด้วยประการอย่างนี้ พึงเว้นการนุ่งทั้งปวงที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม
ในขุททกวัตถุขันธกะนี้ และที่พระอรรถกถาจารย์ห้ามในเสขิยวัณณนา* ปกปิด
ให้ได้มณฑล 3 ปราศจากวิการ นุ่งให้เรียบร้อย. เธอเมื่อทำให้วิการอย่างใด-
อย่างหนึ่ง ไม่พ้นทุกกฏ.
การที่ไม่ห่ม ดังการห่มของคฤหัสถ์ที่ทรงห้ามไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงห่มอย่างคฤหัสถ์ ดังนี้ ห่มจัดมุมทั้ง 2 ให้เสมอกัน
ชื่อว่า ห่มเรียบร้อย. การห่มเรียบร้อยนั้น อันภิกษุพึงห่ม.
* สมนฺต. ทุติย. 492.

ในการห่มดังคฤหัสถ์และการห่มเรียบร้อยนั้น การห่มอย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่ห่มแล้วโดยประการอื่น จากลักษณะที่เรียบร้อยมีอาทิอย่างนี้ คือ ห่มผ้าขาว
ห่มอย่างปริพาชก ห่มอย่างคนที่ใช้ผ้าผืนเดียว ห่มอย่างนักเลง ห่มอย่างชาววัง
ห่มคลุมทั้งตัวดังคฤหบดีผู้ใหญ่ ห่มดังชาวนาเข้ากระท่อม ห่มอย่างพราหมณ์
ห่มอย่างภิกษุผู้จัดแถว การห่มนี้ทั้งหมด ชื่อว่าห่มอย่างคฤหัสถ์.
เพราะเหตุนั้น นิครนถ์ทั้งหลาย ผู้ใช้ผ้าขาว คลุมกายครึ่งเดียว
ย่อมห่นฉันใด, อนึ่ง ปริพาชกบางพวก เปิดอกพาดผ้าห่มไว้บนจะงอยบ่าทั้ง
2 ฉันใด, อนึ่ง คนทั้งหลายที่ใช้ผ้าผืนเดียว เอาชายผ้านุ่งข้าง 1 คลุมหลัง
พาดมุมทั้ง 2 บนจะงอยบ่าทั้ง 2 ฉันใด, อนึ่ง พวกนักเลงสุราเป็นต้น เอาผ้า
พันคอ ห้อยชายทั้ง 2 ลงไปที่ท้องบ้าง ตวัดไว้บนหลังบ้าง ฉันใด, อนึ่ง
สตรีชาววังเป็นต้น ห่มคลุมศีรษะเปิดแต่หน่วยตาไว้ ฉันใด, อนึ่ง คฤหบดี
ผู้เป็นใหญ่ทั้งหลาย นุ่งผ้ายาวคลุมตัวทั้งหมด ด้วยชายข้าง 1 แห่งชายผ้านั้นเอง
ฉันใด, อนึ่ง พวกชาวนา เมื่อจะเข้าสู่กระท่อมนา ห่มผ้าตวัดเข้าไปในซอก
รักแร้แล้วคลุมตัวด้วยชายข้าง 1 แห่งผ้านั้นเอง ฉันใด, อนึ่ง พวกพราหมณ์
สอดผ้าเข้าไปทางซอกรักแร้ทั้ง 2 แล้วตวัดไว้บนจะงอยบ่าทั้ง 2 ฉันใด, อนึ่ง
ภิกษุผู้จัดแถว เปิดแขนซ้ายที่ห่มด้วยผ้าห่มเฉวียงบ่า ยกจีวรขึ้นพาดบนจะงอย
บ่า ฉันใด, ภิกษุไม่พึงห่มฉันนั้นเลยทีเดียว พึงเว้นโทษแห่งการห่มเหล่านั้น
ทั้งหมด และโทษแห่งการห่มเห็นปานนั้นเหล่าอื่นเสีย ห่มให้เรียบร้อย ปราศ
จากวิการ.
เมื่อภิกษุผู้ไม่ห่มอย่างนั้น กระทำวิการอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยไม่
เอื้อเฟื้อ ในวัดก็ตาม ในละแวกบ้านก็ตาม ย่อมเป็นทุกกฏ.

[ว่าด้วยหาบเป็นต้น]


บทว่า มุณฺฑวฏฺฏี มีอธิบายว่า เหมือนคนหาบของสำหรับใช้ ของ
พระราชาผู้เสด็จไปไหน ๆ.
บทว่า อนฺตรากาชํ ได้แก่ ภาระที่จะพึงคล้องไว้กลางคาน แล้ว
หามไป 2 คน.
บทว่า อจกฺขุสฺสํ คือเป็นของไม่เกื้อกูลแก่จักษุ ได้แก่ ยังความเสีย
ให้เกิดแก่ภิกษุ.
บทว่า น ฉาเทติ ได้แก่ ไม่ชอบใจ.
บทว่า อฏฺฐงฺคุลปรมํ ได้แก่ ไม้สีฟันยาว 8 นิ้วเป็นอย่างยิ่ง
ด้วยนิ้วขนาดของมนุษย์ทั้งหลาย.
บทว่า อติมนฺทาหกํ ได้แก่ ไม้สีฟันที่สั้นนัก

[ว่าด้วยการจุดไฟ]


สองบทว่า ทายํ อาเฬเปนติ มีความว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์จุดไฟที่
ดงหญ้าเป็นต้น.
บทว่า ปฏคฺคึ มีความว่า เราอนุญาตให้ภิกษุจุดไฟรับ.
บทว่า ปริตฺตํ มีความว่า เราอนุญาตการป้องกันด้วยการทำให้
ปราศจากหญ้า หรือด้วยการขุดคู.
แต่ในการป้องกันนี้ เมื่อมีอนุปสัมบัน ภิกษุจะจุดไฟเอง ย่อมไม่ได้,
เมื่อไม่มีอนุปสัมบัน ภิกษุจะจุดไฟเองก็ดี จะถากถางพื้นดินนำหญ้าออกเสียก็ดี
จะขุดคูก็ดี จะหักกิ่งไม้สดดับไฟก็ดี ย่อมได้.
ไฟถึงเสนาสนะแล้วก็ตาม ยังไม่ถึงก็ตาม ภิกษุย่อมได้เพื่อยังไฟให้ดับ
ด้วยอุบายอย่างนั้นเป็นแท้.