เมนู

สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า เป็นอาบัติทุกกฏในที่
ทั้งปวงมีตัดหนวดเป็นต้น.
หลายบทว่า อาพาธปฺปจฺจยา สมฺพาเธ โลมํ มีความว่า เรา
อนุญาตให้นำขนในที่แคบออก เพราะปัจจัย คือ อาพาธมีฝีแผลใหญ่และแผล
เล็กเป็นต้น .
หลายบทว่า อาพาธปฺปจฺจยา กตฺตริกาย มีความว่า เราอนุญาต
ให้ตัดผมด้วยกรรไกร เพราะปัจจัย คือ อาพาธด้วยอำนาจแห่งโรคที่ศีรษะ คือ
ฝีแผลใหญ่และแผลเล็ก.
ไม่มีอาบัติ เพราะถอนขนจมูกด้วยวัตถุมีกรวดเป็นต้น ส่วนแหนบ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตเพื่อรักษาตัว.
วินิจฉัยในข้อว่า น ภิกฺขเว ปลิตํ คาหาเปตพฺพํ นี้ พึงทราบ
ดังนี้ :-
ขนใดขึ้นที่คิ้ว หรือที่หน้าผาก หรือที่ดงหนวด เป็นของน่าเกลียด
ขนเช่นนั้นก็ตาม จะหงอกก็ตาม ไม่หงอกก็ตาม สมควรถอนเสีย.
บทว่า กํสปตฺถริกา ได้แก่ พ่อค้าเครื่องสำริด.
บทว่า พนฺธนมตฺตํ ได้แก่ ปลอกแห่งมีดและไม้เท้าเป็นต้น .

[ว่าด้วยประคดเอว]


วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว อกายพนฺธเนน นี้ พึงทราบดังนี้:-
ประคดเอว อันภิกษุผู้มิได้คาดออกไปอยู่ คนระลึกได้ในที่ใดพึงคาด
ในที่นั้น, คิดว่า จักคาดที่อาสนศาลา ดังนี้ จะไปก็ควร, นึกได้แล้วไม่ควร
เที่ยวบิณฑบาต ตลอดเวลาที่ยังมิได้คาด.
ประคดเอวมีสายมาก ชื่อ กลาพุกํ.
ประคดเอวคล้ายหัวงูน้ำ ชื่อ เทฑฺฑุภกํ.

ประคดเอวที่ถักทำให้มีสัณฐานกลมดังตะโพน ชื่อ มุรชชํ.
ประคดเอวที่มีทรวดทรงดังสังวาล ชื่อ มทฺทวีณํ.
จริงอยู่ ประคดเอวเช่นนี้ แม้ชนิดเดียวก็ไม่ควร ไม่จำต้องกล่าวถึง
มากชนิด.
วินิจฉัยในคำว่า ปฏฺฏิกํ สูกรนฺตกํ นี้ พึงทราบดังนี้.
ประคดแผ่นที่ทอตามปกติ หรือถักเป็นก้างปลา ย่อมควร.
ประคดที่เหลือ ต่างโดยประคดตาช้างเป็นต้น ไม่ควร.
ขึ้นชื่อว่าประคดไส้สุกร เป็นของมีทรวดทรงคล้ายไส้สุกรและฝัก
กุญแจ. ส่วนประคดเชือกเส้นเดียวและประคดกลม อนุโลมตามประคดไส้สุกร.
คำที่ว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการถักด้ายให้กลม การถักดังสาย
สังวาล" นี้ ทรงอนุญาตเฉพาะที่ชายทั้ง 2. ก็ในชายกลมและชายดังสายสังวาลนี้
ชายดังสายสังวาล เกิน 4 ชาย ไม่ควร.
การทบเข้ามาแล้วเย็บขอบปาก ซึ่ง โสภกํ.
การเย็บโดยสัณฐานดังวงแหวน ชื่อ คุณกํ.
จริงอยู่ ชายประคดที่เย็บอย่างนั้น ย่อมเป็นของแน่น. ร่วมในห่วง
เรียกว่า ปวนนฺโต.

[ว่าด้วยการนุ่งห่ม]


ผ้านุ่งที่ทำชายพกมีสัณฐานดังงวงช้าง ให้ห้อยลงไปตั้งแต่สะดือ
เหมือนการนุ่งของสตรีชาวโจลประเทศ ชื่อว่านุ่งเป็นงวงช้าง.
ผ้านุ่งที่ห้อยปลายไว้ข้าง 1 ห้อยชายพกไว้ข้าง 1 ชื่อว่านุ่งเป็น
หางปลา.
นุ่งปล่อยชายเป็น 4 มุมอย่างนี้ คือ ข้างบน 2 มุม ข้างล่าง 2 มุม
ชื่อว่านุ่งเป็น 4 มุม.